การสงครามบนภูเขา (อังกฤษ: mountain warfare) หมายถึงการสู้รบในภูเขาหรือภูมิประเทศที่คล้ายคลึงกัน การสงครามประเภทนี้เรียกอีกอย่างว่าการสงครามแอลไพน์ ตามชื่อเทือกเขาแอลป์ การสงครามบนภูเขาเป็นหนึ่งในประเภทของการทำศึกที่อันตรายที่สุดเนื่องจากเกี่ยวข้องกับการเอาตัวรอด ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับศัตรูเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงสภาพอากาศที่รุนแรงและภูมิประเทศที่เป็นอันตราย

การฝึกการสงครามภูเขาของกองทัพบกสหรัฐเมื่อ ค.ศ. 2016

เทือกเขามีความสำคัญเชิงกลยุทธ์เนื่องจากมักจะทำหน้าที่เป็นแนวชายแดนตามธรรมชาติ และอาจเป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ (เช่น ที่ราบสูงโกลันความขัดแย้งด้านทรัพยากรน้ำ) การโจมตีตำแหน่งข้าศึกที่เตรียมพร้อมอยู่ในภูมิประเทศภูเขานั้น ต้องมีอัตราส่วนของการโจมตีทหารต่อการป้องกันทหารมากกว่าการทำสงครามบนพื้นราบ[1] เทือกเขาไม่ว่าเวลาใด ๆ ของปีต่างก็เป็นอันตราย โดยอาจมีฟ้าแลบ, ลมกระโชกแรง, กองหินที่ร่วงลงมา, หิมะถล่ม, ทุ่งหิมะที่ละลายช้า ๆ, น้ำแข็ง, อากาศหนาวจัด, ธารน้ำแข็งที่มีรอยแยกในน้ำแข็งบนภูเขา และภูมิประเทศทั่วไปที่ไม่เรียบ รวมถึงก้าวช้า ๆ ของทหาร ตลอดจนการเคลื่อนย้ายวัสดุที่ต่างเป็นภัยคุกคามเพิ่มเติมทั้งหมดต่อผู้ทำการรบ ส่วนการเคลื่อนที่, การเสริมกำลัง รวมถึงการส่งกลับสายแพทย์ขึ้นและลงทางลาดชัน ตลอดจนพื้นที่ที่แม้แต่สัตว์บรรทุกไม่สามารถเข้าถึงได้ ก็จะต้องใช้การออกแรงของพลังงานอย่างมหาศาล

ประวัติ แก้

ประวัติตอนต้น แก้

คำว่าการสงครามบนภูเขากล่าวกันว่าเกิดขึ้นในสมัยกลางหลังจากพระมหากษัตริย์แห่งทวีปยุโรปพบว่าเป็นการยากที่จะต่อสู้กับกองทัพสวิสในเทือกเขาแอลป์ เพราะชาวสวิสสามารถต่อสู้ในหน่วยที่เล็กลง และใช้จุดได้เปรียบมาต่อสู้กับกองทัพที่ไม่มีใครสามารถรบได้ รูปแบบที่คล้ายกันของการโจมตีและป้องกันในภายหลังถูกใช้โดยการรบแบบกองโจร, พลพรรค และทหารที่ไม่ได้อยู่ในประจำการซึ่งซ่อนตัวอยู่ในภูเขาหลังจากการโจมตี ทำให้มันเป็นเรื่องท้าทายสำหรับกองทัพประจำการที่จะต้องต่อสู้กลับ ส่วนในการทัพอิตาลีของโบนาปาร์ต และกบฏ ค.ศ. 1809 ในทีโรล การสงครามบนภูเขามีบทบาทสำคัญอย่างมาก

