การสืบหาผู้กระทำ

การสืบหาผู้กระทำ (อังกฤษ: agent detection) เป็นความโน้มเอียงของสัตว์รวมทั้งมนุษย์ที่จะเชื่อว่า มีการกระทำอย่างตั้งใจของสัตว์/บุคคล (agent) ซึ่งอาจมีจริงหรือไม่มีจริงในสถานการณ์นั้น 

กำเนิดทางวิวัฒนาการ แก้

เชื่อกันว่า มนุษย์วิวัฒนาการลักษณะการสืบหาผู้กระทำขึ้นโดยเป็นยุทธวิธีรอดชีวิต คือในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนว่ามีผู้กระทำหรือไม่ (เช่น ศัตรูหรือสัตว์ล่าเหยื่อ) การสมมุติว่ามีผู้กระทำอาจช่วยให้รอดชีวิตได้เพราะสามารถระวังตัว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเจอรอยเท้าที่พื้นซึ่งอาจเป็นรอยของสิงโต การผิดพลาดโดยคิดว่ามีสิงโตมีประโยชน์เพราะทำให้ระวังตัว[1]

นักจิตวิทยาได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้ว่า[2]

บทวิจารณ์ - เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก การหนีเลยเร็วกว่า แก้

เพราะต้องเสียเวลาคิดว่าทำไมสิ่งเร้าหนึ่ง ๆ จึงมี เทียบกับการตอบสนองแบบง่าย ๆ ที่ใช้เวลาน้อยกว่ามาก นักชีววิทยาวิวัฒนาการบางพวกจึงวิจารณ์ข้อสมมุติว่า การสืบหาผู้กระทำเพิ่มสมรรถภาพการหนีจากสัตว์ล่าเยื่อ เพราะการหนีให้เร็วสำคัญในการรอดชีวิตอย่างยิ่ง พวกเขาระบุว่า การตอบสนองแบบง่าย ๆ ต่อสิ่งเร้าที่ไม่ต้องอ้อมไปเดาว่าอะไรเป็นเหตุ เช่น วิ่งหนีจากรอยเท้าที่มีรูปแบบบางอย่างหรือจากลูกตาที่เห็น โดยเกิดเพราะรีเฟล็กซ์ง่าย ๆ และไม่ต้องใช้เวลาสัมพันธ์กับสัตว์ล่าเหยื่อ จะได้การคัดเลือกโดยธรรมชาติเพราะลดขั้นตอนไปอย่างหนึ่งและดังนั้น จึงลดเวลาลงด้วย แล้วสรุปว่า ไม่ต้องมีกลไกลพิเศษในสมองเพื่อสืบหาผู้กระทำ[3][4]

บทบาททางศาสนา แก้

นักวิทยาศาสตร์บางพวกสันนิษฐานว่า ความเชื่อในเรื่องพระเป็นเจ้า/เทวดาผู้สร้างเป็นผลพลอยได้ทางวิวัฒนาการของการสืบหาผู้กระทำ[5] คำอังกฤษว่า spandrel หมายถึงลักษณะปรากฏ (trait) แบบไม่ใช่เป็นการปรับตัว (non-adaptive) ที่เกิดเป็นผลข้างเคียงของลักษณะปรากฏที่เป็นการปรับตัว ลักษณะปรากฏทางจิตวิทยาที่ว่าก็คือ "ถ้าได้ยินเสียงกิ่งไม้หักในป่า น่าจะมีผู้กระทำในเรื่องนี้" ซึ่งช่วยให้ไพรเมตหลีกเลี่ยงการถูกฆาตกรรมหรือถูกกินเป็นอาหาร โดยลักษณะสมมุตินี้ก็ยังอาจคงเหลืออยู่ในมนุษย์ปัจจุบัน ดังนั้น นักจิตวิทยาวิวัฒนาการบางพวกจึงตั้งสมมติฐานว่า "ถ้าแม้กิ่งไม้จะหักเพราะลม มนุษย์ปัจจุบันก็ยังโน้มเอียงไปในการยกเหตุของเสียงว่า มาจากผู้กระทำ โดยเรียกผู้กระทำนี้ว่า พระเป็นเจ้า"[6]

นักจิตวิทยาบางพวกยังกล่าวด้วยว่า "การสืบหาผู้กระทำน่าจะเป็นพื้นฐานของความเชื่อในพระเป็นเจ้าของมนุษย์" อย่างไรก็ดี "การยกเหตุที่เกินไปว่ามีผู้กระทำเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถอธิบายความเชื่อในพระเป็นเจ้าได้โดยสิ้นเชิง" มนุษย์ทั่วไปมีสมรรถภาพในเรื่องทฤษฎีจิต (theory of mind) นักจิตวิทยาพวกนี้อ้างว่า ต้องมีสมรรถภาพในเรื่อง existential theory of mind เพื่อที่ให้มนุษย์มีสมรรถภาพทางประชานขั้นพื้นฐานในการมีความคิดเรื่องพระเป็นเจ้า[2] ถึงกระนั้น ตามนักจิตวิทยาอีกคนหนึ่ง การมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องทางจิตใจไม่ได้หมายความว่าเราควรหยุดเชื่อเรื่องทางจิตใจเหล่านั้น เพราะว่า "ถ้าวิทยาศาสตร์อธิบายอย่างน่าเชื่อถือได้ว่าทำไมภรรยาของผมจึงรักผม ผมควรที่จะหยุดเชื่อว่าเธอรักผมหรือไม่"[7]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Henig, Robin Marantz (2007-03-04). "Darwin's God (Page 4)". The Times Magazine. NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  2. 2.0 2.1 Gray, Kurt; Daniel Wegner (Feb 2010). "Blaming God for Our Pain: Human Suffering and the Divine Mind". Personality and Social Psychology Review. Sage. 14 (1): 9–10. doi:10.1177/1088868309350299. PMID 19926831. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  3. 2013 Sensory Ecology, Behaviour, and Evolution; Martin Stevens
  4. 2012 Evolution and the Mechanisms of Decision Making; Peter Hammerstein, Jeffrey R. Stevens
  5. Boyer, Pascal (2002). Religion Explained: The Evolutionary Origins of Religious Thought. Basic Books.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Henig, Robin Marantz (2007-03-04). "Darwin's God (page 3)". The Times Magazine. NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ 2010-12-21.
  7. "Darwin's God". The New York Times]]. 2007-03-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-31. Suppose science produces a convincing account for why I think my wife loves me — should I then stop believing that she does?