กีฬาเฟสปิก (อังกฤษ: FESPIC Games) หรือ การแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้ (อังกฤษ: Far East and South Pacific Games for the Disabled) เรียกว่า สหพันธ์กีฬาเฟสปิก เป็นมหกรรมกีฬาหลากหลายชนิด โดยนักกีฬาเป็นผู้พิการจากทั่วเอเชียและโอเชียเนีย เป็นมหกรรมกีฬาคนพิการอันดับสองของโลกรองจากกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games) โดยจัดขึ้นครั้งแรกที่เมือง เบ็บปุ จังหวัดโออิตะ ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โดยมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 973 คน จาก 18 ประเทศ

การแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้
Far East and South Pacific Games for the Disabled
สัญลักษณ์ของสหพันธ์กีฬาเฟสปิก
ชื่อย่อเฟสปิกเกมส์
FESPIC Games
ก่อตั้งครั้งที่ 1 ที่ เบ็บปุ จังหวัดโออิตะ
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดครั้งที่ 9 ที่ กัวลาลัมเปอร์
มาเลเซีย มาเลเซีย
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับภูมิภาคเอเชีย
เว็บไซต์FESPIC สหพันธ์กีฬาเฟสปิก

กีฬาเฟสปิกเกมส์ครั้งที่ 9 จัดขึ้นครั้งสุดท้าย ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)[1] เก็บถาวร 2006-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มีนักกีฬาเข้าร่วม 4,000 คน จากประเทศสมาชิก 46 ประเทศ ชิงชัยกันใน 19 ชนิดกีฬา ก่อนที่ครั้งต่อมา (ค.ศ. 2010) ในการแข่งขันที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากกีฬาเฟสปิกเป็นกีฬาเอเชียนพาราเกมส์ ให้สอดคล้องกับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ รวมถึง การแข่งขันเอเชียนพาราเกมส์ดังกล่าว ยังเป็นการเริ่มนับครั้งที่หนึ่งใหม่อีกด้วย

วัตถุประสงค์ แก้

  • เพื่อสนับสนุนการแสดงออกด้านสามารถทางการกีฬา ของผู้มีความพิการในมวลหมู่ประเทศสมาชิกของสหพันธ์เฟสปิก
  • เพื่อยกระดับความตระหนัก และความเข้าใจของสังคม ที่มีต่อความสามารถ ของบุคคลที่มีความพิการ
  • เพื่อสนับสนุนอุดมคติของสหพันธ์เฟสปิก ในการส่งเสริมให้บุคคลที่มีความพิการได้เข้าร่วมกิจการกีฬา และออกกำลังกายอย่างกว้างขวาง และในขณะเดียวกันจัดให้มีการแข่งขันเพื่อแสดงออกถึงความเป็นเลิศทางกีฬา

ประวัติ แก้

เฟสปิกเกมส์ ถือกำเนิดขึ้นที่ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีคณะบุคคล ที่สนใจในกิจกรรม และ การกีฬา สำหรับคนพิการ ในแถบภาคพื้น เอเชียตะวันออกไกล และแปซิฟิกตอนใต้ โดย ดร. ยูทากะ นาคามุระ ได้ร่วมกันก่อตั้งองค์กรทางกีฬาขึ้น เรียกว่า การแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพื้นตะวันออกไกล และ แปซิฟิกตอนใต้ โดยใช้กิจกรรมและการกีฬาเป็นสื่อ ตลอดจนเพื่อส่งเสริมความเป็นมิตร และความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในกลุ่มคนพิการทั้งหลายทั่วโลก จัดการแข่งขัน 4 ปีต่อครั้ง[1]

ประเทศสมาชิกกีฬาเฟสปิก แก้

ประเภทกีฬาในการแข่งขันครั้งล่าสุด แก้

ประเภทของความพิการ แก้

  • ความพิการทาง แขน - ขา
  • ความพิการทางตา
  • ความพิการทางสมอง
  • กลุ่มคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์
  • ความพิการทางปัญญา

การจัดการแข่งขัน แก้

ครั้งที่ ปี วันที่ เมืองเจ้าภาพ ประเทศเจ้าภาพ ประเทศเข้าร่วม นักกีฬา
1 1974 1-3 มิถุนายน เบ็บปุ จังหวัดโออิตะ   ญี่ปุ่น 18 973
2 1978 20-26 พฤศจิกายน ปาร์รามัตตา   ออสเตรเลีย 16 430
3 1982 31 ตุลาคม-7 พฤศจิกายน ชาติน   ฮ่องกง 23 744
4 1986 31 ตุลาคม-7 พฤศจิกายน สุระคาทา   อินโดนีเซีย 19 834
5 1990 15-20 กันยายน โกเบ   ญี่ปุ่น 41 1,646
6 1994 4-10 กันยายน ปักกิ่ง   จีน 42 2,081
7 1999 10-16 มกราคม กรุงเทพฯ   ไทย 34 2,258
8 2002 26 ตุลาคม-1 พฤศจิกายน ปูซาน   เกาหลีใต้ 40 2,199
9 2006 25 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม กัวลาลัมเปอร์   มาเลเซีย 46 3,641
กีฬาเยาวชนเฟสปิก
1 2003 24-27 ธันวาคม เกาลูน และ ชาติน   ฮ่องกง 15 584

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Chiang, Silas (2010). FESPIC Movement : sports for people with disabilities in Asia and the Pacific (PDF). Hong Kong: Commercial Press. ISBN 978 962 07 6449 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-12.{{cite book}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 2.37 2.38 2.39 2.40 2.41 2.42 2.43 2.44 2.45 2.46 2.47 2.48 2.49 2.50 2.51 2.52 2.53 2.54 2.55 2.56 2.57 2.58 National Paralympic Committees (NPCs), International Paralympic Committee (IPC)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้