คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Medicine, Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาลำดับที่ 15 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามการจัดตั้ง และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับการรับรองจากแพทยสภา[2]ถัดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Medicine,
Mahasarakham University
ชื่อย่อพ. / MED
คติพจน์ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อสุขภาพมหาชน[1]
สถาปนาโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์
21 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (26 ปี)
ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (20 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีผศ.​นพ.เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย
ที่อยู่
วารสารวารสารมหาสารคามเวชสาร
สี███ สีเขียว
มาสคอต
คทาคาดูเซียส
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลสุทธาเวช
เว็บไซต์https://med.msu.ac.th/web/
Text logo of faculty of medicine, Mahasarakham university

ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในเขตพื้นที่ในเมือง (Downtown Campus) พื้นที่เดียวกับโรงพยาบาลสุทธาเวช (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิขั้นสูง Super Tertiary Care) คณะศึกษาศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นพื้นที่ใจกลางเขตธุรกิจและการเงินของจังหวัดมหาสารคาม ด้านหน้าติดกับถนนนครสวรรค์ สามารถเดินทางมาถึงได้โดย รถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารประจำทาง (เขตพื้นที่ในเมือง แบ่งเป็น 2 ฝั่งคือ ฝั่งวิทยาลัยวิชาการศึกษาเดิม (คณะแพทยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลสุทธาเวช) กับฝั่งวิทยาลัยคณาสวัสดิ์เดิม (คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม และโรงเรียนสาธิตฝ่ายประถม) โดยมีคลองคะคางเป็นเส้นแบ่งเขต)

ประวัติ แก้

การก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ แก้

 
โรงพยาบาลสุทธาเวชและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการสนับสนุนให้ก่อตั้งในสมัยของอธิการบดี ศาสตราจารย์(พิเศษ) เภสัชกร ดร.ภาวิช ทองโรจน์ โดยทาบทาม ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมพร โพธินาม เป็นประธานในการริเริ่มโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในวันที่ 21 ธันวาคม 2540 ซึ่งมีแนวคิดให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นสถาบันที่เป็นเลิศทางวิชาการด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชนที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของท้องถิ่น ประเทศชาติ และนานาชาติและยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์[3]

 
อาคารคณะแพทยศาสตร์ หลังที่ 1

ต่อมา หลังจากศึกษาดูงานและจัดเตรียมโครงการกว่า 5 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 10/2546 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2546 และสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้วางระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะแพทยศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2547[4] โดยดำเนินการในรูปแบบหน่วยงานนอกระบบราชการที่เน้นความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองมากที่สุด ในระยะเริ่มดำเนินงานสำนักงานตั้งอยู่ ณ อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ห้อง 305 ชั้น 3 วิทยาเขตขามเรียง (ม.ใหม่) คณะแพทยศาสตร์ได้รับโอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเข้ามาสังกัดในคณะแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 โดยนิสิต 84 คน จำนวน 2 รุ่น และได้เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (6 ปี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549 ซึ่งได้การรับรองจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2549 และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 5 / 2549 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เป็นรุ่นแรก ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้ย้ายคณะแพทยศาสตร์มาดำเนินงาน ณ ที่ตั้ง 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง)[5]

ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ เป็นหน่วยงานนอกระบบราชการในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารงานออกเป็นสำนักงานเลขานุการคณะแพทยศาสตร์และงานบริการวิชาการคณะแพทยศาสตร์ ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 5 หลักสูตร 7 สาขาวิชา คือ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (6 ปี) หลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชานวัตกรรมสุขภาพเขตร้อน (นานาชาติ) และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาวิชานวิทยาศาสตร์สุขภาพ (นานาชาติ)[6]

