การปลูกพืชหมุนเวียน

การปลูกพืชหมุนเวียน (อังกฤษ: Crop rotation หรือ Crop sequencing) เป็นระบบการเกษตรกรรมที่ใช้การปลูกพืชหลายชนิดที่ต่างชนิดกันในบริเวณเดียวกันตามลำดับของฤดูเพื่อให้ได้ประโยชน์หลายอย่างเช่นเพื่อเลี่ยงการสร้างสมของตัวกำเนิดโรค (Pathogens) หรือ ศัตรูพืช (Pest) ที่มักจะเกิดขึ้นถ้าปลูกพืชชนิดเดียวต่อเนื่องกัน นอกจากนั้นก็เพื่อสร้างความสมดุลของสารอาหารเนื้อดินที่ไม่ถูกดูดออกไปจากการปลูกพืชชนิดเดียวเป็นเวลานาน การปลูกพืชหมุนเวียนที่ทำกันมามักจะเป็นการปลูกพืชที่ช่วยสร้างเสริมไนโตรเจนโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด (green manure) พร้อมกับการ ปลูกธัญพืชและพืชชนิดอื่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบของระบบการปลูกพืชหลากชนิด (Polyculture) (ที่ตรงกันข้ามกับ ระบบการปลูกพืชชนิดเดียว (Monoculture) นอกจากนั้นการปลูกพืชหมุนเวียนก็ยังเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของดิน (soil structure) และ ความสมบูรณ์ของดิน (soil fertility) โดยการสลับเปลี่ยนระหว่างการปลูกพืชรากลึกกับพืชรากตื้น

ภาพจากดาวเทียมที่แสดงแปลงพืชกลมในเคานตี้แฮสเคลในแคนซัสในปลายเดือน มิถุนายน ค.ศ. 2001 พืชที่แข็งแรงเป็นสีเขียว ข้าวโพดที่มีลำต้นเป็นใบก็จะเติบโตเป็นต้น ข้าวฟ่างที่มีลักษณะคล้ายข้าวโพดโตช้ากว่าฉะนั้นก็ยังเล็กกว่าซึ่งอาจจะเป็นสีเขียวอ่อน ข้าวสาลีเป็นสีทองที่เก็บเกี่ยวกันในเดือนมิถุนายน ทุ่งสีน้ำตาลเป็นบริเวณที่เพิ่งเสร็จจากการเก็บเกี่ยวและไถทิ้งไว้สำหรับปลูกพืชผลในปีต่อไป

ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นระบบที่ใช้กันมานานตั้งแต่สมัยโบราณเช่นในสมัยโรมันที่ใช้ระบบเกษตรกรรมสองแปลงที่เกษตรกรจะปลูกพืชในแปลงหนึ่งและไถอีกแปลงหนึ่งว่างไว้สำหรับการเพาะปลูกในปีต่อไป หรือเมื่อมาถึงยุคกลางยุคกลางที่วิวัฒนาการเป็นระบบเกษตรกรรมสามแปลงที่ใช้กันต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20

อ้างอิง แก้

  • Carroll, C., Halpin, M., Burger, P., Bell, K., Sallaway, M.M., and Yule, D.F. “The effect of crop type, crop rotation, and tillage practice on runoff and soil loss on a Vertisol in central Queensland.” Australian Journal of Soil Research. Vol. 35. pg. 925-939. 1997.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้