การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาค

เหตุสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาค (อังกฤษ: Jallianwala Bagh massacre; บ้างสะกด จัลเลียนวาลาบาค) หรือ การสังหารหมู่ที่อมฤตสระ (อังกฤษ: Amritsar massacre) เกิดขึ้นเมื่อ 13 เมษายน 1919 เมื่อนายพลจัตวาและจอมพลเรจินอลด์ ไดเออร์สั่งการให้กองกำลังของกองทัพบริติชอินเดียยิงปืนไรเฟิลเข้าใส่พลเมืองชาวอินเดียผู้ปราศจากอาวุธ[3] ในสวนสาธารณะจลิยานวาลาบาคในเมืองอมฤตสระ จังหวัดปัญจาบ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 379 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 1,200 คน

การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาค
อนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ในสวนสาธารณะจลิยานวาลาบาค
การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาคตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบ
การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาค
การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาคตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
การสังหารหมู่ที่จลิยานวาลาบาค
สถานที่อมฤตสระ, จังหวัดปัญจาบ, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอนู่ในรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย)
พิกัด31°37′14″N 74°52′50″E / 31.62056°N 74.88056°E / 31.62056; 74.88056
วันที่13 เมษายน 1919; 105 ปีก่อน (1919-04-13)
05:30 p.m (IST)
เป้าหมายฝูงชนผู้ประท้วงโดยสันติ, ผู้เข้าร่วมเทศกาลไพสาขี ซึ่งรวมตัวกันที่จลิยานวาลาบาค อมฤตสระ
ประเภทการสังหารหมู่
อาวุธปืนไรเฟิลลี-เอนฟีลด์
ตาย379[1] – 1000+[2]
เจ็บ~ 1,500[2]
ผู้ก่อเหตุพลปืนของกองพันปืนไรเฟิลกูรข่าที่เก้า, กองพันปืนไรเฟิลชาวสิกข์ที่ 54 และสินธ์ที่ 59, กองทัพบริติชอินเดีย
จำนวนก่อเหตุ50

ในวันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน 1919 จอมพลไดเออร์ได้ออกประกาศห้ามการรวมกลุ่มหรือชุมนุมของประชาชน แต่การประกาศนี้ไม่ได้ถูกเผยแพร่ไปอย่างทั่วถึง จึงมีชาวบ้านจำนวนมากมารวมตัวกันที่บาคเพื่อเฉลิมฉลองไพสาขี เทศกาลสำคัญของศาสนาฮินดูและสิกข์ รวมถึงประท้วงการจับกุมและขับไล่ผู้นำการเรียกร้องเอกราช สัตยปาล กับ ไซฟุดดิน กิตจลีว ออกนอกประเทศ ไดเออร์แบะกองทหารของเขาเข้าสู่สวนสาธารณะ ปิดกั้นทางเข้าออก ประจำการและกราดยิงฝูงชนในสวนเป็นเวลาสิบนาทีติดต่อกันโดยไม่มีการประกาศแจ้งให้ทราบก่อนล่วงหน้า ส่วนมากเล็งไปยังทางเข้าออกบางส่วนที่ยังไม่ถูกปิดเพื่อกราดยิงผู้ที่พยายามหลบหนี สุดท้ายได้หยุดยิงหลังจำนวนกระสุนร่อยหรอ ในวันถัดมา ไดเออร์ได้ระบุว่า "ข้าพเจ้าได้ยินมาว่ามีคนถูกฆ่าตายไปประมาณ 200 ถึง 300 คน คณะของข้ายิงปืนไปทั้งหมดราว 1,650 ครั้ง"[4][5]

รายงานผู้เสียชีวิตที่รัฐบาลตีพิมพ์โดยอ้างจำนวนจากเซวาสมาติ (Sewa Samati) สมาคมบริการสังคม (เซวา) หนึ่ง อยู่ที่ 379 ราย ที่ได้รับการยืนยัน[1], ผู้บาดเจ็บประมาณ 1,200 คน จำนวนนี้ 192 คนบาดเจ็บสาหัส[6][7] ยอดผู้เสียชีวิตที่ประมาณการณ์โดยไอเอ็นซีอยู่ที่ประมาณ 1,000 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 1,500 คน

