กี่เพ้า (จีนกลาง: 旗袍 ฉีผาว, จีนกวางตุ้ง: 旗袍 ฉองซำ, อังกฤษ: Cheongsam หรือ Mandarin gown) เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับสตรีชาวจีน มีลักษณะเหมือนเสื้อ มีชายเสื้อยาวปกคลุมท่อนขา ขนาดพอดีตัว ด้านข้างมีตะเข็บผ่าเพื่อให้ก้าวขาได้สะดวก รูปแบบของฉีผาวในปัจจุบัน ได้รับการปรับปรุงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในเมืองเซี่ยงไฮ้ ให้มีรูปทรงแนบกับสรีระ เพื่อเน้นทรวดทรงของผู้สวมใส่ เป็นแฟชั่นที่นิยมในสังคมคนชั้นสูงของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิง จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง [1] มีการดัดแปลงให้ชายฉีผาวสั้นลง ปรับปรุงแบบคอปก และเนื้อผ้าแบบต่างๆ

ภาพโฆษณาในทศวรรษ 1930 แสดงภาพหญิงจีนในชุดฉีผาว
สตรีในราชสำนักจีน ในยุคราชวงศ์ชิง

ฉีผาว เป็นเครื่องแต่งกายของหญิงแมนจูในยุคราชวงศ์ชิงในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มาจากคำว่า ฉี (, ธง) และ ผาว (, เสื้อ) ในภาษาแต้จิ๋ว ในปี ค.ศ. 1636 ผู้ปกครองจีนในขณะนั้นได้ออกกฎหมายบังคับให้ทุกคน รวมทั้งชาวฮั่นให้แต่งกายและตัดผมแบบแมนจู

ในภาษาอังกฤษเรียกเครื่องแต่งกายแบบนี้ว่า Cheongsam มาจากเสียงอ่าน chèuhngsàam จากภาษากวางตุ้ง ของศัพท์เซี่ยงไฮ้คำว่า zǎnze (長衫, 'long shirt/dress') และเรียกเครื่องแต่งกายในลักษณะเดียวกัน สำหรับเพศชายว่า Changshan (長衫; Chángshān)

อ้างอิง แก้

  1. "Ch'i-p'ao". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2008-11-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้