ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[2] ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก[4][5][6]

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

แผนที่ประเทศอิสราเอล: พื้นที่เอและบี (สีส้ม) เป็นพื้นที่ที่องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ปกครอง ส่วนพื้นที่ซี (สีฟ้า) อยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอล ในปี 2554
สำหรับแผนที่ทันสมัยและโต้ตอบ ดูที่นี่
วันที่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[2] – ปัจจุบัน
ช่วงหลัก: 2507–2536
สถานที่
ตะวันออกกลาง, แต่อยู่ในประเทศอิสราเอล เวสต์แบงก์ ฉนวนกาซาและประเทศเลบานอนเป็นหลัก
สถานะ กระบวนการสันติภาพอิสราเอล–ปาเลสไตน์
การสู้รบระดับต่ำ ส่วนใหญ่ระหว่างอิสราเอลและกาซา
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
 อิสราเอล
ฮามาส (2530–ปัจจุบัน)
ญิฮัดอิสลาม (2530–ปัจจุบัน)
สนับสนุนโดย:
ความสูญเสีย
21,500 คน (2508–2556)[3]

ความพยายามระงับข้อพิพาทในระยะแรกลงเอยด้วยแผนแบ่งปาเลสไตน์ของสหประชาชาติ ปี 2490 ซึ่งยิวยอมรับแต่อาหรับปฏิเสธ นำไปสู่สงครามปาเลสไตน์ ปี 2490–2492 สถานะเดิมอย่างในปัจจุบันเกิดขึ้นหลังการยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ในสงครามหกวัน ปี 2510

แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล[7] เสรีภาพในการเดินทางของปาเลสไตน์[8] และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป[9]

มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น[10] ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้[11] ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด[12] อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญที่ทำให้ความคืบหน้าหยุดชะงัก ได้แก่ เรื่องความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมนครเยรูซาเล็ม นิคมอิสราเอล[13] เสรีภาพในการเดินทาง[8] และสิทธิในการกลับสู่มาตุภูมิของชาวปาเลสไตน์

ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย

สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก

นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และถูกระงับในปี 2557

แผนภาพ แก้

วิวัฒนาการสมัยใหม่ของปาเลสไตน์
ข้อเสนอปี 1916–1922: สามข้อเสนอสำหรับการบริหารปาเลสไตน์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เส้นสีแดงคือ "ฝ่ายปกครองระหว่างประเทศ" ที่มีการเสนอในความตกลงไซส์-ปิโกปี 1916, เส้นประสีน้ำเงินคือข้อเสนอขององค์การไซออนิสต์การประชุมสันติภาพกรุงปารีส, และเส้นสีน้ำเงินบางหมายถึงเขตแดนสุดท้ายของปาเลสไตน์ในอาณัติ (1923–48)
ข้อเสนอปี 1937: ข้อเสนออย่างเป็นทางการแรกสำหรับการแบ่งดินแดน จัดพิมพ์โดยคณะกรรมการรพีลในปี 1937 มีการเสนอให้อาณัติของบริเตนคงอยู่ต่อไปเพื่อธำรงไว้ซึ่ง "ความศักดิ์สิทธิ์ของเยรูซาเล็มและเบธเลเฮ็ม" ในรูปของดินแดนแทรกตั้งแต่เยรูซาเล็มถึงจัฟฟา รวมทั้ง Lydda และ Ramle
1947 (ข้อเสนอ): ข้อเสนอตามแผนการแบ่งปาเลสไตน์สหประชาชาติ (ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 181 (II), 1947), ก่อนสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 ข้อเสนอนี้รวม Corpus Separatum สำหรับเยรูซาเล็มเป็นทางแพร่งสภาพนอกอาณาเขตระหว่างดินแดนที่ไม่ติดกัน โดยมีจาฟฟาเป็นดินแดนแทรกของอาหรับ
1947 (จริง): ปาเลสไตน์ในอาณัติ แสดงบริเวณที่ยิวเป็นเจ้าของในปาเลสไตน์ในปี 1947 ในสีน้ำเงิน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6 ซึ่งกว่าครึ่งมี JNF และ PICA เป็นเจ้าของ ประชากรยิวเพิ่มขึ้นจาก 83,790 คนในปี 1922 เป็น 608,000 คนในปี 1946
1949–1967 (จริง): ดินแดนเวสต์แบงก์ที่ถูกจอร์แดนยึดครอง (สีเขียวอ่อน) และฉนวนกาซาที่อียิปต์ยึดครอง (สีเขียวแก่) หลังสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 แสดงเส้นหยุดยิงปี 1949
1967–1994: ระหว่างสงครามหกวัน อิสราเอลยึดเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซาและที่สูงโกลัน ร่วมกับคาบสมุทรไซนาย (ซึ่งยกให้อียิปต์เพื่อแลกกับสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามยมคิปปูร์) ในปี 1980–81 อิสราเอลยึดครองเยรูซาเล็มตะวันออกและที่สูงโกลัน การยึดครองของอิสราเอลและการอ้างสิทธิ์ของปาเลสไตน์ซึ่งเยรูซาเล็มตะวันออกนั้นไม่ได้รับการรับรองจากนานาประเทศทั้งสองฝ่าย
1994–2005: ภายใต้ข้อตกลงกรุงออสโล มีการตั้งองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์เพื่อเป็นรัฐบาลพลเรือนในเขตเมืองจำนวนหนึ่งในเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา
2005–ปัจจุบัน: หลังอิสราเอลถอนตัวจากกาซาและการปะทะระหว่างพรรคการเมืองปาเลสไตน์สองพรรคใหญ่หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งปี 2006 ทำให้รัฐบาลทั้งสองแยกขาดจากกันในฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์