เหตุการณ์นี้สร้างความตกตะลึงไปทั่วทั้งประเทศ[8] และส่งผลรุนแรงต่อความไว้ใจและเชื่อถือของชาวอินเดียในรัฐบาลอังกฤษที่ปกครองอินเดียขณะนั้น[9] และยิ่งผลักดันไปสู่การดื้อแพ่งในปี 1920–22[10] นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุผลักดันสำคัญไปสู่จุดจบของการปกครองอินเดียโดยอังกฤษ[11]

จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลอังกฤษไม่เคยขอโทษอย่างเป็นทางการถึงเหตุการณ์นี้ มีแต่เพียงแถลงการณ์ "สำนึกผิด" (regret) ในปี 2019[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Nigel Collett (15 October 2006). The Butcher of Amritsar: General Reginald Dyer. A&C Black. p. 263. ISBN 978-1-85285-575-8.
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ encarta
  3. "Jallianwala Bagh Massacre | Causes, History, Death Toll, Importance, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-15. Jallianwala Bagh Massacre, Jallianwala also spelled Jallianwalla, also called Massacre of Amritsar, incident on 13 April 1919, in which British troops fired on a large crowd of unarmed Indians in an open space known as the Jallianwala Bagh in Amritsar in the Punjab region (now in Punjab state) of India, killing several hundred people and wounding many hundreds more.
  4. แม่แบบ:Hansard
  5. Nigel Collett (15 October 2006). The Butcher of Amritsar: General Reginald Dyer. A&C Black. p. 262. ISBN 978-1-85285-575-8.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hunter
  7. "Amritsar: Minutes of Evidence taken before the Hunter Committee". Parliament.UK. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019.
  8. Bipan Chandra et al, India's Struggle for Independence, Viking 1988, p. 166
  9. Barbara D. Metcalf and Thomas R. Metcalf (2006). A concise history of modern India. Cambridge University Press. p.169
  10. Collett, Nigel (2006). The Butcher of Amritsar: General Reginald Dyer. pp. 398–399.
  11. Bond, Brian (October 1963). "Amritsar 1919". History Today. Vol. 13 no. 10. pp. 666–676.
  12. Schultz, Kai (2019-04-13). "India Still Awaits Apology From Britain for Massacre in Amritsar 100 Years Ago". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-05-03.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Collett, Nigel (2006). The Butcher of Amritsar: General Reginald Dyer.
  • Draper, Alfred (1985). The Amritsar Massacre: Twilight of the Raj.
  • Hopkirk, Peter (1997). Like Hidden Fire: The Plot to Bring Down the British Empire. Kodansha Globe. ISBN 1-56836-127-0.
  • Judd, Dennis (1996). "The Amritsar Massacre of 1919: Gandhi, the Raj and the Growth of Indian Nationalism, 1915–39", in Judd, Empire: The British Imperial Experience from 1765 to the Present. Basic Books. pp 258–72.
  • Lloyd, Nick (2011). The Amritsar Massacre: The Untold Story of One Fateful Day.
  • Narain, Savita (1998). The historiography of the Jallianwala Bagh massacre, 1919. New Delhi: Spantech and Lancer. 76pp. ISBN 1-897829-36-1
  • Swinson, Arthur (1964). Six Minutes to Sunset: The Story of General Dyer and the Amritsar Affair. London: Peter Davies.
  • Wagner, Kim A. "Calculated to Strike Terror': The Amritsar Massacre and the Spectacle of Colonial Violence." Past Present (2016) 233#1: 185–225. doi:10.1093/pastj/gtw037
  • Jalil, Rakhshanda "Jallianwala Bagh: Literary Responses in Prose & Poetry, 2019". Niyogi Books Pvt Ltd. ISBN 978-9386906922

แหล่งข้อมูลอื่น แก้