การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู พ.ศ. 2561–62

การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู พ.ศ. 2561–62 เริ่มเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 เมื่อมีการยืนยันว่ามีผู้ป่วยสี่รายมีผลตรวจเป็นบวกสำหรับโรคไวรัสอีโบลาในภูมิภาคกีวูทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC)[8][9][10] การระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นไม่กี่วันหลังการสิ้นสุดการระบาดในจังหวัดเอกาเตอร์[11][12] การระบาดในกีวูกินพื้นที่จังหวัดอีตูรี หลังผู้ป่วยรายแรกได้รับการยืนยันเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม[13] และจนถึงเดือนมิถุนายน 2562 ไวรัสระบาดไปประเทศยูกันดา โดยติดเชื้อเด็กชายชาวคองโกวัย 5 ปีที่เข้าสู่ประเทศยูกันดาพร้อมกับครอบครัว[14] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 การระบาดดังกล่าวเป็นการระบาดครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของ DRC[15][16][17] และจนถึงเดือนพฤศจิกายนปีนั้น การระบาดดังกล่าวเป็นการระบาดของไวรัสอีโบลาครั้งใหญ่สุดอันดับสองในประวัติศาสตร์[18][19] รองจากการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกเมื่อปี 2556–59

การระบาดทั่วของอีโบลาในกีวู พ.ศ. 2561–62
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกและยูกันดา
วันที่1 สิงหาคม 2561–ปัจจุบัน
ความสูญเสีย
ประเทศ ผู้ป่วย (ยืนยัน/เป็นไปได้/สงสัย) เสียชีวิต ปรับล่าสุด
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 3,093/114/455 2,144 [1]
ยูกันดา ยูกันดา 4/0/0 4 [2][3][4][5][6]
รวม 3,666
(ดู note 1)
2,148[note 1] ข้อมูลเมื่อ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2019 (2019 -10-08)

จังหวัดและพื้นที่โดยทั่วไปที่ได้รับผลกระทบปัจจุบันอยู่ระหว่างการขัดกันทางทหาร ซึ่งขัดขวางความพยายามรักษาและป้องกันโรค รองผู้อำนวยการใหญ่ด้านการเตรียมและการตอบสนองภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายการขัดกันทางทหารและเหตุทุกขภัยของพลเรือนว่าอาจเป็น "พายุใหญ่" ซึ่งอาจนำให้การระบาดทวีความเลวร้ายลงอย่างรวดเร็วได้[20][21] ในเดือนพฤษภาคม 2562 WHO รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมมีการโจมตีสถาบันสาธารณสุข 42 ครั้ง และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 85 คนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ในบางพื้นที่ องค์การช่วยเหลือต้องหยุดทำงานเนื่องจากความรุนแรง[22] คนงานสาธารณสุขยังต้องจัดการกับข่าวปลอมและการให้ข่าวเท็จอย่างอื่นที่นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามเผยแพร่[23]

จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด (ยืนยันแล้ว เป็นไปได้และต้องสงสัย) เท่ากับ 1,000 คนใน DRC นับเป็นยอดผู้ป่วยในประเทศเดียวที่ไม่เคยพบเห็นนับแต่การระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกปี 2556 ในประเทศไลบีเรีย กีนีและเซียร์ราลีโอน[24][25] ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 เก้าเดือนหลังการระบาด ยอดผู้เสียชีวิตเกิน 1,000 คนแล้วซึ่งยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมการระบาดได้ เมื่อเทียบกันแล้ว ระหว่างการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกซึ่งกินเวลาสองปี ประเทศกินีมีผู้เสียชีวิตรวมประมาณ 2,500 คน[26][27]

เนื่องจากสถานการณ์ที่เสื่อมลงในนอร์-กีวูและบริเวณแวดล้อม WHO จึงเพิ่มการประเมินความเสี่ยงในระดับชาติและภูมิภาคจาก "สูง" เป็น "สูงมาก" ในเดือนกันยายน 2561[28] ในเดือนตุลาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเน้นย้ำว่าควรยุติการขัดกันด้วยอาวุธทั้งหมดใน DRC เพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรคฯ[29] หลังการยืนยันผู้ป่วยในประเทศยูกันดา WHO มีการทบทวนครั้งที่สามในวันที่ 14 มิถุนายน 2562[30] และสรุปว่า แม้การระบาดดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพใน DRC และภูมิภาคนั้น แต่ยังไม่เข้าเกณฑ์หนึ่งในสามข้อสำหรับการพิจารณาเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC)[31] อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่ยืนยันเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2562 ในโกมาทำให้ WHO มีการประชุมคณะกรรมการฉุกเฉินอีกเป็นครั้งที่สี่[32][33] จนมีการประกาศ PHEIC อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2562[34]

หมายเหตุ แก้

  1. ...in the Congolese statistics cases of Mabalako. Uganda's index case and 7 other family members were classified in Mabalako, the health zone where they started to develop symptoms. Of these 8 confirmed cases of the same family, 5 remained in the DRC and 3 had crossed the border. [...] The 2 deaths of Bwera are the 5-year-old boy and the 50-year-old grandmother who were classified...[7]

