การปฏิวัติยุคหินใหม่

การปฏิวัติยุคหินใหม่ หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนผ่านอย่างกว้างขวางของวัฒนธรรมมนุษย์ในยุคหินใหม่จากสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ (สังคมแบบยังชีพ) สู่สังคมเกษตรกรรม และสังคมเมือง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร[4] การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวทำให้มนุษย์มีโอกาสสังเกตและทดลองพันธุ์พืช นำไปสู่ความรู้ในการปรับปรุงไม้ป่าเป็นไม้เลี้ยง[5] แนวคิดการปฏิวัติยุคหินใหม่นี้คิดค้นโดย วี. กอร์ดอน ไชลด์ นักโบราณคดีชาวออสเตรเลียในหนังสือ Man Makes Himself[6]

แผนที่โลกแสดงศูนย์กลางการริเริ่มเกษตรกรรมและการแผ่กระจายในยุคก่อนประวัติศาสตร์: พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (11,000 BP), ลุ่มน้ำแยงซีและหวง (9,000 BP) และที่สูงนิวกินี (9,000–6,000 BP), เม็กซิโกตอนกลาง (5,000–4,000 BP), อเมริกาใต้ตอนเหนือ (5,000–4,000 BP), แอฟริกาใต้สะฮารา (5,000–4,000 BP, ยังไม่ทราบที่ตั้งแน่ชัด), อเมริกาเหนือทางตะวันออก (4,000–3,000 BP)[1], BP แทนหน่วยเวลา "ก่อนปัจจุบัน" (Before Present)
วิวัฒนาการของอุณหภูมิในภายหลังยุคน้ำแข็ง นับจากการขยายสูงสุดของแผ่นน้ำแข็งครั้งล่าสุด (Last Glacial Maximum - LGM) อ้างอิงจากการขุดสำรวจแกนน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ การเกิดขึ้นของการเกษตรกรรมสอดคล้องกับช่วงเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงสิ้นสุดของช่วงหนาวเย็นของยุคดรายส์ (Younger Dryas) ต่อกับช่วงเริ่มต้นของช่วงเวลาที่อบอุ่นยาวนานของสมัยโฮโลซีน[2] ซึ่งสันนิษฐานว่า เขตร้อนและเขตกึ่งเขตร้อนได้ขยายตัวออกไปมาก ซึ่งสภาพภูมิอากาศแบบนี้ช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะแก่การทำกสิกรรมแบบง่ายในช่วงเริ่มต้น[3]

การปฏิวัติยุคหินใหม่ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรมที่ได้รับการยืนยันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่แค่เพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตอาหาร แต่เป็นการเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตร่อนเร่ไปสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านและเมือง มีการชลประทานและถางป่าเพื่อทำการเพาะปลูก รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำเครื่องปั้นดินเผา การปรับปรุงเครื่องมือหิน และการสร้างบ้านทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ของการเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วที่เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านทางประชากรยุคหินใหม่

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เกิดขึ้นแยกกันในหลายแห่งทั่วโลก เริ่มในสมัยโฮโลซีนเมื่อ 11,700 ปีก่อน[7] ช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค[8] เริ่มจากบริเวณพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ราว 10,000–8,000 ปีก่อนคริสตกาล[9] ตามด้วยลุ่มแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำหวงราว 7,000 ปีก่อนคริสตกาล[10] และที่สูงนิวกินีราว 7,000–3,000 ปีก่อนคริสตกาล[11] มีหลายทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนมาทำการเกษตร เช่น พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์[12] การใช้เกษตรกรรมเป็นเครื่องมือแสดงอำนาจ[13] ปัจจัยด้านประชากร[14][15] การปรับตัวของมนุษย์และพืช[16] สภาพอากาศคงที่หลังยุคน้ำแข็ง[17] และการสูญพันธุ์ของสัตว์ใหญ่ (megafauna)[18] มีหลักฐานการเพาะปลูกธัญพืช 8 ชนิดเป็นครั้งแรกในลิแวนต์ช่วงราว 9,500 ปีก่อนคริสตกาล[19] ขณะที่การเลี้ยงสัตว์เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นโดยสัตว์กลุ่มแรก ๆ ที่มนุษย์นำมาเลี้ยงได้แก่ สุนัข (13,000 ปีก่อนคริสตกาล[20]) แพะ (10,000 ปีก่อนคริสตกาล[21]) สุกร (9,000 ปีก่อนคริสตกาล[22]) แกะ (9,000–8,500 ปีก่อนคริสตกาล[23]) และวัว (8,000 ปีก่อนคริสตกาล[24])

