กีวิกซ์ (อังกฤษ: Kiwix) เป็นเว็บเบราว์เซอร์แบบออฟไลน์ที่แจกจ่ายแบบซอฟต์แวร์เสรีและโอเพนซอร์สที่สร้างขึ้นโดยเอ็มมานูเอล เองกิลฮาร์ต และเรโนด์ โกดอง ในปี ค.ศ. 2007 [3] ซึ่งได้รับการเปิดตัวครั้งแรกเพื่อให้สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียแบบออฟไลน์ แต่ก็ได้ขยายไปยังโครงการอื่น ๆ ของมูลนิธิวิกิมีเดีย ตลอดจนตำราสาธารณสมบัติของโครงการกูเทนแบร์ก โดยสามารถใช้ได้ในกว่า 100 ภาษา กีวิกซ์ได้รับการรวมอยู่ในโครงการโปรไฟล์ระดับสูงหลายโครงการ จากปฏิบัติการลักลอบนำเข้าในประเทศเกาหลีเหนือ[4] ไปยังผู้รับห้องสมุดไร้พรมแดนของโครงการกูเกิลอิมแพ็คชาลเลนจ์[5]

กีวิกซ์
นักพัฒนาเอ็มมานูเอล เองกิลฮาร์ต,
เรโนด์ โกดอง
รุ่นทดลอง
0.9 / 1 พฤศจิกายน 2014; 9 ปีก่อน (2014-11-01)[1]
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์, โอเอสเทน, ลินุกซ์
แพลตฟอร์มไอเอ-32, เอกซ์86-64
ขนาด30.6 เมกะไบต์ – 106 เมกะไบต์[1]
ภาษา100 ภาษา[1]
สัญญาอนุญาตจีพีแอล รุ่น 3
เว็บไซต์www.kiwix.org Edit this on Wikidata
กีวิกซ์สำหรับแอนดรอยด์
รุ่นเสถียร
1.95 / 2 สิงหาคม 2015; 8 ปีก่อน (2015-08-02)[1]
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ขนาด6.2 เมกะไบต์
เว็บไซต์ปิดบัง
กีวิกซ์สำหรับไอโอเอส
ผู้ออกแบบเอ็มมานูเอล เองกิลฮาร์ต, เรโนด์ โกดอง
รุ่นเสถียร
1.0 / 11 สิงหาคม 2015; 8 ปีก่อน (2015-08-11)[2]
ที่เก็บข้อมูล
ระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์, วินโดวส์, ลินุกซ์, โอเอสเทน
ขนาด48.3 เมกะไบต์
เว็บไซต์ปิดบัง

ประวัติ แก้

 
รางวัลสวิตเซอร์แลนด์โอเพนซอร์ซของกีวิกซ์ (ค.ศ. 2015)

หลังจากที่มาเป็นผู้เขียนวิกิพีเดียในปี ค.ศ. 2004 เอ็มมานูเอล เองกิลฮาร์ต ก็ได้หันมาสนใจต่อการพัฒนาเวอร์ชันออฟไลน์ของวิกิพีเดีย ซึ่งมีโครงการที่จะทำแผ่นซีดีวิกิพีเดียที่เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2003 เป็นสิ่งกระตุ้นสำหรับโครงการ[3]

ในปี ค.ศ. 2012 กีวิกซ์ได้รับทุนรางวัลจากวิกิมีเดียฝรั่งเศสสำหรับการสร้างกีวิกซ์-ปลั๊ก[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งได้รับการนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยสิบเอ็ดประเทศในโครงการแอฟริพีเดีย[6][7]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 กีวิกซ์ได้รับรางวัลโครงการแห่งเดือนของซอร์ซฟอร์จ[8]

นอกจากนี้ กีวิกซ์ยังได้รับรางวัลสวิตเซอร์แลนด์โอเพนซอร์ซในปี ค.ศ. 2015 [9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Kiwix". SourceForge. สืบค้นเมื่อ 22 March 2012.
  2. Kiwix iTunes page
  3. 3.0 3.1 Joe Sutherland: Emmanuel Engelhart, Inventor of Kiwix: the Offline Wikipedia Browser. In: Wikimedia Blog. 12. September 2014. Accessed on 26 November 2014.
  4. "The plot to free North Korea with smuggled episodes of "Friends"". สืบค้นเมื่อ 27 April 2016.
  5. "Les Lauréats du Google Impact Challenge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-02. สืบค้นเมื่อ 27 April 2016.
  6. Citazine article on Afripedia (in French)
  7. Traoré, Kardiatou. "Afripédia : un projet de promotion de Wikipédia en Afrique". www.afrik.com. สืบค้นเมื่อ 2016-03-08.
  8. "Kiwix Aims to spread Wikipedia's Reach". Slashdot.org. 2013-02-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-02. สืบค้นเมื่อ 2013-07-10.
  9. "OSS Awards küren Schweizer Open-Source-Projekte". Netzwoche. สืบค้นเมื่อ 2015-12-08.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้