อ้างอิง แก้

  1. "Operations Dashboard for ArcGIS". who.maps.arcgis.com. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
  2. Gladstone, Rick (12 June 2019). "Two More Ebola Cases Diagnosed in Uganda as First Victim, 5, Dies". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  3. Muhumuza, Rodney; Keaten, Jamey (June 13, 2019). "2nd Ebola death in Uganda after outbreak crosses border". ABC News. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2019. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  4. "Ebola Virus Disease Outbreak Uganda Situation Reports" (PDF). World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 18 June 2019.
  5. "Update of Ebola Outbreak in Kasese District, 21 June 2019 – Uganda". ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.
  6. "Congolese girl, 9, dies of Ebola in Uganda – hospital official". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 30 August 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
  7. "Situation épidémiologique dans les provinces du Nord-Kivu et de l'Ituri" (ภาษาฝรั่งเศส). Dr. Oly Ilunga Kalenga, Ministre de la Santé. 2019-06-13.
  8. "Congo declares new Ebola outbreak in eastern province". Reuters. August 2018. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
  9. "Congo announces 4 new Ebola cases in North Kivu province". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
  10. "Cluster of presumptive Ebola cases in North Kivu in the Democratic Republic of the Congo". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 2 August 2018.
  11. "Media Advisory: Expected end of Ebola outbreak". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
  12. Weber, Lauren (1 August 2018). "New Ebola Outbreak Confirmed In Democratic Republic Of Congo". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 1 August 2018.
  13. "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans la province du Nord Kivu au Lundi 13 août 2018". mailchi.mp. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
  14. Hunt, Katie (12 June 2019). "Ebola outbreak enters 'truly frightening phase' as it turns deadly in Uganda". CNN. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  15. "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans les provinces du Nord Kivu et de l'Ituri au Vendredi 9 novembre 2018". mailchi.mp. สืบค้นเมื่อ 9 November 2018.
  16. "Current Ebola Outbreak Is Worst in Congo's History: Ministry". usnews.com. Us News and World report. สืบค้นเมื่อ 10 November 2018.
  17. Editorial, Reuters (2018-10-15). "Congo confirms 33 Ebola cases in past week, of whom 24 died". Reuters. สืบค้นเมื่อ 16 October 2018.
  18. "Ebola Virus Disease Distribution Map: Cases of Ebola Virus Disease in Africa Since 1976". Centers for Disease Control and Prevention (CDC). 22 May 2018. สืบค้นเมื่อ 10 October 2018.
  19. Weber, Lauren (29 November 2018). "The Ebola Outbreak In Congo Just Became The Second Largest Ever". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 29 November 2018.
  20. Belluz, Julia (25 September 2018). "An Ebola "perfect storm" is brewing in Democratic Republic of the Congo". Vox. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.
  21. "Ebola-hit DRC faces 'perfect storm' as uptick in violence halts WHO operation - Democratic Republic of the Congo". ReliefWeb (ภาษาอังกฤษ). 25 September 2018. สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.
  22. "Ebola outbreak deaths top 1,000 in Congo amid clinic attacks". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-04. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  23. Spinney, Laura (17 January 2019). "In Congo, fighting a virus and a groundswell of fake news". Science. 363 (6424): 213–214. Bibcode:2019Sci...363..213S. doi:10.1126/science.363.6424.213. PMID 30655420.
  24. "Ebola virus disease". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.
  25. "EBOLA RDC - Evolution de la riposte contre l'épidémie d'Ebola dans les provinces du Nord Kivu et de l'Ituri au Mercredi 13 février 2019". us13.campaign-archive.com. สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.
  26. "2014-2016 Ebola Outbreak in West Africa | History | Ebola (Ebola Virus Disease) | CDC". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
  27. "The Latest: Ebola deaths top 1,000 in Congo outbreak". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 3 May 2019.
  28. "Ebola virus disease – Democratic Republic of the Congo". World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  29. "UN calls for end to Congo fighting to combat Ebola outbreak". Washington Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-27. สืบค้นเมื่อ 4 October 2018.
  30. Gladstone, Rick (12 June 2019). "Boy, 5, and Grandmother Die in Uganda as More Ebola Cases Emerge". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
  31. "Statement on the meeting of the International Health Regulations (2005) Emergency Committee for Ebola virus disease in the Democratic Republic of the Congo on 14 June 2019". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 14 June 2019.
  32. "High-level meeting on the Ebola outbreak in the Democratic Republic of the Congo affirms support for Government-led response and UN system-wide approach". World Health Organization (WHO). สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
  33. Schnirring, Lisa (15 July 2019). "Ebola spread to Goma triggers new emergency talks, cases top 2,500". CIDRAP. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
  34. Goldberg, Mark Leon (17 July 2019). "The World Health Organization Just Declared an Ebola "Emergency" in the Democratic Republic of Congo. Here's What That Means". UN Dispatch. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.