มุมมองดั้งเดิมของการปฏิวัติยุคหินใหม่คือการเกษตรมีส่วนสนับสนุนประชากรที่มากขึ้น ทำให้ชุมชนยิ่งแผ่ขยาย ขณะเดียวกันก็เกิดแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป ทำให้ผู้คนมีหน้าที่ต่าง ๆ ในสังคม และเมื่อสังคมซับซ้อนขึ้นก็เกิดชนชั้นนำผู้ทำหน้าที่ปกครองชุมชน[25] พัฒนาการดังกล่าวหรือบางครั้งเรียกว่า การรวมกลุ่มยุคหินใหม่ (Neolithic package) เอื้อให้เกิดรากฐานโครงสร้างทางการเมือง การปกครองแบบรวมอำนาจ อุดมการณ์แบบลำดับชั้น การกระจายงาน และการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาการเขียน ศิลปะ และสถาปัตยกรรม นำไปสู่อารยธรรมแรกสุดอย่างซูเมอร์ทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมีย (ราว 6500 BP) อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสัมฤทธิ์[26]

ถึงแม้ว่าการปฏิวัติยุคหินใหม่จะนำพาความก้าวหน้าต่าง ๆ แต่งานศึกษาทางชาติพันธุ์วิทยาและโบราณคดีหลายชิ้นพบว่าการที่มนุษย์เปลี่ยนมากินอาหารจากธัญพืชมากขึ้นทำให้การคาดหมายคงชีพลดลง การเสียชีวิตในทารกเพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของโรคติดเชื้อและโรคเสื่อม การเพาะปลูกกลับเป็นการจำกัดความหลากหลายของอาหาร ทำให้มนุษย์ขาดวิตามินและแร่ธาตุ[27] นอกจากนี้จาเรด ไดมอนด์ นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันยังเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคมและความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพ[28]

