เครสแจน อีเรกเซิน

นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์ก
(เปลี่ยนทางจาก คริสเตียน เอริกเซน)

เครสแจน แตเนอแมน อีเรกเซิน (เดนมาร์ก: Christian Dannemann Eriksen; เกิด 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992) เป็นนักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวกลางและกองกลางตัวรุกให้แก่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และทีมชาติเดนมาร์ก เขาลงเล่นให้แก่ทีมชาตินัดแรกในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 และเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดในฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้[3][4]

เครสแจน อีเรกเซิน
อีเรกเซินขณะเล่นให้กับทอตนัมฮอตสเปอร์เมื่อปี 2016
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เครสแจน แตเนอแมน อีเรกเซิน[1]
วันเกิด (1992-02-14) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (32 ปี)[1]
สถานที่เกิด มีเดิลฟาร์ต เดนมาร์ก
ส่วนสูง 1.82 m (6 ft 0 in)[2]
ตำแหน่ง กองกลางตัวกลาง / กองกลางตัวรุก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หมายเลข 14
สโมสรเยาวชน
1995–2005 มีเดิลฟาร์ต
2005–2008 โอเดินเซอ
2008–2010 อายักซ์
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2010–2013 อายักซ์ 113 (25)
2013–2020 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 226 (51)
2020–2021 อินเตอร์มิลาน 43 (4)
2022 เบรนต์ฟอร์ด 11 (1)
2022– แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 42 (2)
ทีมชาติ
2007–2009 เดนมาร์ก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 27 (9)
2009 เดนมาร์ก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี 5 (1)
2009 เดนมาร์ก รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี 3 (1)
2011 เดนมาร์ก รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี 3 (1)
2010– เดนมาร์ก 126 (40)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30/12/2023
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 27/10/2023

ในปี ค.ศ. 2011 เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลเดนมาร์กแห่งปี, ดัตช์ฟุตบอลทาเลนต์ออฟเดอะเยียร์, อายักซ์ทาเลนต์ออฟเดอะเยียร์ และติดทีมยอดเยี่ยมของฟุตบอลยูโร รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี[5] เขาคว้าแชมป์ลีกของดัตช์กับอายักซ์ ในฤดูกาล 2010–11, 2011–12 และ 2012–13 ก่อนย้ายไปเล่นให้แก่ทอตนัมฮอตสเปอร์ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 ด้วยค่าตัว 11.5 ล้านยูโร[6] ในฤดูกาล 2013–14 เขาได้รับรางวัลผู้เล่นแห่งปีของสโมสร และในปี ค.ศ. 2015 เขาได้รับรางวัลนักฟุตบอลเดนมาร์กแห่งปี สมัยที่สามติดต่อกัน

ทีมชาติ แก้

เขาได้รับเรียกตัวติดทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010[7] และลงเล่นนัดแรกในนัดกระชับมิตรพบกับทีมชาติออสเตรียในเดือนถัดมา[8] กลายเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยสุดอันดับที่ 4 ที่ติดทีมชาติปีนั้น และยังเป็นผู้เล่นอายุน้อยสุดตอนติดทีมชาติครั้งแรก[9]

วันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 มอร์เตน ออลเซน หัวหน้าผู้ฝึกสอน ประกาศว่า เครสแจน อีเรกเซิน จะติดทีมชาติในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้[10] และเป็นผู้เล่นอายุน้อยสุดที่ลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนั้น[3][4] เขาลงเล่นไปสองนัด พบกับเนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น ก่อนที่ทีมของเขาจะยุติเส้นทางในรอบแบ่งกลุ่ม[11][12]

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เขาได้รับตำแหน่งผู้เล่นประจำแมตช์ในนัดที่แพ้อังกฤษ 1–2 และได้รับการชื่นชมจากนักฟุตบอลหลายคน รวมไปถึงแฟรงก์ แลมพาร์ด จากสโมสรฟุตบอลเชลซี,[13] ริโอ เฟอร์ดินานด์ จากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ผ่านทางทวิตเตอร์),[14] และโค้ชของเขา มอร์เตน ออลเซน[15] ต่อมาวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2011 เขาทำประตูแรกในนามทีมชาติ นัดที่ชนะไอซ์แลนด์ 2–0 ในการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 รอบคัดเลือก เขาเป็นผู้เล่นชาวเดนมาร์กอายุน้อยสุดที่ทำประตูในรอบคัดเลือก โดยน้อยกว่ามีเคล เลาโตรปท ที่ทำได้ในปี ค.ศ. 1983 อยู่ 9 วัน[16]

ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก แก้

ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โซนยุโรป มีการจับสลากให้เดนมาร์กอยู่ในกลุ่ม อี โดยมีทีมแข็งอย่างโปแลนด์และโรมาเนีย อีเรกเซิน เป็นผู้เล่นคนหนึ่งที่สำคัญ เขาทำได้ 8 ประตู ช่วยให้เดนมาร์กผ่านเข้ารอบเพลย์ออฟ พบกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์[17] เขาทำแฮตทริก ในนัดที่สองของเพลย์ออฟ เอาชนะไอร์แลนด์ไปได้ 5–1 ช่วยให้เดนมาร์กได้ไปเล่นฟุตบอลโลกที่ประเทศรัสเซีย[18] สรุปแล้ว เขาทำประตูทั้งสองรอบไปทั้งสิ้น 11 ประตู เป็นรองเพียงรอแบร์ต แลวันดอฟสกี (16) และคริสเตียโน โรนัลโด (15) เขาได้รับการชื่นชมจากผู้จัดการทีม เอจ ฮาเรด ที่จัดให้เขาอยู่ใน 10 ผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลก[19]

ภาวะหัวใจหยุดเต้นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 แก้

อีเรกเซินมีชื่อติดทีมชาติเดนมาร์กในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2021[20] ต่อมาวันที่ 12 มิถุนายน ขณะที่ลงเล่นให้แก่เดนมาร์กในนัดเปิดสนามของรอบแบ่งกลุ่มที่พบกับฟินแลนด์ที่สนามกีฬาพาร์เกินในโคเปนเฮเกน อีเรกเซินล้มลงในนาทีที่ 42 ซึ่งเป็นจังหวะที่เขากำลังจะรับลูกทุ่ม หน่วยแพทย์ฉุกเฉินจึงรีบเข้าสนามทันที โดยมีการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าบนสนามก่อนนำตัวอีเรกเซินออกและพักการแข่งขันชั่วคราว[21][22] หลังจากเหตุการณ์นั้นหนึ่งชั่วโมง เจ้าหน้าที่ยูฟ่าและสมาคมฟุตบอลเดนมาร์ก (DBU) ได้ออกมายืนยันจากโรงพยาบาล Rigshospitalet ว่าอีเรกเซินนั้นรู้สึกตัวแล้ว[23][24][25] เย็นวันนั้น การแข่งขันได้ดำเนินต่อไปและจบลงด้วยชัยชนะ 1–0 ของฟินแลนด์[26] โดยยูฟ่าเลือกให้อีเรกเซินเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด[27] แคสเปอร์ ยูลมัน ผู้จัดการทีมชาติเดนมาร์ก และ Morten Boesen แพทย์ประจำทีม รู้สึกไม่ดีที่การแข่งขันได้ดำเนินต่อ[28] ในขณะที่เพื่อนร่วมทีมของอีเรกเซินอย่างมาร์ติน เบรทเวต ได้กล่าวว่าการตัดสินใจนี้เป็น "สิ่งที่แย่ที่สุด"[29] พีเตอร์ สไมเกิล บิดาของแคสเปอร์ สไมเกิล ผู้รักษาประตูทีมชาติเดนมาร์ก วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินให้แข่งขันต่อว่า การที่ยูฟ่าขู่จะปรับให้เดนมาร์กแพ้ 3–0 หากทีมจะไม่แข่งขันต่อในวันนั้นหรือเลื่อนไปแข่งในวันถัดมา ทำให้ผู้เล่น "ไม่มีทางเลือก" แต่ต้องแข่งขันต่อไป[30]

วันถัดมา Boesen ยืนยันว่าอีเรกเซินประสบภาวะหัวใจหยุดเต้น[22][21] เหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกเปรียบเทียบกับกรณีของฟาบริซ มูอัมบาและ Abdelhak Nouri นักฟุตบอลสองคนที่ล้มลงในสนามคล้ายกับอีเรกเซินและจำเป็นต้องเลิกเล่นฟุตบอล โดยเฉพาะในรายหลังที่สมองได้รับความเสียหายรุนแรง[31][32][33] วันที่ 15 มิถุนายน อีเรกเซินลงรูปของตัวเขาเองในโรงพยาบาล พร้อมกับข้อความสั้น ๆ ว่า "รู้สึกดีขึ้นแล้ว"[34] วันถัดมามีการประกาศว่าเขาได้ติดตั้งอุปกรณ์กระตุ้นหัวใจแบบฝังโดยเป็นการตัดสินใจของ Boesen ที่ว่า "มีความจำเป็นต้องติดตั้งเนื่องจากจังหวะหัวใจถูกรบกวน" อันเนื่องจากหัวใจหยุดเต้น[35] วันที่ 18 มิถุนายน สมาคมฟุตบอลฯ ประกาศว่าอีเรกเซินได้รับการผ่าตัดและออกจากโรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อย เขาได้ไปเยี่ยมเพื่อนร่วมทีมที่เฮลซิงเงอร์ก่อนที่จะกลับบ้านไปหาครอบครัว[36]

