การทำงานต่ำระดับ

การทำงานต่ำระดับ (อังกฤษ: underemployment) หรือการว่างงานแฝง เป็นการใช้แรงงานต่ำกว่าจริงเนื่องจากอาชีพที่ไม่ต้องใช้ทักษะของแรงงาน หรือเป็นงานไม่เต็มเวลา หรืองานที่ปล่อยให้แรงงานไม่ได้ทำงาน[2] ตัวอย่างได้แก่ การถืออาชีพไม่เต็มเวลาทั้งที่ต้องการทำงานเต็มเวลา และการมีคุณวุฒิสูงเกิน (overqualification) ซึ่งลูกจ้างมีการศึกษา ประสบการณ์หรือทักษะเกินข้อกำหนดของอาชีพนั้น[3][4]

ในปี 2557 ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยในสหรัฐมักไม่สามารถหาอาชีพที่ต้องใช้ปริญญาได้ 44% พบเพียงงานบริการอย่างตำแหน่งบาริสตาซึ่งอุดมศึกษาไม่จำเป็น[1]

การทำงานต่ำระดับมีการศึกษาจากหลายมุมมอง ทั้งเศรษฐศาสตร์ การจัดการ จิตวิทยา และสังคมวิทยา ตัวอย่างเช่น ในวิชาเศรษฐศาสตร์ คำว่า "การทำงานต่ำระดับ" มีความหมายและการใช้ต่างกันสามอย่าง ทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่บุคคลกำลังทำงาน ซึ่งต่างจากการว่างงานที่หมายถึงบุคคลที่กำลังหางานทำแต่ไม่มีอาชีพ ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานต่ำกว่าควรซึ่งบทนิยามและการวัดการว่างงานอย่างเป็นทางการ (ของหน่วยงานรัฐ) ส่วนใหญ่ไม่ได้นับ

ในวิชาเศรษฐศาสตร์ การทำงานต่ำระดับอาจหมายถึง:

  1. "การมีคุณวุฒิสูงเกิน" หรือ "การมีการศึกษามากเกิน" (overeducation) หรือการจ้างแรงงานที่มีการศึกษา ระดับทักษะหรือประสบการณ์สูงในอาชีพที่ไม่ต้องใช้ความสามารถเพียงนั้น[5] ตัวอย่างเช่น แพทย์ที่ผ่านการฝึกพร้อมเอกสารรับรองจากต่างประเทศที่ทำงานเป็นคนขับแท็กซี่จัดเป็นการทำงานต่ำระดับชนิดนี้
  2. งาน "ไม่เต็มเวลาโดยไม่สมัครใจ" (involuntary part-time) โดยที่แรงงานสามารถทำงานเต็มสัปดาห์งานได้ แต่พบเฉพาะงานไม่เต็มเวลา นอกจากนี้ คำนี้ยังใช้ในการวางแผนภูมิภาคเพื่ออธิบายภูมิภาคที่มีอัตรากิจกรรมทางเศรษฐกิจต่ำผิดปกติเนื่องจากขาดโอกาสอาชีพ โอกาสการฝึกอาชีพ หรือเนื่องจากขาดบริการอย่างการรับเลี้ยงเด็กและการขนส่งสาธารณะ
  3. "การมีพนักงานมากเกิน" หรือ "การว่างงานแบบังคับ" (hidden unemployment) เป็นการปฏิบัติที่ธุรกิจหรือเศรษฐกิจทั้งหมดจ้างแรงงานที่ไม่ได้ทำงานเต็มเวลา ตัวอย่างเช่น คนงานที่ปัจจุบันไม่ถูกใช้ผลิตสินค้าหรือบริการเนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายหรือสังคม หรือเพราะงานนั้นมีลักษณะตามฤดูกาลอย่างสูง

การทำงานต่ำระดับเป็นสาเหตุสำคัญของความยากจน แม้แรงงานสามารถหางานไม่เต็มเวลาได้ แต่รายรับไม่เต็มเวลานั้นอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการพื้นฐาน การทำงานต่ำระดับเป็นปัญหามากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอัตราการว่างงานมักค่อนข้างต่ำ เนื่องจากแรงงานส่วนมากทำงานยังชีพหรืองานไม่เต็มเวลาบางโอกาส ค่าเฉลี่ยแรงงานเต็มเวลาต่อประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลกอยู่ที่ 26% เทียบกับ 30–52% ในประเทศพัฒนาแล้ว และ 5–20% ในทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่[6]

อ้างอิง แก้

  1. https://www.washingtonpost.com/news/wonk/wp/2014/11/19/baristas-of-the-world-unite-why-college-grads-may-be-stuck-at-starbucks-even-longer-than-they-thought/
  2. Feldman, D. C. (1996). The nature, antecedents and consequences of underemployment. Journal of Management, 22(3), 385–407. doi:10.1177/014920639602200302
  3. Chohan, Usman W. "Young people worldwide fear a lack of opportunities, it's easy to see why" The Conversation. September 13, 2016.
  4. Chohan, Usman W. "Young, Educated and Underemployed: Are we Building a Nation of PhD Baristas" The Conversation. January 15, 2016.
  5. Erdogan, B., & Bauer, T. N. (2009). Perceived overqualification and its outcomes: The moderating role of empowerment. Journal of Applied Psychology, 94(2), 557–65. doi:10.1037/a0013528
  6. Gallup, Inc. "Gallup Global Employment Tracking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-11. สืบค้นเมื่อ 15 October 2014.