อ้างอิง แก้

  1. Diamond, J.; Bellwood, P. (2003). "Farmers and Their Languages: The First Expansions". Science. 300 (5619): 597–603. Bibcode:2003Sci...300..597D. CiteSeerX 10.1.1.1013.4523. doi:10.1126/science.1078208. PMID 12714734. S2CID 13350469.
  2. Zalloua, Pierre A.; Matisoo-Smith, Elizabeth (6 January 2017). "Mapping Post-Glacial expansions: The Peopling of Southwest Asia". Scientific Reports. 7: 40338. Bibcode:2017NatSR...740338P. doi:10.1038/srep40338. ISSN 2045-2322. PMC 5216412. PMID 28059138.
  3. http://www.atmo.arizona.edu/students/courselinks/fall12/atmo336/lectures/sec5/holocene.html
  4. Jean-Pierre Bocquet-Appel (July 29, 2011). "When the World's Population Took Off: The Springboard of the Neolithic Demographic Transition". Science. 333 (6042): 560–561. Bibcode:2011Sci...333..560B. doi:10.1126/science.1208880. PMID 21798934. S2CID 29655920.
  5. Pollard, Elizabeth; Rosenberg, Clifford; Tigor, Robert (2015). Worlds together, worlds apart. Vol. 1 (concise ed.). New York: W.W. Norton & Company. p. 23. ISBN 978-0-393-25093-0.
  6. Childe, Vere Gordon (1936). Man Makes Himself (ภาษาอังกฤษ). London: Watts & Company.
  7. "International Stratigraphic Chart". International Commission on Stratigraphy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-12. สืบค้นเมื่อ 2012-12-06.
  8. Blakemore, Erin (April 5, 2019). "The Neolithic Revolution". National Geographic. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
  9. Graeme Barker (2009). The Agricultural Revolution in Prehistory: Why did Foragers become Farmers?. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-955995-4.
  10. Cohen, David Joel (October 2011). "The Beginnings of Agriculture in China: A Multiregional View". Current Anthropology. 52 (S4): S273–S293. doi:10.1086/659965. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
  11. Shaw, Ben; Field, Judith H.; Summerhayes, Glen R.; Coxe, Simon; Coster, Adelle C. F.; Ford, Anne; Haro, Jemina; Arifeae, Henry; Hull, Emily; Jacobsen, Geraldine; Fullagar, Richard; Hayes, Elspeth; Kealhofer, Lisa (March 25, 2020). "Emergence of a Neolithic in highland New Guinea by 5000 to 4000 years ago". Science Advances. 6 (13). doi:10.1126/sciadv.aay4573. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
  12. Charles E. Redman (1978). Rise of Civilization: From Early Hunters to Urban Society in the Ancient Near East. San Francisco: Freeman.
  13. Hayden, Brian (1992). "Models of Domestication". ใน Anne Birgitte Gebauer and T. Douglas Price (บ.ก.). Transitions to Agriculture in Prehistory. Madison: Prehistory Press. pp. 11–18.
  14. Sauer, Carl O. (1952). Agricultural origins and dispersals. Cambridge, MA: MIT Press.
  15. Binford, Lewis R. (1968). "Post-Pleistocene Adaptations". ใน Sally R. Binford and Lewis R. Binford (บ.ก.). New Perspectives in Archaeology. Chicago: Aldine Publishing Company. pp. 313–342.
  16. Rindos, David (December 1987). The Origins of Agriculture: An Evolutionary Perspective. Academic Press. ISBN 978-0-12-589281-0.
  17. Richerson, Peter J.; Boyd, Robert (2001). "Was Agriculture Impossible during the Pleistocene but Mandatory during the Holocene?". American Antiquity. 66 (3): 387–411. doi:10.2307/2694241. JSTOR 2694241. S2CID 163474968.
  18. Anderson, David G; Albert C. Goodyear; James Kennett; Allen West (2011). "Multiple lines of evidence for possible Human population decline/settlement reorganization during the early Younger Dryas". Quaternary International. 242 (2): 570–583. Bibcode:2011QuInt.242..570A. doi:10.1016/j.quaint.2011.04.020.
  19. Zeder, Melinda (October 2011). "The Origins of Agriculture in the Near East". Current Anthropology. 52 (S4): 221–235. doi:10.1086/659307. JSTOR 10.1086/659307. S2CID 8202907.
  20. Sablin, Mikhail V.; Khlopachev, Gennady A. (2002). "The Earliest Ice Age Dogs: Evidence from Eliseevichi 11". Current Anthropology. 43 (5): 795–799. doi:10.1086/344372. S2CID 144574445.
  21. Zeder, Melinda A. (2011). "The Origins of Agriculture in the Near East". Current Anthropology. 52: S221–S235. doi:10.1086/659307. S2CID 8202907.
  22. Giuffra, E.; Kijas, J. M.; Amarger, V.; Carlborg, O.; Jeon, J. T.; Andersson, L. (2000). "The origin of the domestic pig: Independent domestication and subsequent introgression". Genetics. 154 (4): 1785–91. PMC 1461048. PMID 10747069.
  23. Zeder, Melinda A. (2008). "Domestication and early agriculture in the Mediterranean Basin: Origins, diffusion, and impact". Proceedings of the National Academy of Sciences. 105 (33): 11597–11604. Bibcode:2008PNAS..10511597Z. doi:10.1073/pnas.0801317105. PMC 2575338. PMID 18697943.
  24. Wendorf, Fred; Schild, Romuald (1998). "Nabta Playa and its Role in Northeastern African Prehistory". Journal of Anthropological Archaeology. 17 (2): 97–123. doi:10.1006/jaar.1998.0319.
  25. Eagly, Alice H.; Wood, Wendy (June 1999). "The Origins of Sex Differences in Human Behavior: Evolved Dispositions Versus Social Roles". American Psychologist. 54 (6): 408–423. doi:10.1037/0003-066x.54.6.408.
  26. "Neolithic Revolution". HISTORY. January 12, 2018. สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
  27. Armelagos, George J. (2014). "Brain Evolution, the Determinates of Food Choice, and the Omnivore's Dilemma". Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 54 (10): 1330–1341. doi:10.1080/10408398.2011.635817. ISSN 1040-8398. PMID 24564590. S2CID 25488602.
  28. Diamond, Jared (May 1987). "The Worst Mistake in the History of the Human Race". Discover Magazine: 64–66.