การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศตองงา พ.ศ. 2553

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศตองงา พ.ศ. 2553 เป็นการเลือกตั้งภายใต้กฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[2] เพื่อเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติตองงาจำนวน 26 ที่นั่ง

การเลือกตั้งทั่วไปในประเทศตองงา พ.ศ. 2553

← 2008 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 2014 →

19 (ต่อ 26) ที่นั่งในสภานิติบัญญัติ
  First party Second party
 
ผู้นำ ซีอาเลอาตาโอโง ตูอีวากาโน ʻAkilisi Pohiva
พรรค ไม่มี Democratic Party of the Friendly Islands
เขตของผู้นำ Tongatapu (Nobles) Tongatapu 1
เลือกตั้งล่าสุด 12 ที่นั่ง, 54.09% [1] ไม่เคยร่วม
ที่นั่งที่ชนะ 14 12
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง 3 เพิ่มขึ้น 3
คะแนนเสียง 25,873 10,953
% 67.30% 28.49%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

เฟเลติ เซเวเล
Democratic Party of the Friendly Islands

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

ซีอาเลอาตาโอโง ตูอีวากาโน
ไม่มี

การเลือกตั้งได้รับการประกาศโดยสมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูโปอูที่ 5 แห่งตองงา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ไม่นานก่อนทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551[3][4] และนำโดยโครงการการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ[5] การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่สมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ (17 จาก 26) มาจากการเลือกตั้งโดยทั่วถึงของประชาชน ในขณะที่อีก 9 ที่นั่งสำรองไว้สำหรับสมาชิกชนชั้นสูงของตองงา นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญตั้งแต่การปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์อันยาวนานกว่า 165 ปีมุ่งหน้าไปยังประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนอย่างเต็มตัว[6]

พรรคประชาธิปไตยหมู่เกาะแห่งมิตรภาพ ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เป็นพรรคที่ก่อตั้งมาเพื่อรับสมัครการเลือกตั้งคราวนี้โดยเฉพาะ ภายใต้การนำของทหารผ่านศึกนิยมประชาธิปไตย โปฮิวา กวาดที่นั่งไปได้มากที่สุดถึง 12 จาก 17 ที่นั่ง[7]

เบื้องหลัง แก้

ก่อนหน้าการเลือกตั้งคราวนี้ สมาชิกรัฐสภาตองงาล้วนมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เป็นส่วนใหญ่ และยังทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอีกด้วย[8][6] มีเพียง 9 จาก 30 ที่นั่งเท่านั้น และอีก 9 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งภายในสมาชิกของชนชั้นสูง

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 รัฐสภาได้ออกโครงการปฏิรูปทางการเมือง โดยเพิ่มจำนวนผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนขึ้นจาก 9 ที่นั่งเป็น 17 ที่นั่ง[9] โดย 10 ที่นั่งมาจากโตงาตาปู 3 ที่นั่งจากวาวาอู 2 ที่นั่งจากฮาอะไป และ 1 ที่นั่งจาก Niuas เช่นเดียวกับอัว[10] ที่นั่งทั้งหมดมาจากการเลือกตั้งเขตละคน ซึ่งแตกต่างจากการเลือกตั้งแบบเขตละหลายคนที่เคยใช้มาในอดีต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ 65.4% ของสมาชิกรัฐสภาได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน[11][12] ส่วนชนชั้นสูงจะยังคงสามารถเลือกผู้แทนของตนได้ 9 คน แต่การแต่งตั้งผู้แทนของพระมหากษัตริย์จะถูกยกเลิกไป[12]

การเลือกคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีเคยเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่คราวนี้ สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจะลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี[6]

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากความตระหนักถึงการประท้วงนิยมประชาธิปไตยเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549[12][13] ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน และเขตเศรษฐกิจจำนวนมากของตองงาลาปูถูกทำลายเมื่อผู้ชุมนุมได้ประท้วงต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิรูปทางการเมืองที่เชื่องช้า[14] การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพระมหากษัตริย์[15]

การเลือกตั้ง แก้

การลงทะเบียนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม โดยมีผู้ลงคะแนนถึง 42,000 คนได้มาลงทะเบียน[16][8] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ศูนย์วิกฤตการณ์สตรีและเด็กได้แสดงความกังวลที่ว่ามากถึง 40% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอาจไม่สามารถลงทะเบียนได้[17]

ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งมีการลงทะเบียนระหว่างวันที่ 21-22 ตุลาคม โดยมีผู้ลงสมัคร 147 คนใน 17 เขตเลือกตั้ง[18] เขตเลือกตั้งโตงาตาปู 6 และ 9 เป็นเขตที่มีการแข่งขันมากที่สุด ถึงเขตละ 15 คน ในขณะที่บางเขตเลือกตั้งมีผู้ลงสมัครเพียง 3 คน ผู้ลงสมัครในจำนวนนี้มี 10 คนที่เป็นสตรี[19] และมีเพียง 3 คนที่มาจากคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเท่านั้นที่ลงสมัครในคราวนี้ด้วย[20]

ในการลงสมัคร ผู้ลงสมัครจะต้องจ่ายเงินจำนวน 400 พาแองกาเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมการสมัคร และแสดงรายมือชื่อของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 50 คนเพื่อสนับสนุนการเป็นผู้ลงสมัครของพวกเขา[21] เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบกลายมาเป็นความจำเป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการรณรงค์เลือกตั้งคราวนี้[13]

สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จ ตูโปอู ที่ 5 แห่งตองงา ได้ตรัสเรียกการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าเป็น "วันแห่งประวัติศาสตร์และความยิ่งใหญ่สูงสุดของราชอาณาจักร"[22] และ "พวกท่านจะได้เลือกตัวแทนของตนเองให้เข้าไปนั่งในรัฐสภา ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้จึงจะนำไปสู่รัฐบาลชุดแรกในประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศเรา ซึ่งมีที่มาจากเสียงของประชาชน"[13]

ผลที่ตามมา แก้

เมื่อผลการเลือกตั้งได้รับการสรุป สมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจะเลือกนายกรัฐมนตรี ชาวตองงาซึ่งมีวัฒนธรรมอันยาวนานที่มองหาชนชั้นสูงเป็นผู้นำ ได้คาดหวังว่านายกรัฐมนตรีจะเป็นชนชั้นสูงด้วย[8] แต่หลังจากการเลือกตั้ง ผู้แทนชนชั้นสูงได้ประกาศว่าพวกเขาจะสนับสนุนให้สามัญชนเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี[23] ภายใต้การปฏิรูปครั้งใหม่นี้ รัฐสภามีเวลาหนึ่งเดือนที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีและตั้งรัฐบาล[14]

ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปไตยหมู่เกาะแห่งมิตรภาพ ได้รับชัยชนะถึง 12 จาก 17 ที่นั่ง เกือบถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด[24][25][26] ถึงแม้ว่าพรรคจะได้รับคะแนนเสียงเพียงหนึ่งในสามของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด ผู้สมัครอิสระได้รับคะแนนเสียงรวมกันถึงสองในสาม แต่มีเพียง 5 ที่นั่งเท่านั้นที่ได้รับเลือก

อ้างอิง แก้

  1. Includes nobles and peer members who were appointed by the King of Tonga.
  2. "Civics education vital ahead of Tonga election, says advocate". Radio New Zealand International. 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  3. "Tonga's king to cede key powers". BBC. 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  4. "His Majesty King George Tupou V- A Monarch for a time of change". Fiji Daily Post. 2008-07-28. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  5. "Commission pessimistic over ability of Assembly to meet 2010 election deadline". Matangi Tonga. 2009-11-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-05. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Strong showing for Tonga democrats in election". BBC News. British Broadcasting Corporation. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.
  7. Malkin, Bonnie (27 November 2010). "King prepares to hand over powers after election in Tonga". Sydney Morning Herald. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ 26 November 2010.
  8. 8.0 8.1 8.2 Agence France-Presse (2010-11-24). "Tonga set for landmark vote". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  9. "Tonga Parliament enacts political reforms". Radio New Zealand International. 2010-04-15. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  10. "Tonga parliament votes on amended boundaries". Radio New Zealand International. 2010-04-20. สืบค้นเมื่อ 2010-04-21.
  11. "Tonga's pro-democracy movement hails assembly reform". Radio New Zealand International. 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-22.
  12. 12.0 12.1 12.2 Dorney, Sean (2010-11-24). "Tonga prepares for historic poll". Australia Network News. Australian Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Tonga Democrats 'leading' in polls". Al Jazeera. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  14. 14.0 14.1 Agence France-Presse (2010-11-26). "No clear winner in Tonga's first election". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.
  15. Hill, Bruce (2010-11-22). "Tongan monarch voices support for elections". Radio Australia; Austalian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  16. "Registration closes with over 40,000 Tongan voters". Matangi Tonga. 2010-09-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.[ลิงก์เสีย]
  17. "Huge numbers failed to register for Tonga election, says woman advocate". Radio New Zealand International. 2010-11-01. สืบค้นเมื่อ 2010-11-01.
  18. "147 candidates for November Election". Matangi Tonga. 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.[ลิงก์เสีย]
  19. "Ten women contesting Tonga poll". Radio New Zealand International. 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
  20. "Tonga health minister standing in elections to ensure continuity". Radio New Zealand International. 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-10-25.
  21. "Parliamentary candidates to register in October". Matangi Tonga. 2010-09-03. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.[ลิงก์เสีย]
  22. The Associated Press (2010-11-25). "Tongans vote for majority of parliamentarians". CTV News. CTV Globe Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-28. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  23. "Tonga names noble MPs who say prime minister should come from the people's representatives". Radio New Zealand International. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-25.
  24. "Pro-democracy party in Tonga big winner in general elections". Radio New Zealand International. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26..
  25. "Tongatapu results". Matangi Tonga. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.[ลิงก์เสีย]
  26. "Outer island results". Matangi Tonga. 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26.[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม แก้