การตีกรุงโรมแตก (ค.ศ. 410)

การตีกรุงโรมแตก (อังกฤษ: Sack of Rome) ในปี ค.ศ. 410 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 410 โดยกรุงโรมถูกโจมตีโดยชนวิสิกอธที่นำโดยอาลาริคที่ 1 หลังจากที่จักรพรรดิโฮโนริอัสย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังราเวนนาเมื่อวิสิกอธเริ่มเข้ามารุกรานอิตาลี

การปล้นสะดมโรม (ค.ศ. 410)
ส่วนหนึ่งของ การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก

การปล้นสะดมโรมโดยชนป่าเถื่อนใน ค.ศ. 410 โดย Joseph-Noël Sylvestre, ค.ศ. 1890
วันที่24 สิงหาคม ค.ศ. 410
สถานที่
ผล วิซิกอทชนะอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
ชาววิซิกอท จักรวรรดิโรมันตะวันตก
ชาวฮัน[a]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อาลาริคที่ 1
อาตาอุลฟ์
จักรพรรดิฮอโนริอุส
กำลัง
น่าจะมีทหาร 40,000 นาย[6]
ไม่ทราบจำนวนพลเมืองที่ติดตาม
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ ไม่ทราบ

การเสียกรุงโรมครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 800 ปี ครั้งแรกที่เสียเมืองเกิดขึ้นเมื่อปี 387 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อเสียแก่กอลในยุทธการอัลเลีย นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่าการเสียเมืองครั้งนี้เป็นการเริ่มต้นของความเสื่อมโทรมของจักรวรรดิโรมัน นักบุญเจอโรม ผู้เป็นพลเมืองโรมขณะอยู่ในเบธเลเฮม บรรยายว่า: "เมืองที่เคยปกครองโลกทั้งโลกโดนยึดเองเสียแล้ว"[7]

หมายเหตุ แก้

  1. ชาวฮันมีส่วนในการป้องกันจักรวรรดิโรมตะวันตกในช่วงการรุกรานอิตาลีครั้งแรกของวิซิกอท; หลังเอาชนะและสังหาร magister militum กาอินัส ทางโรมันจึงเรียกตัวอุลดิน กษัตริย์ฮัน ไปที่ิอิตาลี และช่วยเอาชนะและสังหารราดาไกซุส กษัตริย์กอทที่รุกรานอิตาลี ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 406[1] ชาวฮันก็มีส่วนในการป้องกันโรมในการปะทะก่อนหน้าการล้อมครั้งที่สอง (ค.ศ. 409) ในการรุกรานอิตาลีครั้งที่สองของวิซิกอท ฝ่ายฮัน 300 คนเอาชนะพวกกอท โดยมีรายงานว่าสังหารไป 1,100 คน ฝ่ายของตนสูญเสียไป 17 คน ก่อนที่กองทัพกอทที่เหลือจะเข้ามาและขับพวกฮันไปที่ราเวนนา[2] ชาวฮันก็มีส่วนจำนวนมาก โดยจักรพรรดิฮอโนริอุสพยายามเกณฑ์ชาวฮัน 10,000 คน[3][4] ข่าวความตั้งใจของฮอโนริอุสทำให้อาลาริคเดินทางไปต่อรองใหม่ ท้ายที่สุด ก็ไม่มีการเกณฑ์ชาวฮัน 10,000 คน[5]

อ้างอิง แก้

  1. Maenchen-Helfen, Otto J. (2022). Knight, Max (บ.ก.). The World of the Huns Studies in Their History and Culture. University of California Press. p. 60. ISBN 9780520302617. สืบค้นเมื่อ 19 November 2022.
  2. Burns, Thomas S. (1994). Barbarians Within the Gates of Rome A Study of Roman Military Policy and the Barbarians, Ca.375–425 A.D. Indiana University Press. p. 236. ISBN 9780253312884. สืบค้นเมื่อ 18 November 2022.
  3. The Cambridge Ancient History Volume 13, (Cambridge University Press, 1998), p. 126
  4. Arnold Hugh Martin Jones, The Later Roman Empire, 284–602, (The Johns Hopkins University Press, 1964), p. 186.
  5. Arnold Hugh Martin Jones, The Later Roman Empire, 284–602, (The Johns Hopkins University Press, 1964), p. 199.
  6. Peter Heather, The Fall of the Roman Empire: A New History of Rome and the Barbarians (Oxford University Press, 2006), p. 224.
  7. St Jerome, Letter CXXVII. To Principia, s:Nicene and Post-Nicene Fathers: Series II/Volume VI/The Letters of St. Jerome/Letter 127 paragraph 12.

อ่านเพิ่ม แก้