อีกตัวอย่างหนึ่งของการสงครามบนภูเขา คือ การข้ามเทือกเขาแอนดีส ที่ทำให้สำเร็จโดยกองทัพแห่งเทือกเขาแอนดีส (สเปน: Ejército de los Andes) ของอาร์เจนตินา และบัญชาการโดยนายพล โฆเซ เด ซาน มาร์ติน เมื่อ ค.ศ. 1817 นับเป็นหนึ่งในกองพลที่ปฏิบัติการในระดับสูงกว่า 5,000 เมตร

สงครามพิวนิกครั้งที่สอง แก้

ใน 218 ปีก่อนคริสตกาล (DXXXVI a.u.c.) ผู้บัญชาการกองทัพคาร์เธจชื่อแฮนนิบัล ได้ยกทัพกองทหารม้า และช้างแอฟริกา ข้ามเทือกเขาแอลป์เพื่อพยายามพิชิตโรม กลยุทธ์คือการเข้าถึงจากทางตอนเหนือของคาบสมุทรอิตาลี ฝ่ายรัฐบาลโรมันรู้สึกชะล่าใจเนื่องด้วยเห็นได้ชัดว่าเทือกเขาแอลป์เป็นอุปสรรคทางธรรมชาติซึ่งปลอดภัยจากผู้บุกรุก ซึ่งในเดือนธันวาคม 218 ปีก่อนคริสตกาลกองกำลัคาร์เธจได้ปราบกองทัพโรมันทางเหนือโดยใช้ช้าง ทว่า ช้างจำนวนมากไม่สามารถอยู่รอดได้ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นและโรคที่เป็นเรื่องปกติของภูมิอากาศในยุโรป กองทัพของแฮนนิบัลต่อสู้กับกองทัพโรมันในอิตาลีเป็นเวลา 15 ปี แต่ล้มเหลวในการเอาชนะโรม ในที่สุดฝ่ายคาร์เธจก็พ่ายแพ้นายพลโรมัน สคิปิโอ แอฟริกานัส ที่ซามา ในแอฟริกาเหนือเมื่อ 202 ปีก่อนคริสตกาล (DLII a.u.c.)[2]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แก้

 
แนวรบอิตาลีใน ค.ศ. 1915–1917: ยุทธการที่อีซอนโซสิบเอ็ดครั้งและการรุกอาซีอาโก ในสีน้ำเงิน เป็นการพิชิตของอิตาลีแรกเริ่ม

การสงครามบนภูเขามาถึงก่อนอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อบางประเทศที่เกี่ยวข้องในสงครามมีกองพลภูเขาที่ไม่เคยทดสอบมาก่อน การป้องกันของออสเตรีย-ฮังการีได้ผลักไสไล่ส่งการโจมตีของอิตาลีเนื่องจากพวกเขาใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศที่เป็นภูเขาส่วนใหญ่ในจูเลียนแอลป์และโดโลมีตี ที่ซึ่งโรคความเย็นกัดและหิมะถล่มได้พิสูจน์แล้วว่าอันตรายยิ่งกว่ากระสุน[3] ส่วนในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1918 ยุทธการที่ซันมัตเตโอเกิดขึ้นที่แนวรบอิตาลี ซึ่งการรบครั้งนี้เป็นการต่อสู้ที่ระดับความสูงมากที่สุดของสงคราม และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1914 การรุกอื่นได้เปิดตัวโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดของตุรกี แอนแวร์ พาชา กับกองทหาร 95,000–190,000 นายเพื่อต่อสู้รัสเซียในคอเคซัส การยืนกรานในการจู่โจมซึ่งอยู่ด้านหน้าเพื่อต่อสู้กับตำแหน่งของรัสเซียที่ภูเขาในใจกลางฤดูหนาว ผลลัพธ์ที่ได้คือความฉิบหาย และแอนแวร์สูญเสียกองกำลังของเขาไป 86 เปอร์เซ็นต์[4] นอกจากนี้ การทัพอิตาลีในสงครามโลกครั้งที่สอง, ความขัดแย้งเซียเชน ก็เป็นตัวอย่างของการสงครามบนภูเขาขนาดใหญ่เช่นกัน[5]