อ้างอิง แก้

  1. Pollack, Kenneth, M., Arabs at War: Military Effectiveness, University of Nebraska Press, (2002), pp. 93–94, 96.
  2. 2.0 2.1 "A History of Conflict: Introduction". A History of Conflict. BBC News.
  3. Monty G. Marshall. Major Episodes of Political Violence 1946-2012. SystemicPeace.org. "Ethnic War with Arab Palestinians / PLO 1965-2013". Updated 12 June 2013 [1] เก็บถาวร 2014-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Chris Rice เก็บถาวร 2016-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, quoted in Munayer Salim J, Loden Lisa, Through My Enemy's Eyes: Envisioning Reconciliation in Israel-Palestine, quote: "The Palestinian-Israeli divide may be the most intractable conflict of our time."
  5. Virginia Page Fortna เก็บถาวร 2016-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Peace Time: Cease-fire Agreements and the Durability of Peace, page 67, "Britain's contradictory promises to Arabs and Jews during World War I sowed the seeds of what would become the international community's most intractable conflict later in the century."
  6. Avner Falk, Fratricide in the Holy Land: A Psychoanalytic View of the Arab-Israeli Conflict, Chapter 1, page 8, "Most experts agree that the Arab-Israeli conflict is the most intractable conflict in our world, yet very few scholars have produced any psychological explanation—let alone a satisfactory one—of this conflict's intractability"
  7. "Canadian Policy on Key Issues in the Israeli-Palestinian Conflict". Government of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-18. สืบค้นเมื่อ 2014-07-16.
  8. 8.0 8.1 "Movement and Access Restrictions in the West Bank: Uncertainty and Inefficiency in the Palestinian Economy" (PDF). World Bank. 9 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 April 2010. สืบค้นเมื่อ 29 March 2010. Currently, freedom of movement and access for Palestinians within the West Bank is the exception rather than the norm contrary to the commitments undertaken in a number of Agreements between GOI and the PA. In particular, both the Oslo Accords and the Road Map were based on the principle that normal Palestinian economic and social life would be unimpeded by restrictions
  9. Edward Wright, 'Tourism Curbed in Palestinians Areas,' Los Angeles Times, May 28, 2000.
  10. Yaar, Ephraim; Hermann, Tamar (11 December 2007). "Just another forgotten peace summit". Haaretz.
  11. Kurtzer, Daniel; Lasensky, Scott; Organization (2008). Negotiating Arab-Israeli Peace: American Leadership in the Middle East. United States Institute of Peace Press. p. 79. ISBN 9781601270306.
  12. Yaar & Hermann 2007: "The source of the Jewish public's skepticism – and even pessimism – is apparently the widespread belief that a peace agreement based on the 'two states for two peoples' formula would not lead the Palestinians to end their conflict with Israel."
  13. "Canadian Policy on Key Issues in the Israeli-Palestinian Conflict". Government of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2018. สืบค้นเมื่อ 13 March 2010.