การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต

การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต หรือ การบุกครองเปอร์เซียของบริเตนและสหภาพโซเวียต เป็นการรุกรานจักรวรรรดิเปอร์เซียระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยกองกำลังของสหภาพโซเวียต จักรวรรดิบริเตน และเครือจักรภพ การรุกรานได้กินเวลาตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมถึง 31 สิงหาคม เมื่อรัฐบาลอิหร่านยอมจำนน โดยหยุดยิงตั้งแต่ 30 สิงหาคม[1]

การรุกรานอิหร่านของบริเตนและสหภาพโซเวียต
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางในสงครามโลกครั้งที่สอง

พลขับรถถังโซเวียตของกองพลรถถังที่ 6 ได้ขับผ่านถนนในแทบรีซบนรถถังเบาที-26
วันที่25–31 สิงหาคม ค.ศ. 1941[1]
(6 วัน)
สถานที่32°N 53°E / 32°N 53°E / 32; 53
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง

ฝ่ายสัมพันธมิตรครอบครองอิหร่าน

  • สหภาพโซเวียตครอบครองอิหร่านเหนือ
  • จักรวรรดิบริติชครอบครองอิหร่านใต้
คู่สงคราม
 สหภาพโซเวียต
สหราชอาณาจักร
 •  อินเดีย
 •  ออสเตรเลีย
อิหร่านปาห์ลาวี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหภาพโซเวียต ดมีตรี ที. คอซลอฟ
สหภาพโซเวียต เซียร์เกย์ โตรฟีเมนโก
สหราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6
สหราชอาณาจักร เอ็ดเวิร์ด ควิแนน
สหราชอาณาจักร วิลเลียม สลิม
พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
แอลี แมนซูร์
โมแฮมแมด-แอลี โฟรูฆี
โฆลอมแอลี บอแยนโดร์ 
Ahmad Nakhjavan
Mohammad Shahbakhti
กำลัง
โซเวียต:
กองทัพ 3 กอง
บริติช:
2 กองพลและ 3 กองพัน
สลุบ 4 ลำ
เรือปืน 1 ลำ
1 corvette
1 armed merchant cruiser
1 armed yacht
ไม่ทราบจำนวนเรือช่วยรบ
9 กองพล
อากาศยาน 60 ลำ
สลุบ 2 ลำ
เรือลาดตระเวน 4 ลำ
ความสูญเสีย
โซเวียต:
40 KIA
สูญเสียเครื่องบิน 3 ลำ
บริติช:
22 KIA[3]
50 WIA[3]
รถถังถูกทำลาย 1 คัน
~800 KIA
สลุบจม 2 ลำ
ยึดเรือลาดตระเวน 2 ลำ
เครื่องบินสูญหาย 6 ลำ
ความสูญเสียของพลเมือง:
พลเมืองอิหร่านเสียชีวิตประมาณ 200 คน

แผนที่การรุกราน

มีการใช้รหัสนามว่า ปฏิบัติการ Countenance มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบ่อน้ำมันของอิหร่านและการรับประกันของสัมพันธมิตรในการสนับสนุนแก่สหภาพโซเวียตที่ได้สู้รบกับกองกำลังฝ่ายอักษะในแนวรบด้านตะวันออก แม้ว่าอิหร่านได้ตั้งตัวเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวสงคราม แต่ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้พิจารณาเห็นว่าพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ได้มีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อฝ่ายอักษะ จึงได้บีบบังคับให้สละราชบัลลังก์ในระหว่างการยึดครองและได้แต่งตั้งพระโอรสของพระองค์มาแทนที่คือพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Immortal : A Military History of Iran and Its Armed Forces, Steven R. Ward, Georgetown University Press, 2009, p. 169
  2. Milani, Abbas (2011). The Shah. ISBN 978-1-4039-7193-7.
  3. 3.0 3.1 Compton Mackenzie, Eastern Epic, p. 136

บรรณานุกรม แก้