การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Industrial Estate Authority of Thailand ชื่อย่อ IEAT ; กนอ.) เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515[2] เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม จัดพื้นที่สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้เข้ารวมกันอย่างมีระบบและมีระเบียบ และเป็นกลไกของภาครัฐในการกระจายการพัฒนาอุตสาหกรรมออกไปสู่ภูมิภาค

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Industrial Estate Authority of Thailand
ตราสัญลักษณ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี)
เขตอำนาจกำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรม
สำนักงานใหญ่618 ถนนนิคมมักกะสัน แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี21 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ยุทธศักดิ์ สุภสร, ประธานกรรมการ
  • วีริศ อัมระปาล, ผู้ว่าการ
  • อัฐพล จิรวัฒน์จรรยา, รองผู้ว่าการ
  • ปนัดดา รุ่งเรืองศรี, รองผู้ว่าการ
  • พรเทพ ภูริพัฒน์, รองผู้ว่าการ
  • ประทีป เอ่งฉ้วน, รองผู้ว่าการ
  • ธาดา สุนทรพันธุ์, รองผู้ว่าการ
ต้นสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
เว็บไซต์http://www.ieat.go.th

ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 แทน ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ที่ถูกยกเลิกไป [3]

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 คือ นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ครอบคลุมเขตมีนบุรี และเขตบางกะปิ[4]ในปี พ.ศ. 2567 พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา และ เสกสกล อัตถาวงศ์ เป็นกรรมการ[5]

อำนาจหน้าที่ แก้

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  1. จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนหรือองค์กรของรัฐจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
  2. จัดให้มีและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนและให้บริการในระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบอุตสาหกรรม
  4. จัดให้มีระบบและการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากอุตสาหกรรม
  5. อนุญาต อนุมัติ การประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมและจัดให้ได้เพิ่มเติมซึ่งสิทธิประโยชน์ สิ่งจูงใจ และการอำนวยความสะดวกแก่การประกอบอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรม แก้

นิคมอุตสาหกรรม หมายถึง เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปอยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ประกอบด้วย พื้นที่อุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย บริการอื่นที่จำเป็น อาทิ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ธนาคาร ศูนย์การค้า ที่พักอาศัยสำหรับคนงาน สถานีบริการน้ำมัน เป็นต้น

รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย แก้

ปัจจุบัน กนอ. มีนิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 62 นิคม กระจายอยู่ใน 18 จังหวัด ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง จำนวน 15 นิคม และนิคมอุตสาหกรรมที่ร่วมดำเนินงานกับผู้พัฒนา จำนวน 48 นิคม[6] (ตัวหนา คือ นิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ. ดำเนินการเอง และ ตัวเอียง คือ นิคมอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนา)

ภาคเหนือ แก้

ภาคกลางและภาคตะวันออก แก้

  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    • นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า ไฮเทค
    • นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน
    • นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
    • นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง
  • จังหวัดสมุทรสาคร
    • นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
    • นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
    • นิคมอุตสาหกรรมมหาราชนคร
  • จังหวัดฉะเชิงเทรา
    • นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์
    • นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้
    • นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี
    • นิคมอุตสาหกรรมที เอฟ ดี 2
    • นิคมอุตสาหกรรม 304 ฉะเชิงเทรา
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเพ๊กซ์กรีน ฉะเชิงเทรา
  • จังหวัดสมุทรปราการ
    • นิคมอุตสาหกรรมบางปู
    • นิคมอุตสาหกรรมบางพลี
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย (สุวรรณภูมิ)
    • นิคมอุตสาหกรรมบางปู (เหนือ)
  • จังหวัดชลบุรี
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1
    • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี)
    • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ชลบุรี) (โครงการ 2)
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4)
    • นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
    • นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
    • นิคมอุตสาหกรรมบ้านบึง
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 2
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 2
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3
    • นิคมอุตสาหกรรมยามาโตะ อินดัสตรีส์
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีนชลบุรี
  • จังหวัดระยอง
    • นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)
    • นิคมอุตสาหกรรมผาแดง
    • นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
    • นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (ระยอง)
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 1
    • นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย
    • นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล
    • นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
    • นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง
    • นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้

ภาคใต้ แก้

นอกจากนี้ กนอ. ยังมีหน้าที่กำกับดู ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง อีกด้วย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91 ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 339 (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ให้จัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอน 190 ก หน้า 214 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515
  3. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอน 41 ก พิเศษ หน้า 10 24 มีนาคม พ.ศ. 2522
  4. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบางชันเป็นนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป
  5. ‘ครม.’ แต่งตั้ง ’เสธ.อ้น-เสกสกล‘ นั่งบอร์ดการนิคมอุตสาหกรรมฯ
  6. บทบาทและหน้าที่หลักขององค์กร การนิคมอุตสาหกรรม