การระดมยิงย็อนพย็อง

37°40′0″N 125°41′47″E / 37.66667°N 125.69639°E / 37.66667; 125.69639

การระดมยิงย็อนพย็อง
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลี

แผนที่และสัญลักษณ์แสดงเหตุการณ์การระดมยิงย็อนพย็อง
วันที่23 พฤศจิกายน 2553
สถานที่
ผล พลเรือนเกาหลีใต้ถูกอพยพไปจากเกาะย็อนพย็อง[1]; เกิดความตึงเครียดระหว่างสองประเทศ
คู่สงคราม
 เกาหลีเหนือ  เกาหลีใต้
ความสูญเสีย
ทหารเสียชีวิตอย่างน้อย 5 นาย[2] ทหารเสียชีวิต 2 นาย
ได้รับบาดเจ็บ 16 นาย[3]
พลเรือนชาวเกาหลีใต้: เสียชีวิต 2 คน ได้รับบาดเจ็บ 3 คน[3]

การระดมยิงย็อนพย็อง เป็นยุทธนาการเหล่าทหารปืนใหญ่ระหว่างทหารเกาหลีเหนือกับกองกำลังเกาหลีใต้ที่ประจำอยู่บนเกาะย็อนพย็อง เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[4] โดยหลังจากการฝึกซ้อมยิงปืนใหญ่ตามปกติของทหารเกาหลีใต้ในเขตน่านน้ำของเกาหลีใต้ กองกำลังเกาหลีเหนือได้ยิงปืนใหญ่และจรวดจำนวน 170 นัดเข้าถล่มเกาะย็อนพย็อง ได้รับความเสียหายทั้งเป้าหมายทางทหารและพลเรือน[5] กระสุนปืนใหญ่ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างบนเกาะ ทำให้ชาวเกาหลีใต้เสียชีวิต 4 คน และได้รับบาดเจ็บ 19 คน เกาหลีใต้ตอบโต้โดยการยิงปืนใหญ่ตกลงในน่านน้ำเกาหลีเหนือ[6] เหตุการณ์ดังกล่าวเพิ่มความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี และหลายประเทศได้ประณามการกระทำของเกาหลีเหนือ สหประชาชาติประกาศว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเกาหลี[7]

เบื้องหลัง แก้

เส้นพรมแดนทางทะเลด้านตะวันตกของการควบคุมทางทหารระหว่างเกาหลีทั้งสองประเทศได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยกองบัญชาการสหประชาชาติ (UNC) ใน พ.ศ. 2496 เรียกว่า "แนวจำกัดตอนเหนือ" (NLL)[8] เกาหลีเหนือไม่ได้รับรองพรมแดนดังกล่าวซึ่งร่างขึ้นเพียงฝ่ายเดียวโดยสหประชาชาติในช่วงปลายสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493-96)[9] ภายใต้เงื่อนไขของการสงบศึก เกาะทางตะวันตกเฉียงเหนือทั้งห้าได้รับการกำหนดโดยเฉพาะเจาะจงให้อยู่ภายใต้เขตอำนาจของสหประชาชาติ (นั่นคือ เกาหลีใต้)[10] แนวพรมแดนทางทะเลด้านตะวันตกระหว่างทั้งสองประเทศได้จุดประกายความขัดแย้งระหว่างทั้งสองมาช้านานแล้ว[9]

เกาหลีเหนือไม่ได้มีข้อพิพาทหรือละเมิดแนวดังกล่าวจนกระทั่ง พ.ศ. 2516[11] แนวจำกัดตอนเหนือได้ถูกร่างขึ้นในช่วงเวลาที่นานาประเทศยึดว่าเขตน่านน้ำกินอาณาบริเวณสามไมล์จากอาณาเขตทางบกเป็นที่ยอมรับกัน แต่เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 เขตจำกัดทางทะเลสิบสองไมล์จากอาณาเขตทางบกได้รับการยอมรับโดยนานาประเทศ แนวจำกัดตอนเหนือกลับกีดกันมิให้เกาหลีเหนือเข้าถึงเขตน่านน้ำซึ่งอาจเถียงได้ว่าเป็นน่านน้ำของเกาหลีเหนือ[8][12] ต่อมา หลัง พ.ศ. 2525 แนวดังกล่าวยังไม่ขัดขวางมิให้เกาหลีเหนือจัดตั้งเขตเศรษฐกิจจำเพาะตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 เพื่อควบคุมการประมงในพื้นที่อีกด้วย[8]

 
แนวพรมแดนทะเลพิพาทระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในทะเลเหลือง:[13]
  A: แนวจำกัดตอนเหนือ ซึ่งสหประชาชาติสร้างขึ้น พ.ศ. 2496[14]
  B: "แนวปักปันเขตทางทหารระหว่างเกาหลี" ซึ่งเกาหลีเหนือประกาศเมื่อ พ.ศ. 2542[15]
  ตำแหน่งที่ปรากฏในแผนที่
    1-ย็อนพย็อง
    2-แพ็งนย็อง
    3-แทช็อง
4-เขตชุง (สนามบินนานาชาติอินช็อน), 5-โซล, 6-อินช็อน, 7-แฮจู, 8-แคซ็อง, 9-อำเภอคังฮวา, 10-เขตปกครองท้องถิ่นพุกโด, 11-เกาะท็อกจ็อก, 12-เขตปกครองท้องถิ่นชาวล, 13-เขตปกครองท้องถิ่นย็องฮึง

พ.ศ. 2542 เกาหลีเหนือได้กำหนด "แนวปักปันทางทหารทะเลตะวันตก" ขึ้น ซึ่งอ้างสิทธิ์เหนือบริเวณประมงอันอุดมสมบูรณ์ลงไปทางใต้ของแนวจำกัดตอนเหนือ (ถึงแม้ว่าแนวดังกล่าวจะเลี่ยงเกาะที่เกาหลีใต้ปกครองอยู่อย่างเช่นย็อนพย็อง) การอ้างสิทธิ์ดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับทั้งจากเกาหลีใต้หรือกองบัญชาการสหประชาชาติ[16][17] ทัศนคติของกองบัญชาการสหประชาชาติยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอธิบายว่าแนวจำกัดตอนเหนือจะต้องคงอยู่จนกระทั่งมีแนวปักปันทางทหารใหม่ซึ่งสามารถกระทำได้โดยคณะกรรมาธิการทหารร่วมในข้อตกลงสงบศึก[18]

ในความพยายามที่จะยืนยันการอ้างสิทธิ์ดังกล่าว เกาหลีเหนือได้ดำเนินยุทธศาสตร์ในการท้าทายการถือครองน่านน้ำที่อยู่ทางใต้ของแนวจำกัดตอนเหนือ โดยได้ทำการรุกล้ำแนวดังกล่าวหลายครั้งซึ่งก่อให้เกิดการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ยุทธนาวีใกล้กับเกาะย็อนพย็องใน พ.ศ. 2542 และยุทธนาการอีกครั้งหนึ่งในพื้นที่เดียวกันใน พ.ศ. 2545[19] ถึงแม้ว่าจะไม่มีการปะทะที่ตึงเครียดมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ใน พ.ศ. 2552 ความตึงเครียดตามพรมแดนพิพาทที่เพิ่มสูงขึ้นได้จุดประกายให้เกิดยุทธนาวีใกล้กับแทช็อง และข้อกล่าวหาว่าเรือดำน้ำเกาหลีเหนือจมเรือคอร์เวตโชนันของเกาหลีใต้นอกเกาะแพ็งนย็องเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553[20][21]

หลายวันก่อนหน้าเหตุการณ์ดังกล่าว รัฐบาลเกาหลีเหนือได้เปิดเผยถึงศูนย์เสริมสมรรถนะยูเรเนียมแห่งใหม่[22][23] ซึ่งทำให้รัฐบาลเกาหลีใต้พิจารณาจะขอให้สหรัฐอเมริกาประจำอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีในเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกในรอบ 19 ปี[24] ในวันเดียวกัน เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นการซ้อมรบโฮกุกประจำปี อันเป็นการฝึกฝนทางทหารขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับทหารเกาหลีใต้และสหรัฐ การซ้อมรบใน พ.ศ. 2553 มีทหารเกาหลีใต้กว่า 70,000 นาย จากสี่เหล่าทัพของเกาหลีใต้ พร้อมด้วยยานพาหนะประเภทสายพาน 600 คัน เฮลิคอปเตอร์ 90 ลำ เรือรบ 50 ลำ และเครื่องยนต์อีก 500 ลำ สหรัฐอเมริกาส่งหน่วยนาวิกโยธินรบนอกประเทศที่ 31 และทัพอากาศที่ 7 เข้าร่วมการฝึกทางบกและทางทะเลด้วย[25] ซึ่งแต่เดิมเคยมีแผนการว่ากองทัพเรือและนาวิกโยธินจะซ้อมยกพลขึ้นบกร่วมกันในทะเลเหลือง ทางตะวันตกของเกาหลีใต้ แต่สหรัฐถอนตัวออกมาโดยอ้างว่า "อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง"[26] ถึงแม้ว่าผู้สังเกตการณ์ชาวเกาหลีใต้จะเสนอว่าเหตุผลที่แท้จริงนั้นคือการคัดค้านของจีน ซึ่งถือว่าอาณาบริเวณกว้างขวางของทะเลเหลืองเป็นดินแดนของตน[26] รัฐบาลเกาหลีเหนือมองว่าการซ้อมรบดังกล่าวเป็นการเตรียมการสำหรับการโจมตีเกาหลีเหนือร่วมกัน[25]