สงครามโลกครั้งที่สอง แก้

ตัวอย่างของการสงครามภูเขาที่ใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่: ยุทธการที่นาร์วิก, ยุทธการที่คอเคซัส, การทัพเส้นทางโคโคดา, ปฏิบัติการเรนเดียร์, ปฏิบัติการฝ่าอันตราย และปฏิบัติการอังคอร์

กรณีพิพาทแคชเมียร์ แก้

นับตั้งแต่การแบ่งแยกอินเดียใน ค.ศ. 1947 อินเดียและปากีสถานมีความขัดแย้งกันในภูมิภาคแคชเมียร์ พวกเขาได้รบในสองสงคราม และต่อสู้อย่างประปรายเพิ่มเติม หรือเกิดความขัดแย้งชายแดนในภูมิภาคหลายครั้ง[6] โดยแคชเมียร์ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลก[7]

การสู้รบครั้งแรกระหว่างทั้งสองประเทศ ในสงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1947 ได้แสดงให้เห็นว่าทั้งคู่ไม่พร้อมที่จะต่อสู้ท่ามกลางความหนาวเหน็บ โดยไม่เอ่ยถึงที่ระดับความสูงที่สุดในโลก[8] และระหว่างสงครามจีน-อินเดีย ค.ศ. 1962 ได้เกิดสงครามระหว่างอินเดียและจีนในพื้นที่เดียวกัน[6]

สงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1965 ที่ตามมาระหว่างอินเดียและปากีสถานส่วนใหญ่รบในหุบเขาแคชเมียร์มากกว่าภูเขาเอง แม้ว่าจะมียุทธการบนภูเขาหลายครั้ง ส่วนในสงครามการคิล (ค.ศ. 1999) กองกำลังของอินเดียพยายามกำจัดศัตรูที่ยึดที่มั่นบนภูเขาออกไป โดยสงครามตัวแทนดังกล่าวใน ค.ศ. 1999 เป็นสงครามสมัยใหม่เพียงสงครามเดียวที่รบกันบนภูเขาเท่านั้น[9] หลังสงครามการคิล กองทัพอินเดียได้ดำเนินการฝึกผู้ชำนาญการเกี่ยวกับการใช้ปืนใหญ่บนภูเขา โดยที่วิถีโพรเจกไทล์มีลักษณะแตกต่างจากที่ระดับน้ำทะเล[10]

หมายเหตุ แก้

  1. เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าอัตราส่วนที่จำเป็นสำหรับการใช้กองกำลังในการโจมตีเพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จคือ 3 ต่อ 1 ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ต้องการมากกว่า
  2. https://www.theguardian.com/science/2016/apr/03/where-muck-hannibals-elephants-alps-italy-bill-mahaney-york-university-toronto
  3. Chow, Brian Mockenhaupt ,Stefen. "The Most Treacherous Battle of World War I Took Place in the Italian Mountains". Smithsonian Magazine.
  4. "Siachen Glacier: Mountain Warfare". www.siachenglacier.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-07. สืบค้นเมื่อ 2020-02-24.
  5. "Info" (PDF). www.cfc.forces.gc.ca. สืบค้นเมื่อ 2020-01-26.
  6. 6.0 6.1 "The Kashmir conflict: How did it start?". Culture. March 2, 2019.
  7. "Himalayan Peaks". www.its.caltech.edu.
  8. "Indo-Pakistani Conflict of 1947-48". www.globalsecurity.org.
  9. Abbas, Zaffar (July 30, 2016). "When Pakistan and India went to war over Kashmir in 1999". Herald Magazine.
  10. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-13. สืบค้นเมื่อ 2020-01-07.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

อ้างอิง แก้

  • Frederick Engels, (January 27, 1857) "Mountain Warfare in the Past and Present" New York Daily Tribune MECW Volume 15, p 164

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้