การก่อสร้างโรงพยาบาล แก้

 
โรงอาหารคณะแพทยศาสตร์
 
คณะแพทยศาสตร์ ด้านข้าง

โรงพยาบาลสุทธาเวช พัฒนามาจาก ศูนย์บริการทางการแพทย์ ซึ่งดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ณ อาคารประกอบการหอพัก ระหว่างหอพักเชียงยืนและหอพักชื่นชม ภายในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 ได้เปิดศูนย์บริการทางการแพทย์แห่งที่ 2 ณ ที่ทำการคณะแพทยศาสตร์ อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม และมีแผนการพัฒนาศูนย์บริการทางการแพทย์แห่งที่ 2 เป็นโรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยได้เริ่มก่อสร้างอาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกีรยติขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 แล้วเสร็จวันที่ 15 มีนาคม 2556 ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินร่วมกับเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 279,538,600 บาท (สำหรับเครื่องมือ อุปกรณ์การแพทย์ และการปรับปรุงตกแต่งห้องพิเศษ) และได้รับความร่วมมือจากแรงศรัทธาของชาวจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดใกล้เคียงร่วมบริจาคเพิ่มเติมจากเงินงบประมาณอาคาร โดยใช้ชื่อในขณะนั้นว่า "ศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ" ซึ่งเป็นชื่อในขั้นตอนของการของบประมาณและในภายหลังได้พัฒนามาเป็น"โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ในเวลาต่อมา[7]

ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 โรงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อโรงพยาบาลว่า“สุทธาเวช” หมายถึง โรงพยาบาลซึ่งพร้อมด้วยการแพทย์อันดีงาม และพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดับที่ป้ายชื่อโรงพยาบาลด้วย[8]

การเปิดโรงพยาบาล แก้

วันอังคาร ที่ 22 มีนาคม 2559 เวลา 14.35 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากอาคารพลศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไปยังโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์” ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการผลการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ และทรงลงพระนามาภิไธยในแผ่นศิลา[9] ถือเป็นการเปิดใช้งานโรงพยาบาลสุทธาเวชอย่างเป็นทางการ

สัญลักษณ์ แก้

  • ตราประจำคณะ

ตราประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ พญานาค 2 ตนลำตัวพันกัน ตรงกลางเป็นตราโรจนากร อยู่ในวงกลมสีเขียวพร้อมชื่อคณะและปีที่ก่อตั้งทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  • สัญลักษณ์ประจำคณะ

สัญลักษณ์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ คทาคาดูเซียส เป็นคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา (สำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้พญานาคแทนงู แสดงถึงความยิ่งใหญ่และการเคารพบูชาพญานาคของคนในภูมิภาคนี้) โดยคทาคะดูเซียส เป็นไม้เท้าของเทพเฮอร์มีส ตามตำนานเทพของกรีก หรือเทพเมอร์คิวรี ในตำนานเทพของโรมัน มีรูปเป็นไม้เท้ามีปีกหนึ่งคู่ และมีงูสองตัวเลื้อยกระวัดพันอยู่ตั้งแต่ด้ามจนปลาย เป็นสัญลักษณ์ของการค้า การอาชีพ และกิจการอื่น ๆ ที่เนื่องด้วยเทพเฮอร์มีส ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ทางการแพทย์[10]

  • สีประจำคณะ

  สีเขียว

  • ต้นไม้/ดอกไม้ประจำคณะ

ต้นพญายา คือต้นไม้ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หน่วยงานภายในคณะ แก้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งการบริหารหน่วยงานภายในดังนี้

 
การบริหารงานภายในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านการบริหารงาน ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย บริการและพัฒนา
  • สำนักงานเลขานุการคณะแพทยศาสตร์
    • งานนโยบายและแผน
    • งานการเงินและบัญชี
    • งานพัสดุ
    • งานการเจ้าหน้าที่
    • งานธุรการและยานยนต์
    • งานเทคโนโลยีสารสนเทศและโสตทัศนูปกรณ์
    • งานวิจัยและประกันคุณภาพ
    • งานกิจการนิสิต
    • งานประชาสัมพันธ์
    • งานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
    • งานวิชาการ
    • งานวิศวกรรมและการซ่อมบำรุง
    • งานกิจการพิเศษ
    • งานวิเทศสัมพันธ์
  • โรงพยาบาลสุทธาเวช
  • คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  • หน่วยวิจัยคณะแพทยศาสตร์ฯ
  • หน่วยวิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • หน่วยวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและ
    คุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
  • หน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์
  • หน่วยวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
  • หน่วยวิจัยด้านภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
  • หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนและโรคปรสิตฯ

ภาควิชา แก้

คณะแพทยศาสตร์ มีหน่วยงานเทียบเท่าภาควิชา ดังนี้

หน่วยวิจัย แก้

หน่วยวิจัยภายในคณะแพทยศาสตร์

  • หน่วยวิจัยคณะแพทยศาสตร์ฯ
  • หน่วยวิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  • หน่วยวิจัยการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัยในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
  • หน่วยวิจัยชีวเวชศาสตร์
  • หน่วยวิจัยด้านการแพทย์แผนไทย
  • หน่วยวิจัยด้านภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
  • หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนและโรคปรสิตฯ

หลักสูตรการศึกษา แก้

ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดทำการเรียนการสอนใน 5 หลักสูตร 8 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้

 
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[11]
ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

หมายเหตุ

  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เรียน 6 ปี ไม่เกิน 12 ปีการศึกษา
  • หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ฉุกเฉินการแพทย์) เรียน 4 ปี ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

สีประจำหลักสูตร แก้

  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) สีเขียว ( Permanent green middle )

  สีเขียวใบไม้

  • หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (พทป.บ.) สีเขียวไพล ( Permanent green light )

  สีเขียวไพล

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ฉุกเฉินการแพทย์) (วท.บ.) สีเขียวตั้งแช ( Viridian green light )

  สีเขียวตั้งแช (สีเขียวเวอร์ริเดียน)

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) และ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สีเขียวเข้ม ( Permanent green deep )

  สีเขียวเข้ม

การรับบุคคลเข้าศึกษา แก้

หลักสุตรแพทยศาสตรบัณฑิต แก้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 โดยใช้ระบบรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ทั้งสิ้น 1 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) คณะแพทยศาสตร์[12]

โดยคณะเปิดรับเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม สกลนคร บึงกาฬ และ หนองบัวลำภู

หลักสูตรอื่นๆ แก้

  • ระดับปริญญาตรี

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต และวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฉุกเฉินการแพทย์ ทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการเด็กดีมีที่เรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[13]
  2. โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นด้านกีฬา[14]
  3. โครงการโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[15]
  4. โครงการรับตรงร่วมกัน (แอดมิสชัน 1)[16]
  5. โครงการรับกลางร่วมกัน (แอดมิสชัน 2)[17]
  • ระดับปริญญาโท

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [18]

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
  • ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50, หรือ
  • มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี และมีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [19]
  • กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
  • มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโท ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  • แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ระดับปริญญาเอก

การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [18]: 5 

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
  • ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 81.25 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25, หรือ
  • มีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [19] โดยพิจารณาผลการสอบข้อเชียนและผลงานวิชาการอื่นประกอบ
  • กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
  • มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
  • แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
  • แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แก้

 
อาคารผู้ป่วยนอกหรือตึก OPD

การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) และระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ระดับชั้นปรีคลินิก แก้

ในระดับชั้นนี้จะเป็นการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานก่อนที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วยในระดับชั้นคลินิกต่อไป โดยในชั้นปีที่ 1 นิสิตแพทย์จะเรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปร่วมกับนิสิตคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียนที่อาคารราชนครินทร์ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และปรีคลินิก (ตึกสาธาฯ) และกลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ (SC1-3) ส่วนในชั้นปีที่ 2-3 จะเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามระบบต่างๆ ของร่างกาย และบูรณาการร่วมกับความรู้ในชั้นคลินิกโดยคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์และบางรายวิชาที่ตึกสาธาฯ

ระดับชั้นคลินิก แก้

เป็นการเรียนต่อยอดจากระดับชั้นปรีคลินิกโดยเน้นการนำไปใช้กับผู้ป่วยจริง ในระดับชั้นนี้ นิสิตแพทย์จะแยกกันเรียนในโรงพยาบาลต่างๆ ตามโครงการที่เข้ามาตั้งแต่แรกรับ โดยนิสิตแพทย์จะแยกไปเรียนในโรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์ ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนจะอยู่ในกำกับของคณะแพทยศาสตร์ ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์จะจัดการเรียนการสอนที่โรงพยาบาลสุทธาเวช โดยในชั้นปีที่ 4 - 5 จะเรียนโดยการตรวจรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยต่างๆ ร่วมกับการเรียนภาคบรรยาย และในชั้นปีที่ 6 (Extern) จะเน้นการเรียนเสมือนการทำงานจริงภายใต้การควบคุมของแพทย์ใช้ทุน (Intern) และอาจารย์แพทย์ โดยจะมีการออกฝึกในโรงพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ก่อนจบการศึกษา นิสิตแพทย์จะต้องผ่านการสอบวัดความรู้รวบยอดภาคทฤษฎี ในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 5 และสอบวัดผลภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 6 โดยเป็นการสอบเพื่อปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (Comprehensive examination) ซึ่งจัดสอบโดยคณะแพทยศาสตร์เอง รวมทั้งการสอบเพื่อใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (National license) ซึ่งเป็นการสอบส่วนกลาง จัดสอบโดยศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา (ศรว.) ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้บัณฑิตแพทย์มีมาตรฐานเดียวกัน

