การเชื่อฟัง (อังกฤษ: obedience) เป็น "รูปแบบของอิทธิพลทางสังคมซึ่งบุคคลยินยอมตามการสอนหรือคำสั่งจากผู้มีอำนาจอย่างชัดเจน"[1][2] การเชื่อฟังต่างจากการยอมตาม (compliance) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากผู้เท่าเทียมกัน (peer) และจากความลงรอยกัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ตั้งใจให้เหมือนกับพฤติกรรมของส่วนใหญ่

มนุษย์ได้แสดงให้เห็นว่า เชื่อฟังอย่างน่าประหลาดใจในการกระทำต่อหน้าผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่รับรู้ได้ ดังที่แสดงโดยการทดลองของมิลแกรมในคริสต์ทศวรรษ 1960 การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า การเชื่อฟังต่อผู้มีอำนาจเป็นบรรทัดฐาน มิใช่ข้อยกเว้น สแตนลีย์ มิลแกรม ผู้ทำการทดลอง กล่าวว่า "การเชื่อฟังนั้นเป็นส่วนประกอบพื้นฐานในโครงสร้างของชีวิตสังคมพอ ๆ กับที่คนหนึ่งสามารถบอกได้ ระบบอำนาจหน้าที่บางระบบเป็นสิ่งต้องการของการดำรงชีวิตในสังคม และมีเพียงคนที่อาศัยอยู่เดี่ยว ๆ เท่านั้นที่ไม่ถูกบังคับให้สนองต่อคำสั่งของผู้อื่น ผ่านการท้าทายหรือความอ่อนน้อม"[3]

อ้างอิง แก้

  1. Abate, Frank R. (Ed.). (1997).
  2. Coleman, A. "Oxford Dictionary of Psychology". สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012.
  3. Milgram, Stanley. (1963). "Behavioral Study of Obedience" เก็บถาวร 2006-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Journal of Abnormal and Social Psychology 67, 371–8.