การเป็นพิษจากไซยาไนด์

การเป็นพิษจากไซยาไนด์ (อังกฤษ: Cyanide poisoning) เป็นภาวะการเป็นพิษอย่างหนึ่งที่เกิดจากการได้รับสารไซยาไนด์ในรูปแบบต่างๆ[4] อาการในช่วงแรกอาจปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก และอาเจียนได้[2] หลังจากนั้นอาจมีอาการชัก หัวใจเต้นช้า ความดันเลือดต่ำ หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นได้[2] ผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการในเวลาไม่กี่นาทีหลังได้รับสาร[2][3] หากรอดชีวิตก็ยังอาจมีผลแทรกซ้อนระยะยาวทางระบบประสาทตามมาได้[2]

การเป็นพิษจากไซยาไนด์
ชื่ออื่นCyanide poisoning, cyanide toxicity, hydrocyanic acid poisoning[1]
ไอออนของไซยาไนด์
สาขาวิชาพิษวิทยา, เวชบำบัดวิกฤต
อาการระยะแรก: ปวดศีรษะ มึนงง หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก อาเจียน[2]
ระยะหลัง: ชัก หัวใจเต้นช้า ความดันเลือดต่ำ หมดสติ หัวใจหยุดเต้น[2]
การตั้งต้นFew minutes[2][3]
สาเหตุCyanide compounds[4]
ปัจจัยเสี่ยงHouse fire, metal polishing, certain insecticides, eating seeds from apples[3][2]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms, high blood lactate[2]
การรักษาDecontaminated, supportive care (100% oxygen), hydroxocobalamin[2][3][5]

สารประกอบที่มีไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบและเป็นพิษที่สำคัญเช่นก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ และเกลือไซยาไนด์บางชนิด[2] การเป็นพิษจากไซยาไนด์ที่พบบ่อยมักเกิดตามหลังการหายใจในควันที่เกิดจากไฟไหม้บ้าน[2] ช่องทางอื่นเช่นการได้รับสารในสถานที่ทำงานเช่นยาขัดโลหะ ยาฆ่าแมลงบางชนิด ยาไนโตรพรัสไซด์ เมล็ดพืชบางชนิด เช่น เมล็ดแอปเปิล เมล็ดแอปปริคอต[3][6][7] และมันสำปะหลังที่ปรุงไม่ถูกวิธี[8] ไซยาไนด์ในรูปของเหลวอาจถูกดูดซึมผ่านผิวหนังได้[9] ไอออนของไซยาไนด์จะเข้าไปรบกวนการหายใจระดับเซลล์ ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้[2]

การวินิจฉัยโดยทั่วไปทำได้ยาก[2] แพทย์อาจสงสัยเมื่อผู้ป่วยที่ประสบเหตุไฟไหม้บ้านมีอาการซึมลง ความดันเลือดต่ำ กรดแลคเตตในเลือดสูง[2] ห้องปฏิบัติการสามารถตรวจหาระดับไซยาไนด์ในเลือดได้แต่มักต้องใช้เวลานาน[2]

อ้างอิง แก้

  1. Waters, Brenda L. (2010). Handbook of Autopsy Practice (ภาษาอังกฤษ) (4 ed.). Springer Science & Business Media. p. 427. ISBN 9781597451277.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 Anseeuw, K; Delvau, N; Burillo-Putze, G; De Iaco, F; Geldner, G; Holmström, P; Lambert, Y; Sabbe, M (February 2013). "Cyanide poisoning by fire smoke inhalation: a European expert consensus". European Journal of Emergency Medicine. 20 (1): 2–9. doi:10.1097/mej.0b013e328357170b. PMID 22828651.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Hamel, J (February 2011). "A review of acute cyanide poisoning with a treatment update". Critical care nurse. 31 (1): 72–81, quiz 82. doi:10.4037/ccn2011799. PMID 21285466. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Ham2011" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. 4.0 4.1 Dorland's Illustrated Medical Dictionary (ภาษาอังกฤษ) (32 ed.). Elsevier Health Sciences. 2011. p. 1481. ISBN 1455709859. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  5. Thompson, JP; Marrs, TC (December 2012). "Hydroxocobalamin in cyanide poisoning". Clinical Toxicology. 50 (10): 875–85. doi:10.3109/15563650.2012.742197. PMID 23163594.
  6. Hevesi, Dennis (26 March 1993). "Imported Bitter Apricot Pits Recalled as Cyanide Hazard". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2 June 2017.
  7. "Sodium Nitroprusside". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  8. "มันสำปะหลัง: การใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง". สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 16. สืบค้นเมื่อ 13 September 2020. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= และ |year= / |date= ไม่ตรงกัน (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  9. "Hydrogen Cyanide – Emergency Department/Hospital Management". CHEMM. 14 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก