การปฏิวัติเซาร์

การปฏิวัติเซาร์ (อังกฤษ: Saur Revolution, Sawr Revolution; ดารี: إنقلاب ثور; ปาทาน: د ثور انقلاب‎) เป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA) เพื่อโค่นล้มรัฐบาลของโมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 2728 เมษายน ค.ศ. 1978 คำว่า "เซาร์" เป็นคำในภาษาดารี หมายถึงเดือนที่สองในปฏิทินเปอร์เซีย ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุดังกล่าว[1]

การปฏิวัติเซาร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น และ ช่วงก่อนสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน

ด้านนอกทำเนียบประธานาธิบดี "แอร์ก" ในกรุงคาบูล หลังการปฏิวัติ
วันที่27–28 เมษายน ค.ศ. 1978
สถานที่
ผล
คู่สงคราม

สาธารณรัฐอัฟกานิสถาน

  • ทหารรักษาทำเนียบประธานาธิบดี
อัฟกานิสถาน สาธารณรัฐ​ประชาธิปไตย​อัฟกานิสถาน
พรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน (PDPA)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน  
อับดุล ควาดิร์ นูรัสตานี
อัฟกานิสถาน โมฮัมหมัด อัสลัม วาทันยาร์
อัฟกานิสถาน อับดุล ควาดิร์
นูร์ มูฮัมหมัด ตะรากี
ฮะฟีซอลลาห์ อะมีน
บาบรัค คาร์มัล

เบื้องหลัง แก้

พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาฮีร์ ชาห์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถานตั้งแต่ ค.ศ. 1933 ในปี ค.ศ. 1973 อดีตนายกรัฐมนตรีอัฟกานิสถานและพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระองค์คือ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน ทำการรัฐประหารยึดอำนาจขณะที่พระองค์เสด็จไปรักษาพระจักษุ (ดวงตา) ที่ประเทศอิตาลี[2] ดาวูด ข่านประกาศให้อัฟกานิสถานเป็นสาธารณรัฐ โดยตัวเองดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและใช้พระราชวังอาร์กเป็นทำเนียบประธานาธิบดี การปกครองของดาวูด ข่านก่อให้เกิดความขัดแย้งกับพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ในปี ค.ศ. 1978 ความขัดแย้งยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อมีร์ อัคบาร์ ไคเบอร์ (Mir Akbar Khyber) สมาชิกคนสำคัญคนหนึ่งของพรรคถูกฆาตกรรม ทำให้เริ่มมีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ฮะฟีซอลลาห์ อะมีน ผู้นำคนหนึ่งของพรรคกังวลว่ารัฐบาลของดาวูด ข่านมีแผนจะกำจัดพรรคคอมมิวนิสต์ จึงคิดก่อการปฏิวัติขึ้นก่อน[3]

เหตุการณ์ แก้

ช่วงเช้าของวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1978 พรรคคอมมิวนิสต์ฝ่ายคัลก์ (Khalq) ได้นำกำลังทหารเข้าโจมตีทำเนียบประธานาธิบดี พรรคคอมมิวนิสต์เลือกวันนี้เพราะเป็นวันที่ผู้บัญชาการทหารและเจ้าหน้าที่รัฐบาลส่วนใหญ่หยุดทำงานเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่าเริ่มมีการยิงปะทะและการใช้รถถังในช่วงเที่ยง ต่อมาในช่วงบ่ายมีการใช้เครื่องบินขับไล่ เมื่อถึงช่วงเย็น ก็มีการประกาศว่ารัฐบาลของดาวูด ข่านถูกโค่นล้มแล้วโดยฝ่ายคัลก์ (การใช้คำว่า "คัลก์" เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ก่อการปฏิวัติ)[4] การปะทะกันยังคงมีขึ้นจนถึงเที่ยงคืน จนถึงช่วงเช้าวันต่อมา ประธานาธิบดีดาวูด ข่านและครอบครัวพยายามจะหลบหนีออกจากทำเนียบประธานาธิบดี แต่ทั้งหมดถูกสังหาร[5]

หลังการปฏิวัติ นูร์ มูฮัมหมัด ตะรากีได้ขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ และจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากฝ่ายคัลก์และฝ่ายพาร์ชัม (Parcham) แต่หลังจากนั้นไม่นาน ตะรากีก็ถูกฮะฟีซอลลาห์ อะมีนโค่นอำนาจ การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ก่อให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่กับกลุ่มอนุรักษนิยม (มุจญาฮิดีน) และนำไปสู่การแทรกแซงจากสหภาพโซเวียตและสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานในเวลาต่อมา[6]

อ้างอิง แก้

  1. Barnett R. Rubin, The Fragmentation of Afghanistan (Yale University Press, 2002), p. 105
  2. Countries and Territories of the World
  3. "Chapter 5. The Saur Revolution" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-03-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  4. Thompson, Larry Clinton. "Surviving the '78 Revolution in Afghanistan". http://www.hackwriters.com/78RevolutionAfghan.htm, เข้าถึง 6 เมษายน 2011
  5. "Afghanland.com Afghanistan Mohammad Daud Khan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  6. BBC News | Analysis | Afghanistan: 20 years of bloodshed

แหล่งข้อมูลอื่น แก้