การลอบสังหารอินทิรา คานธี

นายกรัฐมนตรีอินทิรา คานธีถูกลอบสังหาร เมื่อเวลา 9:29 น. วันที่ 31 ตุลาคม 1984 ที่บ้านพักของเธอบนถนนซัฟดัรจุง ในนิวเดลี[1][2] เธอถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ของเธอเอง[3] คือ สัตวันต์ สิงห์ และ เพอันต์ สิงห์ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปฏิบัติการดาวน้ำเงิน การสังหารหมู่ชาวซิกข์ในวิหารทอง อมฤตสระ ซึ่งกระทำโดยกองทัพอินเดีย วิหารทองซึ่งเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาซิกข์ได้รับความเสียหายอย่างหนัก [4]

ส่าหรีและเครื่องแต่งกายของอินทิรา คานธี ในตอนที่เธอถูกลอบสังหาร ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่อนุสรณ์สถานอินทิรา คานธี นิวเดลี

การลอบสังหาร แก้

 
จุดที่อินทิรา คานธี ถูกลอบสังหารบนทางเดินในที่พักนายกรัฐมนตรี คลุมไว้ด้วยกระจก

เวลาราว 9:20 น. ตามเวลาท้องถิ่น วันที่ 31 ตุลาคม 1984 อินทิรากำลังเดินทางไปสัมภาษณ์กับนักแสดงชาวอังกฤษ ปีเตอร์ อัสตีนอฟ ซึ่งกำลังถ่ายทำสารคดีให้กับโทรทัศน์ไอร์แลนด์ เธอเดินผ่านสวนของบ้านพักนายกรัฐมนตรีหมายเลข 1 ถนนซัฟดัรจุง (Prime Minister's Residence, No. 1 Safdarjung Road) ในนิวเดลีไปยังออฟฟิศ บ้านเลขที่ 1 ถนนอักบัร ซึ่งอยู่ติดกัน[1]

อินทิราเดินผ่านประตูซึ่งมีองครักษ์ยืนคุ้มกันอยู่สองคน คือ สัตวันต์ และ เพอันต์ สิงห์ ทันใดนั้นเขาทั้งสองคนก็ยิงเข้าใส่อินทิรา เพอันต์ ยิงปืนสามนัดเข้าไปที่ช่องท้องของเธอ โดยใช้ปืนพกลูกโม่ขนาด .38[5] ตามด้วย สัตวันต์ ยิงปืน 30 นัด โดยใช้ปืนกึ่งปืนกลใส่เธอซ้ำหลังเธอล้มลงบนพื้น[5] จากนั้นชายทั้งสองโยนอาวุธลงและ เพอันต์ได้กล่าวว่า “เราทำในสิ่งที่เราต้องทำ คุณทำในสิ่งที่คุณอยากทำ” ("I have done what I had to do. You do what you want to do.") หลังจากนั้นเพียง 6 นาที เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจตราพรมแดน ตาร์เสม สิงห์ ชัมวัล (Tarsem Singh Jamwal) และ ราม สราญ (Ram Saran) จับกุมและสังหารเพอันต์ ส่วน สัตวันต์ถูกจับกุมโดยองครักษ์อีกคนของอินทิรา เขาได้รับบาดเจ็บอย่างหนักจากความพยายามจะหลบหนี[6]

เพอันต์ เป็นหนึ่งในบอดีการ์ดที่อินทิราชื่นชอบเป็นส่วนตัว เธอรู้จักกับเขามามากว่า 10 ปี[5] ส่วน สัตวันต์ อายุเพียง 22 ปีในขณะก่อการลอบสังหาร และพึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นองครักษ์ประจำตัวอินทิราเพียง 5 เดือนก่อนการลอบสังหาร[5]

การเสียชีวิต แก้

อินทิราถูกส่งตัวไปยังสถาบันการแพทย์ออลล์อินเดีย นิวเดลี หนึ่งในกลุ่มสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออลล์อินเดีย ในเวลา 9:30 น. แพทย์ที่ทำการผ่าตัดรักษาได้ประกาศทางการของแพทย์ออกมาเมื่อเวลา 14:20 น. ยืนยันว่าเธอได้เสียชีวิตแล้ว การวินิจฉัยสาเหตุการเสียชิวิตโดยติรัถ ทาส โดกรา ระบุว่าเธอถูกยิง 30 นัด โดยใช้ปืนกึ่งปืนกลสเตียร์ลิง (Sterling sub-machine) และปืนลูกโม่ ฆาตกรยิงปืนใส่เธอทั้งหมด 33 นัด โดนตัวเธอ 30 นัด ในจำนวนนี้ 23 นัดทะลุร่างกาย ส่วนอีก 7 นัดฝังอยู่ในร่างกาย โดกราแยกกระสุนออกมาเพื่อระบุหาอาวุธที่ใช้ยิง โดยใช้วิธีการแบบการพิจารณาบัลลิสติก (ballistic examination) กระสุนนั้นวินิจฉัยพบว่าตรงกับของอาวุธในคลังแสงของ CFSL เดลี ร่างของเธอบรรจุใส่โลงและขนขึ้นรถขนปืน (gun carriage) ผ่านไปตามถนนของเดลีในเข้าวันที่ 1 พฤศจิกายน ไปยังตีนมูรติภวัน ซึ่งเป็นที่ไว้ร่างของบิดาของอินทิรา[1] พิธีศพจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน ใกล้กับราชฆาฏ อนุสรณ์สถานของมหาตมะ คานธี ในบริเวณที่เรียกว่า “ศากติสถล” โดยมีผู้สืบตำแหน่งและบุตรชายของเธอเอง ราชีพ คานธี เป็นผู้จุดไฟเผาศพ

ผลที่ตามมา แก้

สี่วันหลังจากนั้น ศาสนิกชนซิกข์หลายพันคนถูกฆาตกรรมใน จลาจลต่อต้านชาวซิกข์ 1984[7]

สัตวันต์ สิงห์ และ ผู้สมรู้ร่วมคิด เกหัร สิงห์ ถูกตัดสินประหารชีวิต ทั้งคู่ถูกประหารชีวิตในวันที่ 6 มกราคม 1989

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "25 years after Indira Gandhi's assassination". CNN-IBN. 30 ตุลาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2011.
  2. "Assassination in India: A Leader of Will and Force; Indira Gandhi, Born to Politics, Left Her Own Imprint on India". The New York Times. 1 พฤศจิกายน 1984. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2009.
  3. "1984: Assassination and revenge". BBC News. 31 October 1984. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2009. สืบค้นเมื่อ 23 January 2009.
  4. "1984: Indian prime minister shot dead". BBC News. 31 October 1984. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2009. สืบค้นเมื่อ 23 January 2009.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Smith, William E. (12 พฤศจิกายน 1984). "Indira Gandhi's assassination sparks a fearful round of sectarian violence". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2013.
  6. "Questions still surround Gandhi assassination". Times Daily. New Delhi. AP. 24 November 1984. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
  7. Nelson, Dean (30 มกราคม 2014). "Delhi to reopen inquiry in to massacre of Sikhs in 1984 riots". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.