การพลัดหลง (ชีววิทยา)

การพลัดหลง (อังกฤษ: vagrancy) เป็นปรากฏการณ์ทางชีววิทยาที่สัตว์แต่ละตัวปรากฏตัวนอกถิ่นการกระจายพันธุ์ตามปกติ[1] สัตว์แต่ละตัวที่พลัดหลงนี้เรียกว่า สัตว์พลัดหลง (vagrants) มีอยู่หลายปัจจัยที่อาจทำให้สัตว์แต่ละตัวกลายเป็นสัตว์พลัดหลง ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม และสภาพอากาศ แต่โดยทั่วไปยังไม่สามารถเข้าใจสาเหตุได้ทั้งหมด[2] บางครั้งการพลัดหลงยังสามารถเป็นการเริ่มการสร้างอาณานิคมใหม่ หากสัตว์พลัดหลงอยู่รอดจากประชากรที่มีมากพอที่จะดำรงพันธุ์ในที่ใหม่

นกนางนวลลาฟฟิง (laughing seagull) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของทวีปอเมริกา ถ่ายในเวลส์

โดยทั่วไปการพลัดหลงเกิดขึ้นในสัตว์หลายชนิด เช่น นก แมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเต่าทะเล

นก แก้

 
นกพลัดหลงจากต่างถิ่นในถิ่นที่อยู่ที่ไม่คุ้นเคยอาจตายจากความเครียดหรือการขาดอาหารเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับนกจมูกหลอดในภาพที่พบที่ Sleeping Bear Dunes National Lakeshore ที่ทะเลสาบมิชิแกน

ในซีกโลกเหนือ โดยปกติทุกปีนกอพยพทั่วไปมีการอพยพลงใต้ในฤดูหนาว และบินกลับในฤดูใบไม้ผลิซึ่งเป็นช่วงผสมพันธุ์ของนกที่โตเต็มวัย แต่ในบางครั้งนกที่โตเต็มวัยที่อายุยังน้อยและไม่มีประสบการณ์ในหลายสายพันธุ์ อาจผ่านเลยช่วงเวลาการผสมพันธุ์นี้ และบินอพยพขึ้นทางเหนือเมื่อสิ่นสุดฤดูใบไม้ผลิ อพยพเลยไกลออกไปทางเหนือกว่าเดิม (นกประเภทนี้เรียกว่า spring overshoots )

ในฤดูใบไม้ร่วง นกอายุยังน้อยบางตัวแทนที่จะมุ่งหน้าไปยังพื้นที่หลบหนาวตามปกติ กลับใช้เส้นทางการอพยพที่ "ไม่ถูกต้อง" ไปยังพื้นที่นอกเส้นทางการอพยพตามปกติ ได้แก่ นกเกาะคอนจากไซบีเรียหลายสายพันธุ์ ซึ่งปกติในฤดูหนาวจะอพยพลงใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลับพบในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น นกกระจิบอาร์กติก พบในสหราชอาณาจักร[3] ซึ่งเรียกว่าการ อพยพแบบย้อนกลับ โดยที่นกอพยพไปในทิศทางตรงกันข้ามกับที่คาดไว้ (เช่น บินไปทางตะวันตกเฉียงเหนือแทนที่จะเป็นตะวันออกเฉียงใต้) โดยยังไม่ทราบสาเหตุของการกระทำนี้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความไวต่อสนามแม่เหล็กของนก[4]

นกชนิดอื่น ๆ อาจพลัดหลงจากพายุที่พัดพาข้ามมหาสมุทร เช่น นกในอเมริกาเหนือบางตัวปลิวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังยุโรป นกยังสามารถถูกพัดออกสู่มหาสมุทร เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย โดยจำเป็นต้องร่อนลงบนเรือและอาจถูกพาไปยังจุดหมายปลายทางของเรือแทน

