คลื่นอนุรักษนิยม

คลื่นอนุรักษนิยม (สเปน: ola conservadora; โปรตุเกส: onda conservadora) หรือ กระแสสีน้ำเงิน (สเปน: marea azul; โปรตุเกส: maré azul) เป็นปรากฏการณ์การเมืองฝ่ายขวาที่เกิดขึ้นในกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 ในทวีปอเมริกาใต้โดยเป็นปฏิกิริยาโดยตรงต่อกระแสสีชมพู[1][2] นักวิเคราะห์บางคนเรียกว่า กระแสสีน้ำตาล (เป็นการพาดพิงลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งมักถูกโยงกับสีน้ำตาล)[3]

แผนที่ลาตินอเมริกาแสดงประเทศที่มีพรรครัฐบาลเป็นสมาชิกโฟรูจีเซาเปาลู (สีแดง) และประเทศที่ ไม่ มีพรรครัฐบาลเป็นสมาชิกโฟรูจีเซาเปาลู (สีน้ำเงิน) ใน พ.ศ. 2554, 2561 (กลาง) และ 2566 (ขวา)

หลังรัฐบาลฝ่ายกลางซ้ายนานหนึ่งทศวรรษ อิทธิพลของโฟรูจีเซาเปาลู ซึ่งสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในทวีปอเมริกาใต้และแคริบเบียน เสื่อมถอยลงในประเทศอาร์เจนตินา เมาริซิโอ มากริ นักเสรีนิยม สืบตำแหน่งกริสตินา กีร์ชเนร์ ในปี 2558 ในประเทศบราซิล กระบวนการฟ้องให้ขับจิลมา รูเซฟออกจากตำแหน่งส่งผลให้รูเซฟพ้นจากตำแหน่งและมีแชล เตเมร์ รองประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งแทนในปี 2559 ในประเทศชิลี เซบัสเตียน ปิญเญรา นักอนุรักษนิยม สืบตำแหน่งจากมีเชล บาเชเล นักประชาธิปไตยสังคม ในปี 2560 เช่นเดียวกับในปี 2552 และในปี 2561 ผู้แทนราษฎรนักอนุรักษนิยม ฌาอีร์ โบลโซนารู ได้เป็นประธานาธิบดีบราซิลคนที่ 38[4]

ปรากฏการณ์อนุรักษนิยมดังกล่าวมีการเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งดอนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐ และการเติบโตของประชานิยมฝ่ายขวาและชาตินิยมใหม่ในทวีปยุโรป[5] นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงกับการมีขนาดและอำนาจเพิ่มขึ้นของชุมชนอีแวนเจลิคัล[6][7][8]

ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล แก้

ประธานาธิบดี แก้

ภาพด้านล่างคือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งในลาตินอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองปีกขวาและสายกลาง-ขวา หมายเหตุ: ยานิเน อัญเญซสาบานตนเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ครบองค์ประชุมในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองโบลิเวีย พ.ศ. 2562 และถูกตัดสินว่ากระทำผิด ระบุเป็นสัญลักษณ์ ‡

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. McMaken, Ryan (2016). Latin America's Pink Tide Crashes On The Rocks. Mises Institute.
  2. Reid, Michael (2015). "Obama and Latin America: A Promising Day in the Neighborhood". Foreign Affairs. 94 (5): 45–53. Washington's trade strategy was to contain Chávez and his dreams of continental domination [...], the accurate assessment that Chávez was a threat to his own people. [...] Chávez's regional influence peaked around 2007. His regime lost appeal because of its mounting authoritarianism and economic difficulties.
  3. Vivanco, Pablo. "Latin America's Right-Wing Turn". Jacobin. สืบค้นเมื่อ 28 October 2018.
  4. Ospina, Jose (28 October 2018). "Is there a right-wing surge in South America?". DW. สืบค้นเมื่อ 10 December 2018.
  5. "ANÁLISE: Crescimento de Jair Bolsonaro inclui Brasil em onda conservadora global". Folha de S.Paulo.
  6. Pointu, Tupac (6 October 2018). "Evangelicals wield voting power across Latin America, including Brazil". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 1 November 2018.
  7. Corrales, Javier (17 January 2018). "A Perfect Marriage: Evangelicals and Conservatives in Latin America". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.
  8. Lissardy, Gerardo. ""La fuerza política más nueva": cómo los evangélicos emergen en el mapa de poder en América Latina" [The newest political force ": how evangelicals emerge on the map of power in Latin America] (ภาษาสเปน). BBC. สืบค้นเมื่อ 2 June 2018.