การปะทะ แก้

23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เกาหลีใต้ได้จัดการซ้อมรบทางทะเลขึ้น จากนั้นเมื่อถึงเวลาประมาณ 14.34 น. ตามเวลาท้องถิ่น ทหารเกาหลีเหนือได้เริ่มต้นยิงปืนใหญ่เข้าใส่ที่ตั้งของเกาหลีใต้บนย็อนพย็อง ระหว่างที่ค่ายทหารเกาหลีใต้และอาคารพลเรือนอีกหลายหลังถูกระดมยิงอย่างหนัก ทหารเกาหลีใต้ตอบโต้โดยการยิงปืนใหญ่จากปืนใหญ่กระบอกสั้นขับเคลื่อนด้วยตัวเอง เค-9 155 มม.[27] เข้าใส่ที่ตั้งของเกาหลีเหนือ เมื่อพลังงานที่ย็อนพย็องถูกตัดขาดและเกิดอัคคีภัยขึ้นหลายจุดเนื่องจากการระดมยิงปืนใหญ่ของเกาหลีเหนือ ทหารเกาหลีใต้จึงได้สั่งอพยพพลเรือนไปยังบังเกอร์[28][29] ทหารเกาหลีใต้ได้เสริมกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่เจ็ต เอฟ-16

ตามคำกล่าวของผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะ หลังจากทหารเกาหลีใต้ได้ "เริ่มต้นการฝึกซ้อมยิงปืนใหญ่ กระสุนปืนใหญ่จากเกาหลีเหนือก็เริ่มต้นยิงมาใส่เกาะของเรา"[30]

เมื่อเวลา 11.33 น. ตามเวลามาตรฐานกรีนิช ทูตประจำกระทรวงกลาโหมในโซลได้ให้สัมพาษณ์แก่บีบีซีว่า "การยิงยุติลงแล้ว พลเรือนอยู่ในที่ลี้ภัย"[31]

มีรายงานว่าเกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่มากกว่า 100 นัด และเกาหลีใต้ยิงสวนกลับไป 80 นัด[32]

ผลที่ตามมา แก้

การระดมยิงปืนใหญ่ก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนหนึ่งแก่ชาวเกาหลีใต้บนย็อนพย็อง พลเรือน 2 คน และนาวิกโยธินเกาหลีใต้ 2 นายเสียชีวิต และทหารอีก 16 นายได้รับบาดเจ็บ ในจำนวนนี้มี 6 นายได้รับบาดเจ็บสาหัส มีพลเรือนอีกอย่างน้อย 3 คนได้รับบาดเจ็บเช่นเดียวกัน[33] นอกเหนือจากนี้ การโจมตียังได้ก่อให้เกิดอัคคีภัยบนเกาะด้วย[30]

การโจมตีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก สกุลเงินเอเชียหลายสกุลอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลยูโรและดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกับที่ตลาดหลักทรัพย์ในทวีปเอเชียลดลง[34] ผลกระทบของการระดมยิงดังกล่าวได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมการเงิน นำโดยธนาคารเกาหลี ธนาคารกลางของเกาหลีใต้ จัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อประเมินผลกระทบต่อตลาด[35]

