คลองนิการากัว (สเปน: Canal de Nicaragua) หรือที่บางครั้งเรียกว่า คลองใหญ่นิการากัว (Gran Canal de Nicaragua) และ คลองใหญ่ระหว่างมหาสมุทรแห่งนิการากัว (Gran Canal Interoceánico de Nicaragua) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า โครงการพัฒนาคลองใหญ่นิการากัวแบบบูรณาการ (Proyecto de Desarrollo Integral del Gran Canal de Nicaragua) เป็นเส้นทางเดินเรือที่เคยอยู่ในแผนการก่อสร้าง มีแนวเส้นทางผ่านตอนใต้ของประเทศนิการากัวโดยเชื่อมต่อมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ากับทะเลแคริบเบียน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก) นักวิทยาศาสตร์ต่างแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการ เนื่องจากทะเลสาบนิการากัวเป็นแหล่งกักเก็บน้ำจืดที่สำคัญของอเมริกากลาง[1] ในขณะที่วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าทางเรือต่างตั้งคำถามถึงความอยู่รอดได้ของโครงการ[2]

เส้นสีน้ำเงินในแผนที่คือแนวเส้นทางคลองนิการากัว ส่วนเส้นสีแดงคือพรมแดนระหว่างนิการากัว (บน) กับคอสตาริกา (ล่าง)
ทะเลสาบนิการากัว ส่วนหนึ่งของเส้นทางคลองนิการากัว

โครงการก่อสร้างเส้นทางเดินเรือผ่านนิการากัว (โดยใช้แม่น้ำซานฮวนเป็นทางเข้าสู่ทะเลสาบนิการากัว) ได้รับการเสนอเป็นครั้งแรกในช่วงต้นสมัยอาณานิคม จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 เคยเขียนเขียนบทความว่าด้วยความเป็นไปได้ของโครงการในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาสหรัฐละทิ้งแผนการขุดเส้นทางเดินเรือในนิการากัวในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังจากเข้าซื้อผลประโยชน์ของฝรั่งเศสในคลองปานามา

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 สภาผู้แทนราษฎรนิการากัวได้ลงมติผ่านร่างรัฐบัญญัติให้สัมปทานการจัดหาเงินทุนและจัดการโครงการคลองเป็นระยะเวลา 50 ปี แก่บริษัทฮ่องกงเพื่อการลงทุนพัฒนาคลองนิการากัว (เอชเคเอ็นดี) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนของหวัง จิ้ง มหาเศรษฐีชาวจีน[3][4][5][6][7][8] สัมปทานดังกล่าวอาจได้รับการต่ออายุอีก 50 ปีเมื่อเปิดใช้คลอง[9]

ใน พ.ศ. 2558 รายงานของสื่อต่าง ๆ ส่อให้เห็นว่าโครงการคลองนิการากัวจะล่าช้าและอาจจะถูกยกเลิก หลังจากความมั่งคั่งส่วนตัวของหวังลดลงอย่างมากเนื่องจากความปั่นป่วนในตลาดหุ้นจีน พ.ศ. 2558–2559[2][10] "งานหลัก" เช่น การขุดลอก มีกำหนดการดำเนินงานหลังจากสร้างท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ด้านมหาสมุทรแปซิฟิกเสร็จ แต่งานก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าวตามแผนต้องเริ่มแล้วตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2559[2] รัฐบาลนิการากัวไม่สามารถแสดงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ว่าโครงการมีโอกาสได้รับเงินทุนอุดหนุนหรือไม่ จึงก่อให้เกิดความเคลือบแคลงว่าโครงการจะเสร็จสมบูรณ์หรือไม่ตามไปด้วย[11][12][13][14] เอชเคเอ็นดีระบุว่าการจัดหาเงินทุนจะมาจากการขายหนี้และหุ้น รวมถึงการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกที่อาจเกิดขึ้น[2]

เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ยังไม่มีรายงานว่างานก่อสร้างคลองนิการากัวอย่างเป็นรูปธรรมได้เริ่มขึ้น และเกิดความเคลือบแคลงขึ้นอีกเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนเพื่อดำเนินโครงการ[15] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 นักวิเคราะห์ทั่วไปมองว่าโครงการนี้ถูกล้มเลิกไปแล้ว[16][17][18] แต่หัวหน้าโครงการยืนยันว่างานของโครงการยังคงดำเนินอยู่แม้จะช้าก็ตาม[16] และเอชเคเอ็นดียังคงมีสิทธิ์ตามกฎหมายในสัมปทานคลองเช่นเดียวกับโครงการรองต่าง ๆ[19]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Passary, Sumit (5 March 2015). "Scientists Wary About Environmental Effects Of Canal-Building Project In Nicaragua". Tech Times. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 McDonald, Michael D (March 17, 2016). "China Slowdown Not Holding Back Nicaragua Canal, Contractor Says". BloombergBusiness. สืบค้นเมื่อ 21 March 2016.
  3. "Nicaragua canal plan not a joke - Chinese businessman". BBC News. 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ 2013-06-26.
  4. "Nicaragua taps China for canal project". Nicaragua dispatch. Sep 2012.
  5. "Nicaragua signs memorandum with Chinese company to build a canal between two oceans". Inside Costa rica. 2012-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  6. Watts, Jonathan (6 June 2013). "Nicaragua fast-tracks Chinese plan to build canal to rival Panama". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
  7. Watts, Jonathan; Richards, Gareth (6 June 2013). "Nicaragua gives Chinese firm contract to build alternative to Panama Canal". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2013-06-12.
  8. "Nicaragua Congress approves ocean-to-ocean canal plan". BBC News. 2013-06-13. สืบค้นเมื่อ 14 June 2013.
  9. De Cordoba, Jose (2013-06-13). "Nicaragua Revives Its Canal Dream". The Wall Street Journal Online. สืบค้นเมื่อ 2014-03-09.
  10. South China Morning Post 2015/11/28 "Chinese company postpones US$50 billion canal project in Nicaragua as chairman’s personal fortune tumbles"
  11. "Doubts deepen over Chinese-backed Nicaragua canal as work starts". Reuters. December 26, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  12. "Doubts raised over Nicaraguan canal project as trade patterns shift". South China Morning Post. 18 January 2015.
  13. Tim Rogers (30 January 2015). "Watch Nicaraguan student challenge Sandinista canal rep in Spain". Nicaragua Dispatch. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  14. PanAm Post Staff. "Nicaragua Grand Canal a Road to Ruin". PanAm Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  15. Adriana Peralta (May 8, 2017). "Four Years Later, China-Backed Nicaragua Canal Struggles to Take Off the Ground". PanAm Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-23. สืบค้นเมื่อ May 8, 2017.
  16. 16.0 16.1 Incertidumbres financieras desvanecen sueño de canal en Nicaragua. El Financiero. AFP. 21 February 2018 (in Spanish)
  17. China Sets Its Sights on South America. Seth Cropsey, The American Interest. Quote: "China has abandoned its attempts to construct a Nicaraguan Canal to compete with its Panamanian counterpart."
  18. Is the Nicaraguan mega-canal failure good news for indigenous communities? เก็บถาวร 2018-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Beverly Goldberg, Open Democracy. 27 August 2018.
  19. "AP Explains: Nicaragua pension changes ignite fiery protests". AP. 2018-04-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-23. สืบค้นเมื่อ 2018-04-23.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 11°30′N 85°00′W / 11.5°N 85.0°W / 11.5; -85.0