กิ้งก่าแผงคอ
แผ่แผงคอ
เมื่อเวลาปกติ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Agamidae
วงศ์ย่อย: Agaminae
สกุล: Chlamydosaurus
Gray, 1827
สปีชีส์: C.  kingii
ชื่อทวินาม
Chlamydosaurus kingii
Gray, 1827
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

กิ้งก่าแผงคอ (อังกฤษ: Frill-necked lizard, Frilled lizard, Frilled dragon) สัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydosaurus kingii เป็นกิ้งก่าเพียงชนิดเดียวในสกุล Chlamydosaurus [2]

ลักษณะ แก้

มีรูปร่างเหมือนกิ้งก่าทั่วไป สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลเขียว มีจุดเด่นก็คือ มีแผงคอที่สามารถแผ่ออกได้กว้างครอบหัวเวลาตกใจหรือขู่ศัตรู อีกทั้งยังสามารถวิ่งได้ด้วยขาหลังเพียง 2 ขาด้วยความเร็ว เมื่อหนีศัตรู มีนิ้วทั้งหมด 5 นิ้ว มีเล็บแหลมคม หางเรียวยาว

มีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร โตเต็มที่ในธรรมชาติ 35 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย, ปาปัวนิวกินี กิ้งก่าแผงคอใช้ชีวิตกว่าร้อยละ 90 อยู่บนต้นไม้ โดยเกาะอยู่นิ่ง ๆ ตามลำต้นหรือกิ่งต้นไม้ แต่จะหาอาหารซึ่งเป็นแมลงบนพื้นกินเท่านั้น โดยสามารถมองเห็นอาหารจากบนต้นไม้ได้ไกลถึง 3 เมตร โดยการอยู่บนต้นไม้ทำไปเพื่อหลบหลีกศัตรู เมื่อพบศัตรูหรือสิ่งมาคุกคามแล้ว จะวิ่งหนีขึ้นต้นไม้และจะเกาะอยู่นิ่ง ๆ ทำตัวให้ลีบเล็กที่สุดและปรับเปลี่ยนสีให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม[3]

กิ้งก่าแผงคอจัดเป็นกิ้งก่าชนิดหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจ จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ รวมทั้งเคยมีการสร้างเป็นตัวละครในภาพยนตร์ต่าง ๆ ด้วย เช่น กิ้งก่ากายสิทธิ์ ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง กิ้งก่ากายสิทธิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2528 จากการสร้างสรรค์ของ สมโพธิ แสงเดือนฉาย หรือ ไดโนเสาร์ชนิด ไดโลโฟซอรัส (Dilophosaurus) ในเรื่อง Jurassic Park เมื่อปี พ.ศ. 2536 ที่สามารถแผ่แผงคอและพ่นพิษได้ใส่เหยื่อ[4]

บทบาท แก้

กิ้งก่าแผงคอนี้นยังเคยเป็นหนึ่งในแมสคอทประจำการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก 2000 ที่จัดภายหลังโอลิมปิก 2000 ที่ออสเตรเลียด้วย โดยแมสคอทตัวนี้มีชื่อว่า "ลิซซี่" (Lizzie[5])

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. ITIS
  3. "สารคดี BBC : อัศจรรย์แดนจิงโจ้ ตอนที่ 7 คลิป 1/2". ช่อง 7. 6 November 2014. สืบค้นเมื่อ 6 November 2014.
  4. Bennington, J Bret (1996). "Errors in the Movie "Jurassic Park"". American Paleontologist 4 (2): 4–7.
  5. "A Brief History of the Olympic and Paralympic Mascots". Beijing2008. 5 August 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-21. สืบค้นเมื่อ 25 October 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chlamydosaurus kingii ที่วิกิสปีชีส์