ก้อย อาหารท้องถิ่นทางภาคอีสาน คล้ายกับลาบและส้มตำ นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ดิบรวมถึงไข่และตัวอ่อนของแมลงที่กินได้ เช่น เนื้อวัว เนื้อกวาง เนื้อเก้ง เนื้อหมูป่า เนื้อปลา (ตะเพียน หรือ ปลาขาว) กุ้งฝอย หอยเชอรี่ กิ้งก่า ไข่มดแดง ไข่แมงมัน ตัวอ่อนตัวต่อเป็นต้น ไม่นิยมปรุงจากเนื้อสัตว์ปีก เช่น นก เป็ด ไก่ เพราะจะมีกลิ่นคาวและเหม็นสาบรุนแรง

ก้อยเนื้อ

ในแง่วัฒนธรรมเพศสภาพ ในสังคมอีสานของประเทศไทยมีการให้ความหมายก้อยว่าเป็นอาหารของผู้ชาย มีคำกล่าวว่า “ชายต้องกินก้อยปลาถ้าไม่อยากนุ่งซิ่น” เนื่องจากเชื่อว่าของดิบเป็น “ของร้อน” ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง[1]

คำว่า "ก้อย" มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน คำว่า 膾 (kuài, ไคว่)

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Joe Cummings: World Food: Thailand. Lonely Planet Publications, Hawthorn 2000, ISBN 1-86450-026-3