คลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561

ตลอดช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 2561 มีคลื่นความร้อนสูงเป็นประวัติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น หลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) และเมืองคูมางายะ ได้รับการบันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่ 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 23 กรกฎาคม – ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น อย่างน้อย 80 รายเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับความร้อน และอย่างน้อย 22,000 รายเป็นลมเพราะความร้อน โดยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

คลื่นความร้อนที่ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2561
วันที่ มิถุนายน – สิงหาคม พ.ศ. 2561
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกาะฮนชู
อุณหภูมิสูงสุด 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ที่คูมางายะ จังหวัดไซตามะ ในวันที่ 23 กรกฎาคม
เสียชีวิต 80 ราย
รักษาในโรงพยาบาล ประมาณ 22,000 รายหรือมากกว่า

สาระสำคัญ แก้

หลังจากน้ำท่วมและโคลนถล่มที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2561 ได้มีคลื่นความร้อนที่แผ่กระจายไปทั่วแผ่นดินใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น ในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม ทั้งจังหวัดฮิโรชิมะ, โอกายามะ และเอฮิเมะ มีผู้ป่วย 145 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยเป็นลมเพราะความร้อนเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 35 องศาเซลเซียส (95.0 องศาฟาเรนไฮต์)[1] เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม สถานีตรวจการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 200 แห่งจาก 927 สถานีในเครือข่ายการสังเกตการณ์ทั่วประเทศได้บันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่เกิน 35 องศาเซลเซียส (95.0 องศาฟาเรนไฮต์)[2] จากนัน ในวันที่ 23 กรกฎาคม พบว่ามีอุณหภูมิสูงถึง 41.1 องศาเซลเซียส (106.0 องศาฟาเรนไฮต์) ในเมืองคูมางายะซึ่งอยู่ห่างทางตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียว 65 กิโลเมตร (40 ไมล์) นับเป็นอุณภูมิสูงสุดเท่าที่เคยมีมาของประเทศญี่ปุ่น[3] เมืองหลายแห่งได้บันทึกอุณหภูมิไว้ที่ 40 องศาเซลเซียส (104 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันดังกล่าว[4] ส่วนในนครเกียวโตมีอุณหภูมิสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100 องศาฟาเรนไฮต์) ต่อเนื่องเป็นเวลาเจ็ดวันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มบันทึกสถิติไว้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 [5]

ในวันที่ 24 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นภัยธรรมชาติ และชี้ให้เห็นว่าหลายพื้นที่ "กำลังมีระดับความร้อนมากเป็นประวัติการณ์"[6]

สาเหตุ แก้

จากการวิเคราะห์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นผลมาจากทั้งความกดอากาศสูงจากแปซิฟิก และความกดอากาศสูงจากทิเบต ที่ยังคงขยายตัวเข้ามาใกล้กับญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้มีสภาพอากาศที่มีแดดต่อเนื่อง และอุณหภูมิสูงขึ้น กล่าวได้ว่าความกดอากาศสูงเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากกระแสลมกรดกึ่งเขตร้อนยังคงเคลื่อนที่วกเวียนไปทางทิศเหนือ และการก่อตัวของเมฆคิวมูลัสจากการพาความร้อนสะสมที่มีมากใกล้ประเทศฟิลิปปินส์[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Hurst, Daniel (20 July 2018). "Heatwave grips Japan after deadly floods". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  2. "July sees extreme weather with high impacts". WMO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-20. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
  3. "Record High in Japan as Heat Wave Grips the Region". The New York Times. 23 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  4. Osborne, Samuel (25 July 2018). "Japan heatwave: Death toll climbs to 80 after nation declares deadly temperatures a natural disaster". The Independent. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
  5. "Japan heatwave: Warnings issued amid scorching temperatures". BBC. 21 July 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2018.
  6. "Japan heatwave declared natural disaster as death toll mounts". BBC. 24 July 2018. สืบค้นเมื่อ 25 July 2018.
  7. "「平成30年7月豪雨」及び7月中旬以降の記録的な高温の特徴と要因について]" (ภาษาญี่ปุ่น). 気象庁. 2018-08-10.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้