ในทางภาษาศาสตร์ การผันคำ (อังกฤษ: inflection หรือ inflexion)[1] หรืออาจเรียกว่า การลงวิภัตติปัจจัย คือการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงรูปคำเช่นนี้ไม่พบในภาษาไทย แต่จะพบในภาษาในหลายๆตระกูล เช่น ตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน เป็นต้น ภาษาที่อาศัยการผันคำเพื่อเปลี่ยนความหมายในระดับสูงเรียกว่า ภาษามีวิภัตติปัจจัย (Inflectional Language) ซึ่งตรงกันข้ามกับ ภาษาคำโดด (Isolating Language) ซึ่งมักจะเป็นภาษาที่คำแต่ละคำมีพยางค์เดียวและไม่มีการผันคำ สำหรับภาษาที่จำแนกตามลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ภาษาคำติดต่อ (Agglutinative Language) และ ภาษาคำควบมากพยางค์ (Poly-synthetic Language)

การผันคำนาม แก้

 
การผันคำนามตามเพศและพจน์ใน
ภาษาสเปน

การผันคำนามจะแสดงเพศ พจน์ และการกของคำนั้นๆในประโยค โดยแต่ละภาษาก็จะมีจำนวนเพศ พจน์ และการกที่ไม่เท่ากัน เช่น ภาษาเยอรมันมีเพียง 4 การก แต่ภาษาสันสกฤตมีถึง 8 การก ภาษาอังกฤษมีเพียง 2 พจน์ แต่ภาษาหลายภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนมีถึง 4 พจน์[ต้องการอ้างอิง]

ตัวอย่างการผันคำนามตามพจน์และการกในภาษาบาลี[2]

นร (คนผู้ชาย)
การก พจน์ (วจน)
เอกพจน์ (เอกวจน) พหูพจน์ (พหุวจน)
ประธาน (ปฐมา) กรรตุการก (กัตตุการก, กตฺตุการก) ร (นร + -สิ วิภัตติ) นร (นร + -โย วิภัตติ)
กรรมตรง (ทุติยา) กรรมการก (กัมมการก, กมฺมการก) นร (นร + -อํ วิภัตติ) ร (นร + -โย วิภัตติ)
เครื่องมือ (ตติยา) กรณการก (นร + -นา วิภัตติ) ภิ, นหิ (นร + -หิ วิภัตติ)
กรรมรอง (จตุตฺถี) สัมปทานการก (สมฺปทานการก) นรสฺส, นราย, นรตฺถํ (นร + -ส วิภัตติ) นรานํ (นร + -นํ วิภัตติ)
แหล่งที่มา (ปญฺจมี) อปาทานการก นรสฺมา, นรมฺหา, นร (นร + -สฺมา วิภัตติ) ภิ, นหิ (นร + -หิ วิภัตติ)
เจ้าของ (ฉฏฺฐี) สัมพันธการก (สมฺพนฺธการก) นรสฺส (นร + -ส วิภัตติ) นรานํ (นร + -นํ วิภัตติ)
สถานที่ (สตฺตมี) อธิกรณการก นรสฺมิํ, นรมฺหิ, นร (นร + -สฺมิํ/สฺมึ วิภัตติ) สุ (นร + -สุ วิภัตติ)
อาลปนะ (อาลปน) สัมโพธนาการก (สมฺโพธนาการก) นร (นร + -สิ วิภัตติ) นร (นร + -โย วิภัตติ)

การผันคำสรรพนาม แก้

การผันคำสรรพนามจะคล้ายคลึงกับการผันคำนาม ซึ่งจะแสดงเพศ พจน์ และการกในประโยค โดยจะแตกต่างจากคำนามที่ว่า คำนามจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหน่วยเสียงที่ท้ายคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ การก แต่สรรพนามมักจะเปลี่ยนรูปคำไปเลย

ตัวอย่างการผันคำสรรพนามตามเพศ พจน์ และการกในภาษาไอซ์แลนด์[ต้องการอ้างอิง]

การก บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 บุรุษที่ 3
เพศชาย เพศหญิง เพศกลาง
เอกพจน์ กรรตุการก ég þú hann hún það
กรรมการก mig þig hann hana það
สัมปทานการก mér þér honum henni því
สัมพันธการก mín þín hans hennar þess
พหูพจน์ กรรตุการก við þið þeir þær þau
กรรมการก okkur ykkur þá þær þau
สัมปทานการก okkur ykkur þeim
สัมพันธการก okkar ykkar þeirra

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Crystal, David. (2008). A Dictionary of Linguistics and Phonetics (6th ed., pp. 243-244). Malden, MA: Blackwell.
  2. "PL 201 ภาษาบาลี 1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.