ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก

tpp

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (อังกฤษ: Trans-Pacific Partnership; ย่อ: TPP) เป็นความตกลงการค้าระหว่างประเทศขอบแปซิฟิกสิบสองประเทศ ว่าด้วยประเด็นนโยบายสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งบรรลุเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558 หลังเจรจานาน 7 ปี และลงนามเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 ในออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ เป้าหมายที่แถลงของความตกลงฯ คือ เพื่อ "ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการสร้างและรักษางาน การเสริมสร้างนวัตกรรม ผลิตภาพและความสามารถการแข่งขัน ยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ลดความยากจนในประเทศ และส่งเสริมความโปร่งใส ธรรมาภิบาลและเสริมสร้างการคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อม"[5] ความตกลง TPP มีมาตรการเพื่อลดอุปสรรคทางการค้า เช่น พิกัดอัตรา[6] และสถาปนากลไกการระงับข้อพิพาทผู้ลงทุน-รัฐ (แต่รัฐเลือกได้ว่าไม่ดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องกับยาสูบ)[5][7] รัฐบาลสหรัฐถือว่า TPP เป็นความตกลงเคียงคู่กับความตกลงหุ้นส่วนการค้าและการลงทุนภาคพื้นแอตแลนติก (Transatlantic Trade and Investment Partnership, TTIP) ที่มีการเสนอ ซึ่งเป็นความตกลงที่คล้ายกันอย่างกว้าง ๆ ระหว่างสหรัฐและสหภาพยุโรป[8]

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
ผู้นำรัฐสมาชิกตามแผนในการประชุมสุดยอด TPP ปี 2553
ประเภทความตกลงการค้า
วันร่าง5 ตุลาคม 2558[1][2][3]
วันลงนาม4 กุมภาพันธ์ 2559
ที่ลงนามออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
เงื่อนไขประเทศผู้ลงนามทุกประเทศให้สัตยาบัน หรือ (2 ปีหลังการลงนาม) รัฐที่ให้สัตยาบันประกอบเป็น 85% ของจีดีพีผู้ลงนาม[4]
ผู้ลงนาม
ผู้ให้สัตยาบัน
ผู้เก็บรักษานิวซีแลนด์
ภาษาอังกฤษ (ยึดเป็นสำคัญ), สเปน, เวียดนาม, ญี่ปุ่น, ฝรั่งเศส
Trans-Pacific Partnership ที่ วิกิซอร์ซ

ในอดีต TPP เป็นการขยายความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจยุทธศาสตร์ภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) ซึ่งประเทศบรูไน ชิลี นิวซีแลนด์และสิงคโปร์ลงนามในปี 2549 เริ่มตั้งแต่ปี 2551 มีประเทศอื่นเข้าร่วมการอภิปรายสำหรับความตกลงที่กว้างขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก เปรู สหรัฐและเวียดนาม ทำให้มีจำนวนประเทศผู้เข้าร่วมการเจรจาสิบสองประเทศ ความตกลงการค้าปัจจุบันระหว่างประเทศผู้เข้าร่วม เช่น ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ จะลดบทบัญญัติเหล่านั้นซึ่งไม่ขัดต่อ TPP หรือกำหนดให้เปิดเสรีการค้าเกินกว่า TPP[9]

ชาติผู้เข้าร่วมมุ่งสำเร็จการเจรจาในปี 2555 แต่ประเด็นที่มีข้อพิพาทอย่างเกษตรกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาและการบริการและการลงทุนทำให้การเจรจายืดเยื้อ[10] สุดท้ายชาติต่าง ๆ บรรลุความตกลงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2558[11] การนำความตกลงฯ ไปปฏิบัติเป็นเป้าหมายวาระการค้าของรัฐบาลโอบามาในสหรัฐ[12] วันที่ 5 ตุลาคม 2558 นายกรัฐมนตรีแคนาดา สตีเฟน ฮาร์เปอร์ คาดหมายว่า "ข้อความฉบับสมบูรณ์จะถูกลงนามและปฏิบัติอย่างเร็วในต้นปีใหม่ และให้สัตยาบันในอีกสองปีถัดไป"[13] มีการเผยแพร่ฉบับข้อความของสนธิสัญญา "ภายใต้การทบทวนทางกฎหมาย (...) เพื่อความแม่น ความกระจ่างและความสอดคล้อง"[14] ต่อสาธารณะเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 วันเดียวกับที่ประธานาธิบดีโอบามาแจ้งรัฐสภาว่าเขาเจตนาลงนาม[15]

