การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 6 ของประเทศไทย มีขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 สืบเนื่องจากการที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รัฐประหารตัวเองในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยอ้างเหตุว่า รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2492 ที่ใช้อยู่ขณะนั้นไม่สะดวกแก่การบริหารประเทศชาติ และไปใช้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2475 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแทน โดยได้แก้ไขเพิ่มเติม ในปี พ.ศ. 2495 ส่งผลให้ฝ่ายนิติบัญญัติกลับมามีสภาเดียว ประกอบด้วยสมาชิกสภา 2 ประเภท โดยคณะรัฐประหารได้แต่งตั้งบุคคลในคณะและข้าราชการทหาร พลเรือน เป็นสมาชิกสภาประเภทที่ 2 ทำหน้าที่เป็นผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกสภาประเภทที่ 1 ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495

← พ.ศ. 2492 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 →

123 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 62 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ38.36% เพิ่มขึ้น
  First party
 
พรรค อิสระ
ที่นั่งที่ชนะ 123

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

แปลก พิบูลสงคราม
ธรรมาธิปัตย์

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

แปลก พิบูลสงคราม
ธรรมาธิปัตย์

ผลการเลือกตั้งทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 123 คน โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 7,602,591 คน มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 2,961,291 คน คิดเป็นร้อยละ 38.36 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสระบุรี คิดเป็นร้อยละ 77.78 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดพระนคร คิดเป็นร้อยละ 23.03 [1]

ก่อนการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่นาน พรรคฝ่ายค้าน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้และไม่ร่วมสังฆกรรมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ กับรัฐบาลมาตั้งแต่รัฐประหาร สมาชิกพรรคคนสำคัญ ๆ ได้แก่ นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรค และหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช รองหัวหน้าพรรค ไม่ร่วมลงรับสมัครเลือกตั้ง โดยเฉพาะม.ร.ว.เสนีย์ นั้นถึงกับยุติบทบาททางการเมืองไปเลย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2511 ถึงได้หวนคืนกลับมารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค หลังการถึงแก่อสัญกรรมของนายควง หัวหน้าพรรคคนแรก แต่ก็มีสมาชิกพรรคหลายคนลงรับสมัครเลือกตั้งครั้งนี้ เพียงแต่มิได้ลงรับสมัครในนามของพรรค สมาชิกพรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ได้แก่ นายไถง สุวรรณทัต จังหวัดธนบุรี, นายเทียม ไชยนันทน์ จังหวัดตาก, นายถัด พรหมมาณพ จังหวัดพัทลุง, นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ จังหวัดลำปาง, นายคล้าย ละอองมณี จังหวัดสงขลา และ พันตำรวจตรี หลวงเจริญตำรวจการ จังหวัดอุทัยธานี[2] [3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
  2. หน้า 197, นายควง อภัยวงศ์ กับ พรรคประชาธิปัตย์ โดย ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม (พ.ศ. 2522)
  3. หน้า 109, มาร์ค เขาชื่อ...อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดย สำนักพิมพ์วิถีไทย (พ.ศ. 2548) ISBN 974-93358-1-3