สถิติอาชีพ แก้

ทีมชาติ แก้

ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2021[37]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
เดนมาร์ก 2010 10 0
2011 10 2
2012 11 0
2013 11 2
2014 7 1
2015 8 1
2016 9 6
2017 9 9
2018 10 4
2019 10 6
2020 8 5
2021 6 0
ทั้งหมด 109 36

ประตูในนามทีมชาติ แก้

ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2021[38]
ลำดับ วันที่ สนาม นัดที่ คู่แข่ง ประตู ผล รายการอ้างอิง
1 4 มิถุนายน 2011 Laugardalsvöllur, Reykjavík, Iceland 14   ไอซ์แลนด์ 2–0 2–0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 รอบคัดเลือก
2 10 สิงหาคม 2011 Hampden Park, Glasgow, Scotland 15   สกอตแลนด์ 1–1 1–2 เกมกระชับมิตร
3 5 มิถุนายน 2013 Aalborg Stadium, Aalborg, Denmark 35   จอร์เจีย 2–1 2–1
4 14 สิงหาคม 2013 Stadion Energa Gdańsk, Gdańsk, Poland 37   โปแลนด์ 1–1 2–3
5 22 พฤษภาคม 2014 Nagyerdei Stadion, Debrecen, Hungary 43   ฮังการี 1–1 2–2
6 8 มิถุนายน 2015 Viborg Stadium, Viborg, Denmark 52   มอนเตเนโกร 1–1 2–1
7 7 มิถุนายน 2016 Suita City Football Stadium, Suita, Japan 61   บัลแกเรีย 2–0 4–0 คิรินคัพ 2016
8 3–0
9 4–0
10 4 กันยายน 2016 Parken Stadium, Copenhagen, Denmark 63   อาร์มีเนีย 1–0 1–0 ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก
11 11 พฤศจิกายน 2016 Parken Stadium, Copenhagen, Denmark 66   คาซัคสถาน 2–1 4–1
12 4–1
13 6 มิถุนายน 2017 Brøndby Stadium, Brøndbyvester, Denmark 68   เยอรมนี 1–0 1–1 เกมกระชับมิตร
14 10 มิถุนายน 2017 Almaty Central Stadium, Almaty, Kazakhstan 69   คาซัคสถาน 2–0 3–1 ฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก
15 1 กันยายน 2017 Parken Stadium, Copenhagen, Denmark 70   โปแลนด์ 4–0 4–0
16 4 กันยายน 2017 Vazgen Sargsyan Republican Stadium, Yerevan, Armenia 71   อาร์มีเนีย 2–1 4–1
17 5 ตุลาคม 2017 City Stadium, Podgorica, Montenegro 72   มอนเตเนโกร 1–0 1–0
18 8 ตุลาคม 2017 Parken Stadium, Copenhagen, Denmark 73   โรมาเนีย 1–0 1–1
19 14 พฤศจิกายน 2017 Aviva Stadium, Dublin, Ireland 75   สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 2–1 5–1
20 3–1
21 4–1
22 9 มิถุนายน 2018 Brøndby Stadium, Brøndbyvester, Denmark 78   เม็กซิโก 2–0 2–0 เกมกระชับมิตร
23 21 มิถุนายน 2018 Samara Arena, Samara, Russia 80   ออสเตรเลีย 1–0 1–1 ฟุตบอลโลก 2018
24 9 กันยายน 2018 Idrætspark, Aarhus, Denmark 83   เวลส์ 1–0 2–0 ยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2018–19 ลีกบี
25 2–0
26 21 มีนาคม 2019 Fadil Vokrri Stadium, Pristina, Kosovo 86   คอซอวอ 1–1 2–2 เกมกระชับมิตร
27 10 มิถุนายน 2019 Parken Stadium, Copenhagen, Denmark 89   จอร์เจีย 2–1 5–1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบคัดเลือก
28 5 กันยายน 2019 Victoria Stadium, Gibraltar 90   ยิบรอลตาร์ 6–0 2–0
29 3–0
30 15 พฤศจิกายน 2019 สนามกีฬาพาร์เกิน โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก 94 5–0 6–0
31 6–0
32 7 ตุลาคม 2020 MCH Arena, Herning, เดนมาร์ก 98   หมู่เกาะแฟโร 2–0 4–0 เกมกระชับมิตร
33 11 ตุลาคม 2020 Laugardalsvöllur, เรคยาวิก ไอซ์แลนด์ 99   ไอซ์แลนด์ 2–0 3–0 ยูฟ่าเนชันส์ลีก 2020–21 ลีกเอ
34 14 ตุลาคม 2020 สนามกีฬาเวมบลีย์ ลอนดอน อังกฤษ 100   อังกฤษ 1–0 1–0
35 15 พฤศจิกายน 2020 สนามกีฬาพาร์เกิน โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก 102   ไอซ์แลนด์ 1–0 2–1
36 2–1

