การปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952

การก่อรัฐประหารในประเทศอียิปต์ ปี ค.ศ. 1952 ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การก่อรัฐประหาร ปี ค.ศ. 1952 หรือการปฏิวัติวันที่ 23 กรกฎาคม ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1952 โดยขบวนการเจ้าหน้าที่อิสระ กลุ่มของเจ้าหน้าที่กองทัพภายใต้การนำโดยมุฮัมมัด นะญีบและญะมาล อับดุนนาศิร การก่อรัฐประหารครั้งแรกนี้ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการโค่นล้มพระเจ้าฟารูก

การก่อรัฐประหารในประเทศอียิปต์ ปี ค.ศ. 1952

ผู้นำฝ่ายก่อรัฐประหาร, มุฮัมมัด นะญีบ (ซ้าย) และ ญะมาล อับดุนนาศิร (ขวา) ในรถคาดิลแลค
วันที่23 กรกฎาคม ค.ศ. 1952
สถานที่
ผล

โค่นล้ม, สละบังลังก์, และเนรเทศพระเจ้าฟารูก

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
เอกราชของซูดานภายใต้การปกครองของอังกฤษ-อียิปต์
คู่สงคราม
 อียิปต์
สนับสุนโดย:
 ซาอุดีอาระเบีย
 สหราชอาณาจักร
ขบวนการเจ้าหน้าที่อิสระ
สนับสุนโดย:
สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
 สหรัฐ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อียิปต์ พระเจ้าฟารูก
อียิปต์ Ahmed Naguib el-Hilaly
มุฮัมมัด นะญีบ
ญะมาล อับดุนนาศิร
อันวัร อัสซาดาต
Khaled Mohieddin
Abdel Latif Boghdady
Abdel Hakim Amer
Gamal Salem
Salah Salem
Zakaria Mohieddin
Hussein el-Shafei
Hassan Ibrahim
Kamal el-Din Hussein
Abdel Moneim Amin

เหตุการณ์ แก้

อย่างไรก็ตาม,ขบวนการได้มีความทะเยอทะยานทางการเมืองมากขึ้น และในไม่ช้าก็ต้องดำเนินการยกเลิกรัฐธรรมนูญราชาธิปไตยและพวกขุนนางของอียิปต์และซูดาน ก่อตั้งสาธารณรัฐ ยุติการยึดครองอียิปต์ของอังกฤษ และรักษาความเป็นเอกราชของซูดาน(ก่อนหน้านี้เคยเป็นอำนาจปกครองดินแดนร่วมกันของอังกฤษ-อียิปต์) รัฐบาลของฝ่ายปฏิวัติได้ใช้ชาตินิยมอย่างเด็ดเดี่ยว วาระการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งมาเพื่อแสดงออกโดยผ่านลัทธิชาตินิยมของชาวอาหรับและการวางตัวเป็นกลางระหว่างประเทศ

การก่อรัฐประหารครั้งนี้ต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ยึดครองอียิปต์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1882 และฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศต่างก็ได้ระมัดระวังการลุกขึ้นของพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมในดินแดนภายใต้การควบคุมของพวกเขาทั่วโลกอาหรับและแอฟริกา ด้วยสถานะสงครามอย่างต่อเนืองกับอิสราเอลก็ได้มีความท้าทายอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่เจ้าหน้าที่อิสระได้สร้างความเข้มแข็งของอียิปต์ในการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ ทั้งสองประเด็นนี้ตได้มีการประชุมหารือในสีปีภายหลังจากก่อรัฐประหาร เมื่ออียิปต์ได้ถูกรุกรานโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอลในวิกฤตการณ์คลองสุเอซ ปี ค.ศ. 1956 แม้ว่าจะมีการสูญเสียทางทหารอย่างใหญ่หลวง สงครามครั้งนี้ได้ถูกมองว่าเป็นชัยชนะทางการเมืองของอียิปต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้ปล่อยให้คลองสุเอซอยู่ภายใต้การควบคุมของอียิปต์โดยไม่มีใครโต้แย้งเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1875 ได้ลบสิ่งที่ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความอัปยศของชาติ สิ่งนี้ได้รับความสนใจที่เพิ่มมากขึ้นของการปฏิวัติในประเทศอาหรับและประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกา

หลังจากสิ้นสุด แก้

การปฏิรูปที่ดินขายส่ง และโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ริเริ่มขึ้นในทศวรรษแรกและครึ่งหนึ่งของการรัฐประหาร ซึ่งนำไปสู่ช่วงเวลาที่ไม่เคยเกิดขึ้นของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและการทำให้เป็นเมือง ในปี ค.ศ. 1960 ลัทธิสังคมนิยมของชาวอาหรับได้กลายเป็นประเด็นสำคัญ ได้ทำให้อียิปต์กลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจตามที่ได้วางแผนเอาไว้จากส่วนกลาง ทางการได้หวาดกลัวต่อพวกที่นิยมตะวันตก การต่อต้านการปฏิวัติ ความคลั่งไคลทางศาสนาภายในประเทศ การแทรงแซงที่มีศักยภาพของคอมมิวนิสต์ และความขัดแย้งกับอิสราเอลล้วนต่างได้อ้างถึงเหตุผลที่รุนแรงและจำกัดที่ยาวนานต่อคู่แข่งทางการเมือง และการห้ามระบบหลายพรรค ข้อจำกัดต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองเหล่านี้จะยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งประธานาธิบดี อันวัร อัสซาดาต ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ในช่วงระหว่างนโยบายการปฏิวัติจำนวนมากได้ปรับขนาดลงหรือย้อนกลับ

ความสำเร็จในช่วงแรกของการก่อรัฐประหารได้สนับสนุนขบวนการชาตินิยมในประเทศอาหรับและประเทศอื่นในแอฟริกา เช่น แอลจีเรียและเคนยา ซึ่งได้มีการประท้วงต่อต้านอาณานิคมในจักรวรรดิยุโรป นอกจากนี้ยังได้เป็นแรงบันดาลใจในการโค่นล้มระบอบราชาธิปไตยและรัฐบาลในภูมิภาคและทวีป

การปฏิวัติครั้งนี้ได้ถูกนำมาเป็นวันเฉลิมฉลองที่รำลึกในแต่ละปีของวันที่ 23 กรกฎาคม