การถอนทัพที่เดิงแกร์ก

(เปลี่ยนทางจาก การอพยพดันเคิร์ก)

การถอนทัพที่เดิงแกร์ก (อังกฤษ: Dunkirk evacuation) หรือชื่อเยอรมันคือ ปฏิบัติการไดนาโม (เยอรมัน: Operation Dynamo) หรือรู้จักกันในนาม ปาฏิหาริย์แห่งเดิงแกร์ก เป็นการอพยพทหารฝ่ายสัมพันธมิตรจากหาดและท่าเรือเดิงแกร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคมถึงเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940 เพราะหน่วยทหารบริติช ฝรั่งเศสและเบลเยียมถูกกองทัพเยอรมันตัดขาดระหว่างยุทธการที่เดิงแกร์กในสงครามโลกครั้งที่สอง[7][8] มีคำสั่งอพยพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม[9] วินสตัน เชอร์ชิลล์กล่าวสุนทรพจน์ "เราจะสู้บนหาด" (We shall fight on the beaches) ต่อสภาสามัญชนเรียกเหตุการณ์ในประเทศฝรั่งเศสว่า "หายนะทางการทหารที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์"[10] เขายกย่องการช่วยเหลือทหารเหล่านี้ว่าเป็น "ปาฏิหาริย์การปลดปล่อย"[11]

การถอนทัพที่เดิงแกร์ก / ปฏิบัติการไดนาโม
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่สอง
วันที่26 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายน ค.ศ.1940
สถานที่51°02′N 2°22′E / 51.033°N 2.367°E / 51.033; 2.367
ผล

ปฏิบัติการสำเร็จ

  • เคลื่อนย้ายทหารทั้งหมด 338,226 นาย
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท

ตั้งแต่วันที่ 28–31 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เหตุการณ์ซึ่งรู้จักกันในชื่อ การล้อมที่ลีลเกี่ยวข้องกับกำลังพลที่เหลืออยู่ 40,000 คน แห่งกองทัพฝรั่งเศสที่หนึ่งซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกรียงไกร ในการปฏิบัติอันล่าช้าต่อเจ็ดกองพันของเยอรมนี ซึ่งรวมสามกองพันยานเกราะ ที่กำลังพยายามตัดขาดและทำลายกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่เดิงแกร์ก เชอร์ชิลล์ว่า "เป็นช่วงเวลา 4 วันวิกฤตที่บุรุษชาวฝรั่งเศสเหล่านี้ ภายใต้การนำอย่างกล้าหาญของนายพลมอลีนีเยร์ สามารถยันพวกเยอรมันไว้ได้ไม่น้อยกว่า 7 กองพลที่อาจไปร่วมวงที่เดิงแกร์ก นี่คือผลงานอันยอดเยี่ยมที่เปิดทางให้บรรดาสหายซึ่งมีโชคกว่าตลอดจนกองทหารบริติชสามารถหนีรอดได้"[12]

ทหารอังกฤษหลังอพยพมาถึงเกาะบริเตนใหญ่

ในวันแรก มีทหารได้รับการอพยพเพียง 7,011 นาย แต่ ในวันที่เก้า ทหารทั้งสิ้น 338,226 นาย (เป็นทหารบริติช 198,229 นาย ทหารฝรั่งเศส 139,997 นาย)[13] ได้รับการช่วยเหลือจากกองเรือ 993 ลำที่ประชุมอย่างเร่งด่วน หน่วยทหารจำนวนมากสามารถลงเรือจากกำแพงหินของท่าเรือสู่เรือประจัญบานและเรือใหญ่อื่นของบริติช 42 ลำ ขณะที่หน่วยทหารอื่น ๆ ต้องลุยน้ำหาเรือ รอหลายชั่วโมงเพื่อขึ้นเรือในน้ำที่สูงถึงไหล่ บางหน่วยโดยสารเรือจากหาดสู่เรือลำใหญ่กว่า และทหารหลายพันคนถูกพากลับสหราชอาณาจักรโดย "กองเรือน้อยแห่งเดิงแกร์ก" (little ships of Dunkirk) อันขึ้นชื่อ ซึ่งเป็นกองเรือเดินสมุทรพาณิชย์ เรือประมง เรือเพื่อสันทนาการ และเรือกู้ชีพของสถาบันเรือกู้ชีพแห่งชาติราวเจ็ดร้อยลำ ซึ่งลูกเรือพลเรือนของเรือเหล่านี้ถูกเรียกเข้ารับราชการเป็นการฉุกเฉิน "ปาฏิหารย์แห่งเรือน้อย" ยังเป็นความทรงจำพื้นบ้านที่โดดเด่นในสหราชอาณาจักร[14][15]

อ้างอิง แก้

  1. Biswas 2017.
  2. Shephard 2003, p. 169.
  3. 3.0 3.1 Sweeting 2010.
  4. McIntyre 2017.
  5. Encyclopædia Britannica.
  6. Ellis 2004, p. 197.
  7. "1940: Dunkirk rescue is over – Churchill defiant." BBC, 2008. Retrieved 25 July 2010.
  8. Longden 2009, p. 1.
  9. Longden 2009, p. 48.
  10. Winston Churchill 2003, p. 212.
  11. Safire 2004, p. 146.
  12. Winston Churchill 1949, p. 86.
  13. Taylor 1965
  14. Knowles, David J. "The 'miracle' of Dunkirk". BBC News, 30 May 2000. Retrieved 18 July 2009.
  15. "History". The Association of Dunkirk Little Ships. Retrieved 11 April 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 51°02′N 2°22′E / 51.033°N 2.367°E / 51.033; 2.367