เกียรติประวัติ แก้

สโมสร แก้

อายักซ์

ทอตนัมฮอตสเปอร์

อินเตอร์มิลาน

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

รางวัลส่วนตัว แก้

  • Ajax Talent of the Future: 2010[45]
  • Ajax Talent of the Year: 2011[46]
  • Danish U-17 Talent of the Year: 2008[47]
  • Danish Talent of the Year: 2010, 2011[48]
  • Dutch Football Talent of the Year: 2011[49]
  • Dutch Footballer of the Year Bronze Boot: 2012[45]
  • Danish Football Player of the Year: 2013, 2014, 2015, 2017, 2018[50]
  • Danish Football Player of the Year by TV2 and DFA: 2011, 2013, 2014, 2017[ต้องการอ้างอิง]
  • PFA Team of the Year: พรีเมียร์ลีก 2017–18[51]
  • Tottenham Hotspur Player of the Year: 2013–14, 2016–17[52][53]
  • Premier League Goal of the Month: เมษายน 2018[54]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "เครสแจน อีเรกเซิน". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2017.
  2. "Christian Eriksen". Tottenham Hotspur F.C. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
  3. 3.0 3.1 "World Cup squads: The story of the stats | FIFA World Cup 2010 | STV Sport". Sport.stv.tv. 2 มิถุนายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2010.
  4. 4.0 4.1 Berend Scholten (23 May 2011). "Eriksen: I've got a lot to learn". Uefa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-22. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.
  5. "Eriksen selected as Danish "Player of the Year"". xinhuanet. 8 พฤศจิกายน 2011.
  6. "Tottenham confirm the signing of midfielder Christian Eriksen from Ajax". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-03-19.
  7. "Christian Eriksen: Det er helt vildt" (ภาษาเดนมาร์ก). Bold.dk. 26 February 2010. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2010.
  8. "Eriksen: Helt specielt med debut – TV 2 Sporten" (ภาษาเดนมาร์ก). Sporten-dyn.tv2.dk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-25. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2010.
  9. "A-landsholdspillere – Yngste debutant" (ภาษาเดนมาร์ก). www.haslund.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2010.
  10. "Olsen names final Denmark squad". UEFA.com. 28 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2010.
  11. "Netherlands vs. Denmark". Soccerway. 17 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  12. "Denmark vs. Japan". Soccerway. 24 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 11 February 2011.
  13. "Stjerne: Eriksen kan blive topspiller" (ภาษาเดนมาร์ก). spn.dk. 9 February 2011. สืบค้นเมื่อ 10 February 2011.
  14. "Ferdinand skamroser Eriksen på Twitter" (ภาษาเดนมาร์ก). Sporten.dk. 9 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-15. สืบค้นเมื่อ 10 February 2011.
  15. "Engelske medier jubler over Eriksen" (ภาษาเดนมาร์ก). spn.dk. 9 กุมภาพันธ์ 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011.
  16. "Ajacied Eriksen speelt Laudrup uit de boeken" (ภาษาดัตช์). Ad.nl. 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2011.
  17. Hawkey, Ian (5 พฤศจิกายน 2017). "Christian Eriksen is danger for Ireland". The Times. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017.
  18. Hafez, Shamoon (14 พฤศจิกายน 2017). "Republic of Ireland 1–5 Denmark (agg: 1–5)". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2017.
  19. "Tottenham's Christian Eriksen one of the world's top 10 players, says Denmark boss Age Hareide". Sky Sports. 15 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017.
  20. "26 spillere klar til EM for Danmark" [26 players ready for the European Championship for Denmark]. Danish Football Association (ภาษาเดนมาร์ก). 25 May 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2021.
  21. 21.0 21.1 "Christian Eriksen: Denmark midfielder suffered cardiac arrest, says team doctor". BBC News. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  22. 22.0 22.1 Christenson, Marcus (13 June 2021). "'He was gone': Christian Eriksen had cardiac arrest, Denmark doctor says". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  23. Karen, Mattias (12 June 2021). "Denmark game at Euro 2020 suspended after Eriksen collapses". Associated Press. Copenhagen. สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
  24. "Eriksen 'awake' after collapsing". BBC Sport – โดยทาง www.bbc.co.uk.
  25. "Christian Eriksen: Denmark player 'awake and stabilised' in hospital after being given CPR following on-pitch collapse". Sky News. 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 12 June 2021.
  26. Emons, Michael (12 June 2021). "Denmark 0-1 Finland: Euro 2020 game overshadowed by Christian Eriksen collapse". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  27. "Denmark 0–1 Finland: Finns win after Eriksen emergency". UEFA. 12 June 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  28. "Christian Eriksen collapse: Denmark coach regrets restart v Finland". BBC Sport. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021.
  29. "Playing match was 'least bad' choice". BBC Sport.
  30. "Peter Schmeichel: Denmark players did not have choice with Finland restart after Christian Eriksen collapse". Sky Sports. 14 June 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  31. Stubley, Peter (12 June 2021). "Fabrice Muamba says Christian Eriksen collapse 'brought back emotions I never wanted to relive'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  32. "Collapse of Eriksen during Euro match brings back memories of Nouri heart arrhythmias". NL Times (ภาษาอังกฤษ). 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 18 June 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. Verweij, Mike; Kraan van der, Marcel (12 June 2021). "Vader van Abdelhak Nouri bidt voor Christian Eriksen" [Father of Abdelhak Nouri prays for Christian Eriksen]. Telegraaf (ภาษาดัตช์). Amsterdam. สืบค้นเมื่อ 18 June 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. Instagram post from 15 June 2021
  35. https://www.bbc.co.uk/sport/football/57508250
  36. "Christian Eriksen visits teammates after discharge". Sky News. 18 June 2021. สืบค้นเมื่อ 18 June 2021.
  37. "Eriksen, Christian". National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2019.
  38. "C. Eriksen: Summary". Soccerway. Perform Group. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2019.
  39. "Trophies". AFC Ajax. 20 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2015.
  40. "Report: Feyenoord Rotterdam vs Ajax Amsterdam – Dutch Cup". ESPN Soccernet. 6 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  41. "Netherlands – List of Super Cup Finals". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  42. McNulty, Phil (1 March 2015). "Chelsea 2–0 Tottenham Hotspur". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  43. McNulty, Phil (1 June 2019). "Tottenham Hotspur 0–2 Liverpool". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019.
  44. "Inter end Juventus' Serie A dominance with first title in 11 years". ESPN. 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2 May 2021.
  45. 45.0 45.1 "Tottenham confirm the signing of midfielder Christian Eriksen from Ajax" (ภาษาอังกฤษ). Sky Sports. 31 August 2013. สืบค้นเมื่อ 19 March 2017.
  46. "Stekelenburg Ajacied van het Jaar, Christian Eriksen Talent van het Jaar" (ภาษาดัตช์). AFC Ajax. 15 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
  47. "Danish starlet Eriksen opts for Ajax". UEFA. 17 October 2008. สืบค้นเมื่อ 19 April 2010.
  48. "Tottenham Hotspur Star Christian Eriksen Wins Danish Player of the Year Award". Inside Futbol. 10 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  49. Scholten, Berend (23 May 2011). "Janssen named Netherlands' finest". UEFA. สืบค้นเมื่อ 6 June 2011.
  50. "Christian takes top Danish honour for second-successive year". Tottenham Hotspur F.C. 11 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  51. "Manchester City players dominate PFA team of the year". BBC Sport. 18 April 2018. สืบค้นเมื่อ 5 May 2018.
  52. "Christian and Dele's Club Awards Double". Tottenham Hotspur F.C. 13 May 2017. สืบค้นเมื่อ 16 November 2017.
  53. "Christian's pride". Tottenham Hotspur F.C. 11 January 2015. สืบค้นเมื่อ 20 January 2015.
  54. "Eriksen strike wins Carling Goal of the Month". Premier League. 9 May 2018. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้