อ้างอิง แก้

  1. "China calls for emergency talks amid Korea crisis". BBC News. November 28, 2010. สืบค้นเมื่อ December 5, 2010.
  2. ""연평도 포격당시 북한군 5명 전사...'영웅'칭호 받아"". 조선일보. 2010-12-28.
  3. 3.0 3.1 "Bodies of 2 civilians found on shelled South Korean island". Los Angeles Times. AP. 2010-11-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  4. "Report: N. Korea fires on S. Korea, injuring at least 17". CNN. 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  5. N.K. artillery strikes S. Korean island เก็บถาวร 2012-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2010-11-23. Korea Herald
  6. "KPA Supreme Command Issues Communique". Korean Central News Agency. 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  7. "Tensions high as North, South Korea trade shelling". Dawn. 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  8. 8.0 8.1 8.2 Kotch, John Barry (2003). "Ending naval clashes on the Northern Limit Line and the quest for a West Sea peace regime" (PDF). Asian Perspective. 27 (2): 175–204. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  9. 9.0 9.1 Kim, Kwang-Tae. "After Exchange of Fire, N. Korea Threatens More Strikes on South," เก็บถาวร 2010-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time (US). 2010-11-23
  10. Ryoo, Moo Bong. (2009). "The Korean Armistice and the Islands," เก็บถาวร 2013-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน p. iii (OMB Form No. 0704-0188). Strategy research project at the U.S. Army War College; retrieved 22 Dec 2010.
  11. Factbox: What is the Korean Northern Limit Line? 2010-11-23. Reuters
  12. Jon Van Dyke (July 29, 2010). "The Maritime boundary between North & South Korea in the Yellow (West) Sea". 38 North. U.S.-Korea Institute, Johns Hopkins University School of Advanced International Studies. สืบค้นเมื่อ 28 November 2010.
  13. Ryoo, p. 13.
  14. "Factbox: What is the Korean Northern Limit Line?" Reuters (UK). November 23, 2010; retrieved 26 Nov 2010.
  15. Van Dyke, Jon et al. "The North/South Korea Boundary Dispute in the Yellow (West) Sea," Marine Policy 27 (2003), 143-158; note that "Inter-Korean MDL" is cited because it comes from an academic source เก็บถาวร 2012-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and the writers were particular enough to include in quotes as we present it. The broader point is that the maritime demarcation line here is NOT a formal extension of the Military Demarcation Line; compare "NLL—Controversial Sea Border Between S.Korea, DPRK, " People's Daily (PRC), November 21, 2002; retrieved 22 Dec 2010
  16. Ryoo, p. 10; excerpt, The UNC stated in August 1999: "... the NLL issue was nonnegotiable, because the demarcation line had been recognized as the de facto maritime border for many years by both Koreas."
  17. Ryoo, p. 11; excerpt,
    "The NLL has served as an effective means of preventing military tension between North and South Korean military forces for 46 years. It serves as a practical demarcation line, which has contributed to the separation of forces." --1999. 6. 11, United Nations Command (Korea).
  18. "NLL - Controversial Sea Border Between S.Korea, DPRK". People's Daily. 2002-11-21. สืบค้นเมื่อ 2010-11-26. South Korea and the UNC insisted at that time that the NLL was the de facto sea border and that it must be maintained until a new maritime MDL could be established through the Joint Military Commission on the armistice agreement
  19. "Northern Limit Line (NLL) West Sea Naval Engagements". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  20. Harden, Blaine (2009-11-12). "North Korea says naval skirmish was 'planned provocation' by South". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  21. Ryall, Julian (2010-11-03). "North Korea's investigation into sinking of Cheonan decries 'conspiratorial farce'". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  22. "North Korea – Construction Of Nuclear Power Plant". Eurasia Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ 2010-11-20.
  23. "US envoy: N Korea nuclear plant 'provocative'". San Francisco Chronicle. 2010-11-21. สืบค้นเมื่อ 2010-11-21.
  24. "VOANews "S. Korea Could Seek Deployment of US Tactical Nuclear Weapons" 22 November 2010". Voanews.com. สืบค้นเมื่อ 2010-11-24.
  25. 25.0 25.1 Won-je, Son. "Experts cite succession and diplomatic pressure following artillery fire". The Hankyoreh, 2010-11-24
  26. 26.0 26.1 Sung-ki, Jung (2010-11-18). "US Marine won't participate in exercise in West Sea". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  27. http://www.foxnews.com/world/2010/11/23/skorea-nkorea-fires-artillery-island/
  28. "N.Korea shells S.Korea island, 4 troops wounded". Google News. AFP. 2010-11-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  29. "South Koreans hurt, evacuated after North Korea firing". Reuters. 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  30. 30.0 30.1 Lim Chang-Won (2010-11-23). "Islanders tell of terror as N.Korean shells land". AFP. MySinchew. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  31. http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/9218848.stm
  32. Kim, Dong-hyeon (2010-11-23). "북한 해안포 도발 감행, 연평도에 포탄 100여발 떨어져". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  33. Kim, Dong (2010-11-23). "北 해안포 도발 감행, 연평도에 포탄 200여발 떨어져". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  34. Lui, Patricia (2010-11-23). "Asian Currencies Slump, Led by Won, on Korean Artillery Fire". Bloomberg Businessweek. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
  35. "Two Koreas exchange fire across maritime border". Reuters. 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.