ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์

ควร์ท แฟร์ดีนันท์ ฟรีดริช แฮร์มัน ฟ็อน ชไลเชอร์ (เยอรมัน: Kurt Ferdinand Friedrich Hermann von Schleicher) เป็นนายพลชาวเยอรมันและนายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์ คู่แข่งทางอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ชไลเชอร์ถูกลอบสังหารโดยพวกเอ็สเอ็สของฮิตเลอร์ในช่วงคืนมีดยาวใน ค.ศ. 1934

ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์
พลเอก ฟอน ชไลเชอร์ ในปีค.ศ. 1932
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี
ดำรงตำแหน่ง
3 ธันวาคม 1932 – 28 มกราคม 1933
ประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
ก่อนหน้าฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน
ถัดไปอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ข้าหลวงแห่งปรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
3 ธันวาคม 1932 – 28 มกราคม 1933
ก่อนหน้าฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน
ถัดไปฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน
รัฐมนตรีกระทรวงไรชส์แวร์
ดำรงตำแหน่ง
1 มิถุนายน 1932 – 28 มกราคม 1933
ประธานาธิบดีเพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
หัวหน้ารัฐบาลฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน (1932)
ตัวเอง (1932–1933)
ก่อนหน้าวิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์
ถัดไปแวร์เนอร์ ฟ็อน บล็อมแบร์ค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ควร์ท แฟร์ดีนันท์ ฟรีดริช แฮร์มัน ฟ็อน ชไลเชอร์

7 เมษายน ค.ศ. 1882(1882-04-07)
บรันเดินบวร์คอันแดร์ฮาเฟิล, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต30 มิถุนายน ค.ศ. 1934(1934-06-30) (52 ปี)
พ็อทซ์ดัม-บาเบิลส์แบร์ค, นาซีเยอรมนี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิเยอรมัน
สาธารณรัฐไวมาร์ สาธารณรัฐไวมาร์
สังกัด กองทัพบกจักรวรรดิเยอรมัน
 ไรชส์แฮร์
ประจำการค.ศ. 1900–1932
ยศพลเอกทหารราบ
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ชไลเชอร์เกิดในครอบครัวตระกูลทหารในบรันเดินบวร์คอันแดร์ฮาเฟิล เมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1822 ได้เข้าร่วมกองทัพปรัสเซียในฐานะนายทหารยศร้อยโท ใน ค.ศ. 1900 เขาเติบโตกลายเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารฝ่ายเสนาธิการในทบวงรถไฟของคณะเสนาธิการใหญ่เยอรมันและทำหน้าที่ในคณะเสนาธิการแห่งกองบัญชาการกองทัพสูงสุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชไลเซอร์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างกองทัพบกและสาธารณรัฐไวมาร์ที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ ๆ ในช่วงการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918–1919 ชไลเซอร์มีบทบาทที่สำคัญในความพยายามของไรชส์แวร์เพื่อหลีกเลียงข้อจำกัดของสนธิสัญญาแวร์ซาย ชไลเซอร์ได้เถลิงอำนาจในตำแหน่งหัวหน้าของกระทรวงกองทัพแห่งไรชส์แวร์และที่ปรึกษาคนสนิทใกล้ชิดของประธานาธิบดี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ตั้งแต่ ค.ศ. 1926 เป็นต้นมา ภายหลังจากการแต่งตั้งวิลเฮ็ล์ม เกรอเนอร์ ที่ปรึกษาของเขา ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไรชส์แวร์ ใน ค.ศ. 1928 ชไลเชอร์กลายเป็นหัวหน้าของสำนักงานกิจการรัฐมนตรี (Ministeramt) ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไรชส์แวร์ ใน ค.ศ. 1929 ใน ค.ศ. 1930 เขามีบทบาทที่สำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลแฮร์มัน มึลเลอร์ และแต่งตั้งให้ไฮน์ริช บรือนิง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เขาได้เข้าสมัครเป็นทหารหน่วยเอ็สอาของพรรคนาซีในฐานะกองกำลังสนับสนุนสำหรับไรชส์แวร์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1931 เป็นต้นมา

เริ่มต้นใน ค.ศ. 1932 ชไลเชอร์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไรชส์แวร์ในคณะรัฐบาลของฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน ชไลเซอร์ได้จัดระเบียบของความล่มจมของพาเพินและสืบทอดตำแหน่งต่อในฐานะนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 ธันวาคม ในช่วงระยะเวลาอันสั้นของเขา ชไลเชอร์ได้เจรจากับเกรกอร์ ชตรัสเซอร์ในความเป็นไปได้ที่จะแยกตัวออกจากพรรคนาซี แต่แผนการของพวกเขาล้มเหลว ชไลเชอร์ได้พยายามที่จะให้ฮิตเลอร์ "เชื่อฟัง" ในการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลของเขา ด้วยการข่มขู่ด้วยพันธมิตรพรรคการเมืองต่อต้านนาซี ที่เรียกว่า เควร์ฟรอนต์ ("แนวร่วมขวาง") ฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธที่จะละทิ้งการอ้างสิทธิ์ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแผนของชไลเชอร์ก็ล้มเหลว ชไลเชอร์ได้เสนอให้ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คทำการแบ่งแยกรัฐสภาไรชส์ทาคและปกครองแบบระบอบเผด็จการโดยพฤตินัย แนวทางของการปฏิบัตินี้ได้ถูกฮินเดินบวร์คปฏิเสธ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1933 การเผชิญหน้ากับความอ่อนแอทางการเมืองและสุขภาพที่ย่ำแย่ ชไลเชอร์ได้ลาออกและแนะนำให้แต่งตั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ขึ้นตำแหน่งแทนเขา ชไลเชอร์ได้พยายามที่จะกลับเข้าสู่การเมืองอีกครั้งโดยใช้ประโยชน์จากความแตกแยกระหว่างแอ็นสท์ เริห์มและฮิตเลอร์ แต่ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1934 เขาและเอลิซาเบธ ภรรยาของเขาได้ถูกลอบสังหารตามคำสั่งของฮิตเลอร์ในช่วงคืนมีดยาว[1]

อ้างอิง แก้

  1. พายัพ โรจนวิภาค. ยุคทมิฬ. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2554. 216 หน้า. หน้า 44. ISBN 978-616-7146-22-5

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ควร์ท ฟ็อน ชไลเชอร์