ความร่วมรู้สึก[1] หรือ อารมณ์ร่วม[2] (อังกฤษ: empathy) คือความสามารถในการเข้าใจหรือรู้สึกถึงสิ่งที่บุคคลอื่นกำลังประสบภายในกรอบอ้างอิงนั้น ๆ กล่าวคือ สามารถมองโลกภายนอกจากมุมมองของผู้อื่นได้[3] คำจำกัดความของความร่วมรู้สึกนั้นครอบคลุมถึงสภาวะทางอารมณ์ที่หลากหลายด้วยเช่นกัน ประเภทของความร่วมรู้สึกประกอบไปด้วย ความร่วมรู้สึกทางปัญญา (cognitive empathy) ความร่วมรู้สึกทางอารมณ์ (emotional empathy) และ ความร่วมรู้สึกทางร่างกาย (somatic empathy)[4]

อ้างอิง แก้

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2544
  2. "Thai Word Repository คลังศัพท์ไทย โดยศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สืบค้นคำว่า empathy)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-17. สืบค้นเมื่อ 2019-07-17.
  3. Bellet, Paul S.; Michael J. Maloney (1991). "The importance of empathy as an interviewing skill in medicine". JAMA. 226 (13): 1831–1832. doi:10.1001/jama.1991.03470130111039.
  4. Rothschild, B. (with Rand, M. L.). (2006). Help for the Helper: The psychophysiology of compassion fatigue and vicarious trauma.