มีวิชาชีพสุขภาพโลก (global health) นักกิจกรรมเสรีภาพอินเทอร์เน็ต นักสิ่งแวดล้อม สหภาพแรงงาน กลุ่มผลประโยชน์และข้าราชการจากการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งวิจารณ์และประท้วงต่อสนธิสัญญานี้ ส่วนใหญ่เพราะการเจรจาทางลับ ขอบข่ายกว้างขวางของความตกลงและข้อความซึ่งมีการโต้เถียงที่รั่วต่อสาธารณะ[16][17][18][19][20] การลงนาม TPP ในออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 มีการประท้วงสาธารณะเป็นวงกว้างในประเทศนิวซีแลนด์[21] [22] [23] พรรคฝ่ายค้านทุกพรรคและพรรครัฐบาลหนึ่งพรรค (พรรคเมารี พรรคชาตินิยมฝ่ายขวา) ในรัฐสภานิวซีแลนด์ประกาศคัดค้าน TPP และกล่าวในการชุมนุมประท้วงในกรุงเวลลิงตัน เมืองหลวงของประเทศ ในวันที่ลงนาม[24]

หลักการ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Trans-Pacific free trade deal agreed creating vast partnership". BBC News. 5 October 2015. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  2. Handley, Paul (5 October 2015). "12 Pacific countries seal huge free trade deal". Yahoo! News. AFP. สืบค้นเมื่อ 7 October 2015.
  3. "US and 11 nations seal Pacific trade deal". Financial Times. the TPP must still be signed formally by the leader of each country and ratified by their parliaments
  4. "Here's What Needs to Happen in Order for the Trans-Pacific Partnership to Become Binding". The Diplomat.
  5. 5.0 5.1 "Summary of the Trans-Pacific Partnership Agreement". USTR. 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  6. "Australia and the Trans-Pacific Partnership: what we do and don't know". The Guardian. 6 October 2015.
  7. "What is the Trans-Pacific Partnership?". Vox. สืบค้นเมื่อ 2 July 2015.
  8. Russel, Daniel. "Transatlantic Interests In Asia". U.S Department of State. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  9. Isfeld, Gordon (12 October 2015). "Forget NAFTA, the TPP is the new 'gold standard' of global trade". Financial Post. Toronto: National Post. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  10. Schott, Jeffrey; Kotschwar, Barbara; Muir, Julia (2013). Understanding the Trans-Pacific Partnership. Peterson Institute for International Economics. pp. 17–18. ISBN 978-0-88132-672-7.
  11. "TPP ministerial meeting set for last week of July: source". Reuters. 29 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-26. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.
  12. "The Trans-Pacific Partnership". whitehouse.gov. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  13. Jason Fakete (5 October 2015). "'Historic day' says Stephen Harper as Canada signs on to Trans-Pacific trade deal". Ottawa Citizen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-07.
  14. "Text of the Trans-Pacific Partnership". New Zealand Department of Foreign Affairs and Trade. 2015-11-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-11. สืบค้นเมื่อ 2015-11-18.
  15. Needham, Vicki. "Obama tells Congress he will sign TPP". TheHill. สืบค้นเมื่อ 2015-11-18.
  16. Obama Faces Backlash Over New Corporate Powers In Secret Trade Deal. The Huffington Post. 8 December 2013. Retrieved 17 December 2013.
  17. How To Fight The Trans-Pacific Partnership: Anti-TPP Petitions, Protests & Campaigns. International Business Times. Retrieved 17 December 2013.
  18. Trans-Pacific Partnership Talks Stir House Bipartisan Opposition. The Huffington Post. 12 November 2013. Retrieved 17 December 2013.
  19. Stiglitz, Joseph E. (15 March 2014). "On the Wrong Side of Globalization". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 17 March 2014.
  20. Gabrielle Chan (11 November 2014). Unions call for halt in TPP negotiations so that agreement can be scrutinised. The Guardian.
  21. Trans Pacific Partnership trade deal signed in Auckland BBC. 3 February 2016.
  22. Kiwis reject the TPPA Scoop. 4 February 2016.
  23. The TPP protest - how it unfolded RNZ. 4 February 2016.
  24. TPPA Signing Protest in Wellington Scoop. 4 February 2016.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้