เมื่อจบการศึกษา บัณฑิตแพทย์จะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ตามมาตรฐานสากลจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) แล้ว[20]

กีฬาโฮมหมอเกมส์ แก้

กีฬาโฮมหมอเกมส์ หรือ กีฬาสานสัมพันธ์นิสิตกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ[21] เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีต่อกันระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน จัดโดยโดยสโมสรนิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ และสโมสรคณะสัตวแพทยศาสตร์

กีฬาสานสัมพันธ์ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย เป็นการสร้างความคุ้นเคยและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตในสายวิชาชีพเดียวกัน เนื่องจากอนาคตต้องมีการทำงานร่วมกัน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งสอดคล้องกับนโยบายสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย โดยในงานได้มีการเดินขบวนพาเหรดของสโมสรนิสิตแต่ละคณะ และการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ฟุตซอล, บาสเกตบอล, วอลเลย์บอล, ตะกร้อ, เปตอง และกีฬฮาเฮ อาทิ ชักเย่อ, วิ่งกระสอบ เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 500 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์ นักฉุกเฉินการแพทย์ แก้

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แก้

โรงพยาบาลที่ผลิตแพทย์ร่วมกับสาขาวิชาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6) มีทั้งสิ้น 2 โรงพยาบาล โดยได้มีการจัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" ในโรงพยาบาลต่างๆ ที่ร่วมผลิตแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีดังนี้

 
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงพยาบาล จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลสุทธาเวช จังหวัดมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงพยาบาล จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด กระทรวงสาธารณสุข

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฉุกเฉินการแพทย์ แก้

โรงพยาบาลที่ร่วมผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่

 
สถาบันร่วมผลิตนักฉุกเฉินการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงพยาบาล จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข

ทำเนียบคณบดี แก้

รายนามคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

 
ทำเนียบคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ลำดับที่ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมพร โพธินาม 2546 - 2554[22]
2 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.เรือน สมณะ(ราชบัณฑิต) 2554 - 2558[23]
3 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุชาติ อารีมิตร 2558 - 2560[24]
4 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พลตรีหญิง แพทย์หญิงวณิช วรรณพฤกษ์ 2560 - 2562[25]
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิ​ชัย 2562 - ปัจจุบัน[26]

สถานที่ตั้งและพื้นที่ แก้

 
อาคารคณะแพทยศาสตร์ หลังที่ 2
 
อาคารผลิตยา คณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่เลขที่ 77/99 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ 8 หลัง (รวมโรงพยาบาลสุทธาเวช) ได้แก่ อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์หลังเก่า (สำนักงานคณบดีคณะแพทยศาสตร์) อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติฯ 1 (โรงพยาบาลสุทธาเวช) อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติฯ 2 (อาคารคณะแพทยศาสตร์) อาคารผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาคารศูนย์บริการแพทยแผนไทย อาคารรังสีวินิจฉัย อาคารเอนกประสงค์คณะแพทยศาสตร์ อาคารผู้ป่วยนอก 1 และกลุ่มที่พักบุคลากรทางการแพทย์ 4 หลัง

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีอาคารหลักคือ "อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ หลังที่ 2" (อาคารคณะแพทยศาสตร์ 2) ความสูง 12 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 15,025.53 ตารางเมตร วงเงินจัดสรร 253,200,000 บาท โดยในปัจจุบันอาคารดังกล่าวเป็นสถานที่ติดต่อราชการ ที่ทำการศึกษาของแต่ละภาควิชา และห้องประชุม ภายในอาคารประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ชั้น 1 ห้องสมุดขนาด 150 ที่นั่งและสำนักงาน
  • ชั้น 2 ห้องสัมมนาขนาด 300 ที่นั่ง และขนาด 150 ที่นั่ง
  • ชั้น 3 ห้องเรียนขนาด 60 ที่นั่ง จำนวน 6 ห้อง
  • ชั้น 4 ห้องศึกษาหุ่น และห้องเรียนกลุ่มขนาด 15 ที่นั่ง จำนวน 12 ห้อง
  • ชั้น 5 ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้องใหญ่และจำนวน 4 ห้องเล็ก
  • ชั้น 6 เป็นห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้องใหญ่และ 4 ห้องเล็ก
  • ชั้น 7 และชั้น 8 สำนักงานบริหารคณะแพทยศาสตร์
  • ชั้น 9 และชั้น 10 สำนักงานของอาจารย์ พร้อมห้องประชุม
  • ชั้น 11 ห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ห้อง
  • ชั้น 12 ห้องสอนภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ขนาด 120 เตียง

