คลองไทย (หรือในอดีตรู้จักกันในนาม คลองกระ หรือ คลองคอคอดกระ) หมายถึง แผนการก่อสร้างคลองขนาดใหญ่ซึ่งตัดผ่านภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการขนส่งภายในพื้นที่ เพื่อเชื่อมทะเลอันดามันกับอ่าวไทย

แบบแผนนำเสนอคลองไทย

คลองนี้จะเป็นทางเลือกในการสัญจรผ่านช่องแคบมะละกาและทำให้การขนส่งน้ำมันไปญี่ปุ่นและจีนสั้นลง 1,200 กิโลเมตร[1] จีนจัดให้มันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมทางน้ำในคริสต์ศตวรรษที่ 21 คลองตามแบบแผนนำเสนอใน ค.ศ. 2015 มีความยาว 102 กิโลเมตร กว้าง 400 เมตร และลึก 25 เมตร โดยมีการหารือและสำรวจแผนงานคลองหลายครั้ง[2] ต้นทุน ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ได้รับการชั่งน้ำหนักเทียบกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและกลยุทธ์ที่อาจเกิดขึ้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 นายกรัฐมนตรีไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่าคลองนี้ไม่ใช่สิ่งสำคัญของรัฐบาล[3] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2020 สภาผู้แทนราษฎรไทยยอมรับที่จะจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาโครงการคลองไทยภายใน 120 วัน[2]

ประวัติศาสตร์ แก้

แนวคิดการก่อสร้างคลองสามารถติดตามได้จนถึง ค.ศ. 1677 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ผู้ทรงตรัสถามวิศวกรชาวฝรั่งเศส de Lamar เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างทางน้ำตัดผ่านคอคอดกระ เพื่อเชื่อมต่อสงขลากับมะริด (ปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่า) แต่วิทยาการสมัยนั้นยังไม่มีความเจริญก้าวหน้าพอ[4]

ใน ค.ศ. 1793 แนวคิดดังกล่าวถูกรื้อฟื้นโดยพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้เสนอให้มีการก่อสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่งด้านตะวันตกจากเรือรบของต่างชาติ ภายหลังพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1863 ได้มีการสำรวจพื้นที่ดังกล่าว แต่ก็พบว่าไม่สามารถก่อสร้างได้ ในปี ค.ศ. 1882 แฟร์ดีน็อง เดอ แลแซ็ปส์ วิศวกรผู้สร้างคลองสุเอซ ได้มาเยี่ยมชมพื้นที่ดังกล่าว แต่ไม่ได้รับพระราชทานอนุญาตจากพระมหากษัตริย์ไทยในการสำรวจเชิงลึก ในปี ค.ศ. 1897 สยามและจักรวรรดิอังกฤษตกลงที่จะไม่มีการก่อสร้างคลองในบริเวณดังกล่าว เพื่อปกป้องการควบคุมการค้าอย่างเบ็ดเสร็จของท่าเรือสิงคโปร์

อ้างอิง แก้

  1. Noorul Shaiful Fitri Abdul Rahman; Nurul Haqimin Mohd Salleh; Ahmad Fayas Ahmad Najib; Lun, Venus Y (21 November 2016). "A descriptive method for analysing the Kra Canal decision on maritime business patterns in Malaysia". Journal of Shipping and Trade. 61 (13). doi:10.1186/s41072-016-0016-0.
  2. 2.0 2.1 "Time to revisit canal project" (Opinion). Bangkok Post. 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 January 2020.
  3. "Proposed Kra Canal not priority project for Thai govt". The Straits Times. 13 February 2018. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
  4. "History: Ayutthaya Period". The Kra Canal: New Gateway to Maritime Silk Road. Thai Chinese Cultural & Economic Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2015. สืบค้นเมื่อ 19 May 2015.

ข้อมูลทั่วไป แก้

  • Cathcart, R.B. (2008). "Kra Canal (Thailand) excavation by nuclear-powered dredges". International Journal of Global Environmental Issues. 8 (3): 248–255. doi:10.1504/IJGENVI.2008.018639.
  • Thapa, Rajesh B.; M. Kusanagi; A. Kitazumi; Y. Murayama (October 2007). "Sea navigation, challenges and potentials in South East Asia: an assessment of suitable sites for a shipping canal in the South Thai Isthmus". GeoJournal. 70 (2–3): 161–172. CiteSeerX 10.1.1.575.4366. doi:10.1007/s10708-008-9122-3.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

10°11′N 98°53′E / 10.183°N 98.883°E / 10.183; 98.883