ความตกลงเพิร์ท (อังกฤษ: Perth Agreement) เป็นความตกลงระหว่างนายกรัฐมนตรีของรัฐ 16 แห่งในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งเวลานั้นนับถือร่วมกันว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นประมุขของพวกตน ความตกลงนี้กำหนดให้รัฐบาลของรัฐดังกล่าวไปแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์และประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีดังนี้โดยสังเขป

  • แทนที่สิทธิของบุตรหัวปีแบบบุรุษมาก่อน (male-preference premogeniture) ซึ่งเพศชายจะมีสิทธิเหนือกว่าเพศหญิงในการสืบสันตติวงศ์ ด้วยสิทธิของบุตรหัวปี (absolute premogeniture) ซึ่งไม่แบ่งเพศเป็นเกณฑ์ในการสืบสันตติวงศ์
  • ยกเลิกการตัดสิทธิสืบสันตติวงศ์ของพระราชวงศ์ที่สมรสกับผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก
  • กำหนดให้พระราชวงศ์เพียงหกลำดับที่ใกล้ชิดกับการสืบสันตติวงศ์ที่สุดต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อนเสกสมรส
การประชุมผู้นำรัฐบาลในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ครั้งที่ 22
วันที่28–30 ตุลาคม ค.ศ. 2011
สถานที่จัดงานคิงส์พาร์ก
เมืองเพิร์ท, ออสเตรเลียตะวันตก
ประมุข หรือผู้นำรัฐบาล36
ประธานจูเลีย กิลลาร์ด
(นายกรัฐมนตรี)
ก่อนหน้าค.ศ. 2009
ถัดไปค.ศ. 2013
ประเด็นสำคัญ

ข้อห้ามผู้นับถือนิกายอื่นนอกจากโปรเตสแตนท์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และข้อกำหนดให้ผู้นั้นต้องเข้าร่วมคริสตจักรอังกฤษนั้น ไม่ได้รับการแก้ไข

ความตกลงเพิร์ทได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ที่เพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำรัฐบาลในเครือจักรภพฯ ปีละสองครั้ง กลุ่มประเทศเหล่านี้ใช้หลักการเกี่ยวกับสถาบันและรัฐธรรมนูญร่วมกันดังที่ตราไว้ในธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ซึ่งกำหนดให้มีกระบวนการอันยืดยาวและซับซ้อนในการดำเนินตามความตกลงฉบับนี้

ภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 รัฐบาลทุกแห่งในเครือจักรภพฯ ได้ตกลงตรากฎหมายตามความตกลง โดยมีนิวซีแลนด์เป็นประธานคณะทำงานเพื่อกำหนดขั้นตอนดำเนินการ เครือจักรภพฯ ซึ่งประกอบด้วย สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จาไมกา บาร์เบโดส บาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เบลีซ แอนติกาและบาร์บูดา และเซนต์คิตส์และเนวิส นั้น ไม่ขึ้นตรงต่อกัน แต่ก็มีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในลักษณ์ที่เสมอภาคกันตามรัฐธรรมนูญ คณะทำงานดังกล่าวได้ยืนยันว่า ได้มีการอนุมัติกฎหมายทั้งหมดที่จำเป็นต่อการให้ความตกลงมีผลบังคับ และรองนายกรัฐมนตรีสหรัฐอาณาจักรก็สำทับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2015[1][2][3] สำหรับประเทศแคนาดา แม้กฎหมายจะถูกคัดค้านในศาล แต่ก็ผ่านมาได้โดยได้รับการยืนยันตามเดิม[4][5]

ในวันที่การเปลี่ยนแปลงข้างต้นเริ่มผลบังคับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 นั้น บุคคลแรก ๆ ที่ได้รับผลกระทบ คือ บรรดาบุตรของเลดีดาวีนา วินด์เซอร์ ซึ่งได้แก่ เทน บุตรชายเกิดใน ค.ศ. 2012 และเซนนา บุตรหญิงเกิดใน ค.ศ. 2010 ต้องถูกสลับอันดับในการสืบสันตติวงศ์เป็น 29 และ 28 ตามลำดับ[6]

หกลำดับแรกในการสืบสันตติวงศ์ แก้

กฎการสืบสันตติวงศ์ใหม่กำหนดให้พระราชวงศ์หกลำดับแรกต้องได้รับพระบรมราชานุญาตก่อนเสกสมรส ใน ค.ศ. 2018 พระราชวงศ์หกลำดับนั้นประกอบด้วย

  1. เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (อภิเษกสมรสแล้ว กับแคเธอริน มิดเดิลตัน)
  2. เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
  3. เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ พระธิดาพระองค์ที่สองในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
  4. เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ พระโอรสพระองค์เล็กในเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)
  5. เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (อภิเษกสมรสแล้ว กับเมแกน มาร์เคิล)
  6. เจ้าชายอาร์ชีแห่งซัสเซกซ์ พระโอรสพระองค์ใหญ่ในเจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ (พระชันษาต่ำกว่าเกณฑ์เสกสมรส)

พระบรมวงศานุวงศ์ที่เคยอยู่ในหกลำดับแรก แก้

อ้างอิง แก้

  1. Statement by Nick Clegg MP, UK parliament website, 26 March 2015 (retrieved on same date).
  2. "UK commencement order" (PDF).
  3. Statement by Prime Minister Stephen Harper on Canada Providing Assent to Amendments to Rules Governing the Line of Succession เก็บถาวร 3 เมษายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 26 March 2015 [ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  4. "Deux profs de l'Université Laval déboutés dans la cause du "bébé royal"". Le Soleil. 16 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-17. สืบค้นเมื่อ 16 February 2016.
  5. "Royal succession law not subject to charter challenge: court". CTV News. 26 August 2014. สืบค้นเมื่อ 29 August 2014.
  6. "What do the new royal succession changes mean?". Royal Central. 26 March 2015. สืบค้นเมื่อ 30 March 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้