นอกจากอาคารคณะแพทยศาสตร์ 2 แล้ว ยังมีอาคารอื่นๆ ได้แก่

  • อาคารรังสีวินิจฉัย เป็นอาคารที่ใช้งานร่วมกันกับคณะแพทยศาสตร์ โดยเป็นอาคารสำหรับกิจการด้านรังสิวิทยาสำหรับการวินิจฉัยและการแพทย์และภาควิชารังสีวิทยา
  • อาคารคณะแพทยศาสตร์ 1 เป็นอาคาร 4 ชั้น เดิมเป็นอาคารเรียนหลักของคณะแพทย์ ปัจจุบันปรับปรุงเป็นตึกจ่ายกลางและคลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์
  • อาคารสถานผลิตยา เป็นอาคารสำหรับการผลิตยาและสมุนไพร
  • ศูนย์อาหารคณะแพทยศาสตร์ เป็นศูนย์อาหารสำหรับนิสิตแพทย์ บุคลากรโรงพยาบาลและผู้ป่วย ตั้งอยู่ระหว่างอาคารคณะแพทยศาสตร์ 2 กับตัวโรงพยาบาลสุทธาเวช
  • อาคารศูนย์บริการทางการแพทย์และศูนย์วิจัยเฉลิมพระเกียรติ หลังที่ 1 เป็นอาคารหลักของโรงพยาบาลสุทธาเวช รองรับผุ้ป่วยได้ 120 เตียง
  • อาคารผู้ป่วยนอก 1 หรือตึก OPD รองรับผู้ป่วยได้ 100 เตียง

อ้างอิง แก้

  1. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ. เก็บถาวร 2021-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564.
  2. แพทยสภา. โรงเรียนแพทย์ภายในประเทศ ที่แพทยสภารับรอง เรียงลำดับ. 18 กุมภาพันธ์ 2565
  3. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : วัตุประสงค์ในการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
  4. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี : ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยคณะแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๗. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564.
  5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : รายงานประจำปี 2563 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
  6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หลักสูตรที่เปิดสอน. 16 กันยายน 2564
  7. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ : ประวัติสถานพยาบาล. เก็บถาวร 2021-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2564.
  8. ศิลปวัฒนธรรม : รู้ไหมว่า “มหาสารคามเคยมีสนามบิน”…แล้วทำไมถึงเปลี่ยนไป?. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564.
  9. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ข่าวประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เก็บถาวร 2021-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564.
  10. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานประจำปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2564. 17 มีนาคม 2565.
  11. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี : รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 132 เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564
  12. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  13. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการเด็กดีมีที่เรียน ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  14. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นด้านกีฬา ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2021-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  15. MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : โควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  16. MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 1 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2021-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  17. MSU Admission : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : แอดมิสชันรอบที่ 2 ผ่าน ทปอ. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  18. 18.0 18.1 บัณฑิตวิทยาลัย (2560). การรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. 19.0 19.1 บัณฑิตวิทยาลัย. รายละเuอียดและคุณสมบัตเฉพาะสาขาของผู้สมัครสอบระดับปริญญาโท (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. แพทยสภา : รายชื่อสถาบัน ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) หรือ Institute for Medical Education Accreditation (IMEAc) ตามมาตรฐานสากล WFME. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  21. ข่าวประชาสัมพันธ์ มมส. [http://www.web.msu.ac.th/ssystem/msuhotnews/detailnews.php?hm=&hotnewsid=6317&uf=&qu= มมส จัดการแข่งขันกีฬาโฮมหมอเกมส์ ครั้งที่ 8.] เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 6 ตุลาคม 2565.
  22. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๑๑๓/๒๕๕๑. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
  23. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๔๔๕/๒๕๕๔. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
  24. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๑๕๑/๒๕๕๘. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
  25. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๔๘๕/๒๕๖๐. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564
  26. กองกลาง สำนักงานอธิการบดี : คำสังมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ ๑๐๓๕/๒๕๖๒. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564