นกพลัดหลง จำนวนมากไม่สามารถดำรงพันธุ์ในพื้นที่ใหม่ได้ เนื่องจากมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะสร้างประชากรใหม่ โดยตัวอย่างที่โดดเด่นของนกพลัดหลง (นกบกที่ปลิวไปในทะเล) ที่สามารถดำรงพันธุ์ในพื้นที่ใหม่ได้ที่พบในหมู่เกาะในมหาสมุทรที่แยกตัวออกไปไกล เช่น นกปรอดผึ้งฮาวาย และ นกฟินช์ของดาร์วิน

แมลง แก้

มีการบันทึกจากหลายกลุ่มวิจัยในเรื่อง แมลงพลัดหลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาใน ผีเสื้อ ผีเสื้อกลางคืน และ แมลงปอ

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แก้

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีการบันทึกข้อมูลของ สัตว์พลัดหลง ได้แก่ ค้างคาว แมวน้ำ วาฬ พะยูนแมนนาที วาฬเบลูกา เสือคูการ์ และอื่น ๆ

สัตว์เลื้อยคลาน แก้

สัตว์พลัดหลง ประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่มีการบันทึก ได้แก่ เต่าทะเล งู (เช่น Pelamis platura ) จระเข้ และอาจพบในกิ้งก่า ซึ่งมีแนวโน้มว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างแพร่หลายในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน จระเข้น้ำเค็มมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นสัตว์พลัดหลง โดยบางครั้งถูกบันทึกการปรากฏตัวในสถานที่แปลก ๆ เช่น ฟีจี อิโวะจิมะ และแม้แต่ทะเลญี่ปุ่น

พฤกษศาสตร์ แก้

โดยทั่วไปคำว่า พลัดหลง (vagrant) มักใช้ในสัตว์ แต่ยังอาจใช้กับพืช (เช่น Gleason และ Cronquist, 1991) เพื่ออ้างถึงพืชที่เติบโตห่างไกลจากถิ่นปกติของสปีชีส์ (โดยเฉพาะทางเหนือสุดของถิ่นปกติของสปีชีส์) โดยมีความหมายแฝงว่าเป็นประชากรชั่วคราว สำหรับในบริบทของไลเคน รูปแบบหรือสายพันธุ์พลัดหลงเกิดขึ้นโดยง่ายเพียงหลุดออกจากพื้นผิวตั้งต้น และไม่จำเป็นต้องหมายถึงการอยู่นอกถิ่นการกระจายพันธุ์[5]

อ้างอิง แก้

  1. Ralph, C. John; Wolfe, Jared D. (2018-12-21). "Factors affecting the distribution and abundance of autumn vagrant New World warblers in northwestern California and southern Oregon". PeerJ (ภาษาอังกฤษ). 6: e5881. doi:10.7717/peerj.5881. ISSN 2167-8359. PMC 6305120. PMID 30595974.
  2. Chown, Steven L.; Greve, Michelle; Kellermann, Jürgen; Medan, Diego; Kalwij, Jesse M. (2019-03-15). "Vagrant birds as a dispersal vector in transoceanic range expansion of vascular plants". Scientific Reports (ภาษาอังกฤษ). 9 (1): 4655. doi:10.1038/s41598-019-41081-9. ISSN 2045-2322. PMC 6420631. PMID 30874602.
  3. Thorup, Kasper (May 1998). "Vagrancy of Yellow‐browed Warbler Phylloscopus inornatus and Pallas's Warbler Ph. proregulus in north‐west Europe: Misorientation on great circles?". Ringing & Migration (ภาษาอังกฤษ). 19 (1): 7–12. doi:10.1080/03078698.1998.9674155. ISSN 0307-8698.
  4. Vinicombe, Keith; David Cottridge (1996). Rare birds in Britain and Ireland a photographic record. London: Collins. ISBN 0-00-219976-9.
  5. Rosentreter, R. & McCune, B. 1992. "Vagrant Dermatocarpon in Western North America". The Bryologist. 95:15–19.