การส่งออก (อังกฤษ: export) หมายถึง การจัดส่งสินค้าและบริการจากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ โดยผู้ส่งสินค้าหรือบริการออกเรียกว่า "ผู่ส่งออก" ส่วนในทางการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกหมายถึง การขายสินค้าและบริการในประเทศไปสู่ตลาดอื่น (ตลาดสากล)

ในการส่งออกและนำเข้าซึ่งสินค้าจะต้องมีหน่วยงานที่ต้องเกี่ยวข้องด้วยคือ กรมศุลกากร แม้ว่าจะเป็นการนำเข้าหรือส่งออกผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตเองก็จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกรมศุลการกรด้วย และที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้กฎหมายการนำเข้าและส่งออกของประเทศนั้น ๆ[1]

ความสำคัญของการส่งออกในประเทศไทย แก้

ในประเทศไทยมักพบว่าสินค้าทางการเกษตรเกินอุปทานของตลาดในประเทศอยู่เสมอ การส่งออกจึงเหมือนเป็นการลดปริมาณสินค้าที่เกินความต้องการของตลาดลง และในภาคอุตสาหกรรมมีบริษัทที่ผลิตสินค้าที่ต่างประเทศต้องการโดยเฉพาะ อาทิ สินค้าทางเกษตรบางประเภท สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี พ.ศ. 2555 พบว่าไทยมีรายได้จากการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนออกสูงถึง 831,752.3 ล้านบาท โดยตลาดการส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน อาเซียนและยุโรป ดังนั้นการส่งออกจึงช่วยให้เกิดการขยายการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย[2][3]

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้ แก้

1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงาน

2. ช่วยในการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ

3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากร (Value Added)

5. เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตลง (Economy of Scale)

6. ช่วยสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

7. ช่วยลดการพึ่งพิงสินค้าจากต่างประเทศ

การอ้างอิง แก้

  1. Joshi, Rakesh Mohan, (2005) International Marketing, Oxford University Press, New Delhi and New York ISBN 0-19-567123-6
  2. ความสำคัญของการส่งออกจากเว็บไซต์ Nidambe11.com เก็บถาวร 2012-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09.59 น.
  3. มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปีพ.ศ. 2555 จากเว็บไซต์ ThaiBiz.netสืบค้นวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10.11 น.