การลงประชามติเอกราชนิวแคลิโดเนีย ค.ศ. 2020

การลงประชามติแยกเป็นเอกราชเกิดขึ้นในนิวแคลิโดเนียเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.2020 การลงประชามติครั้งนี้เป็นครั้งที่สองตามข้อตกลงนูเมอา หลังจากการลงประชามติครั้งก่อนหน้าเมื่อ ค.ศ. 2018

การลงประชามติเอกราชนิวแคลิโดเนีย ค.ศ. 2020
4 ตุลาคม ค.ศ. 2020

ท่านต้องการให้นิวแคลิโดเนียมีอำนาจอธิปไตยสมบูรณ์และเป็นเอกราชหรือไม่?
ฝรั่งเศส: Voulez-vous que la Nouvelle-Calédonie accède à sa pleine souveraineté et devienne indépendante?
สถานที่ นิวแคลิโดเนีย
วันที่4 ตุลาคม ค.ศ. 2020
ผล
คะแนน %
ใช่ 71,533 46.74%
ไม่ 81,503 53.26%
คะแนนสมบูรณ์ 153,036 98.79%
คะแนนไม่สมบูรณ์หรือคะแนนเปล่า 1,882 1.21%
คะแนนทั้งหมด 154,918 100.00%
ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ/ผู้ออกมาใช้สิทธิ 180,799 85.69%
ผลคะแนนแบ่งตามคอมมูน
  ใช่     ไม่
เว็บไซต์: Referendum 2020
ที่มา: [1]

ร้อยละ 53.26 ของผู้ออกเสียงปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นประเทศเอกราช ซึ่งน้อยลงกว่าการลงประชามติครั้งที่แล้วที่มีผู้ลงคะแนน "ไม่" ร้อยละ 56.7 โดยในครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 85.69 ข้อตกลงนูเมอาอนุญาตให้มีการลงประชามติเกิดขึ้นได้อีกครั้ง หากสภาแห่งนิวแคลิโดเนียลงคะแนนให้จัดขึ้นอีก โดยการลงประชามติครั้งที่สามจะเกิดขึ้นภายใน ค.ศ. 2022

การลงประชามติและผลที่ตามมา แก้

จากจำนวนผู้ใช้สิทธิ์ร้อยละ 85.6 มีร้อยละ 53.26 ลงคะแนนเสียง "ไม่" ส่งผลให้นิวแคลิโดเนียยังอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสต่อไป ซึ่งผู้ลงคะแนนเสียง "ไม่" มีจำนวนน้อยลงกว่าครั้ง ค.ศ. 2018 ที่มีผู้ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงให้ถึงร้อยละ 56.7[2] ผลการลงประชามติสามารถแบ่งขอบเขตทางภูมิศาสตร์ได้อย่างชัดเจน กล่าวคือร้อยละ 71 ของประชากรจังหวัดใต้ปฏิเสธการเป็นเอกราช ขณะที่จังหวัดที่เล็กกว่าสองจังหวัดอย่างจังหวัดเหนือและจังหวัดหมู่เกาะลอยัลตีลงคะแนนเสียง "ใช่" ถึงร้อยละ 76 และ 82 ตามลำดับ[3]

การลงประชามติครั้งนี้เป็นครั้งที่สองจากสามครั้งที่อนุญาตให้มีการจัด โดยอาจจะมีการลงประชามติครั้งที่สามและครั้งสุดท้ายในช่วงประมาณก่อน ค.ศ. 2022[2] Daniel Goa จากพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนเอกราชได้แสดงความคาดหวังว่าการเปลี่ยนแปลงของคะแนนจะมีแนวโน้มมาทาง "ใช่" และนำไปสู่ความสำเร็จของการลงประชามติครั้งที่สาม ขณะที่ Sonia Backès ได้เรียกร้องให้มีการพูดคุยกันทั้งสองฝ่าย แม้ว่าเธอจะยอมรับว่าจะทำได้เมื่อผ่านการลงประชามติครั้งที่สามไปแล้ว[4]

แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสแสดงความยินดีกับผลการลงประชามติ และขอบคุณชาวนิวแคลิโดเนียที่ได้ "ลงคะแนนเสียงไว้วางใจ" ในสาธารณรัฐ เขายังให้การยอมรับกลุ่มที่ต้องการเอกราช โดยเรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างกันทุกฝ่ายเพื่อหาแนวทางสำหรับอนาคตของภูมิภาค[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Référendum du 4 octobre 2020: RÉSULTATS DÉFINITIFS" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Haut-commissaire de la République en Nouvelle-Calédonie.
  2. 2.0 2.1 "New Caledonia referendum: South Pacific territory rejects independence from France". BBC News. 4 October 2020. สืบค้นเมื่อ 4 October 2020.
  3. 3.0 3.1 Yves-Marie ROBIN (4 October 2020). "VIDÉO. Que retenir du deuxième référendum sur l'indépendance en Nouvelle-Calédonie ?" (ภาษาฝรั่งเศส). Ouest France.
  4. Mathieu Bock (5 October 2020). Mathilde Durand (บ.ก.). "Référendum en Nouvelle-Calédonie : l'écart se resserre entre loyalistes et indépendantistes" (ภาษาฝรั่งเศส). Europe 1.