การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา

บารัก โอบามาเริ่มดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังจากเข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 44 อดีตโอบามาเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอย และเขาเอาชนะสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแอริโซนา จอห์น แมคเคน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 2008

การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามา
20 มกราคม ค.ศ. 2009 – 20 มกราคม ค.ศ. 2017
รองประธานาธิบดี
คณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีบารัก โอบามา
พรรคเดโมแครต
การเลือกตั้ง
แต่งตั้งโดยคณะผู้เลือกตั้ง
ที่ทำการทำเนียบขาว

ตราประจำตำแหน่งประธานาธิบดี
เว็บไซต์ที่เก็บถาวร
เว็บไซต์ห้องสมุด
พิธีเข้ารับตำแหน่งของบารัก โอบามา

ช่วงเปลี่ยนผ่าน แก้

ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของโอบามาเริ่มต้นขึ้น หลังจากโอบามาชนะการเลือกตั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โครงการโอบามา-ไบเดินได้ร่วมมือกับ จอห์น โปรเดสตา, วาเลลีย์ จาร์เร็ตต์ และ พีท เราส์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ โอบามาประกาศเป็นตัวแทนที่จะเข้าไปเป็นคณะรัฐมนตรี ในการบริหารชาติบ้านเมือง ในระยะเวลาหลังจกาวันที่ 4 พฤศจิกายนไม่นาน เขาเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐอิลลินอย ราห์ม เอมมานูเอล เป็นหัวหน้าคณะทำเนียบขาว[1]

การเตรียมการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้รวมไปถึงฮิลลารี คลินตันด้วย ผู้ซึ่งเคยเป็นคู่แข่งของโอบามาภายในพรรคเดโมแครต ให้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ และบิล ริชาร์ดสัน เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์[2] ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2008 โอบามาไปทาบทามให้โรเบิร์ต เกตเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมต่อไป ถึงจะอยู่พรรครีพับลิกันก็ตาม[3] โอบามามีแผนจะบรรจุตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติเข้ามาอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีด้วย และอดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ด้านความสัมพันธ์กับประเทศแอฟริกาซูซาน ไรส์ก็เข้ามาร่วมตำแหน่งอีกเช่นเดียวกัน ตอนที่กำลังเกิดเหตุการวิกฤตการเงินโลกในปี 2008–2009 นั้นโอบามาเสนอชื่อ ทิโมธี เอฟ. จีอีทเทอร์ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง[4]

ระหว่างนี้ โอบามาได้ปรับปรุงเว็บไซต์ Change.gov ใหม่ ภายในเว็ปจะมีบล็อกที่โอบามาเขียนลงแล้วให้คนทั่วไปได้อ่าน และอัปโหลดวิดีโอแถลงการณ์ต่าง ๆ ของรัฐมนตรีแต่ละคน[5]

พิธีเข้ารับตำแหน่ง แก้

บารัก โอบามาเข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2009 เวลาเที่ยงคืนตามเวลาของประเทศไทย[6] หลังประกอบพิธีเสร็จ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อประชาชนเรือนล้าน เสร็จแล้วเดินเข้าห้องทำงานของประธานาธิบดี ในอาคารรัฐสภาสหรัฐเพื่อลงนามในเอกสาร 3 ฉบับคือ อนุสรณ์ของคำแถลงการณ์, รายชื่อการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และรายชื่อการแต่งตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรี ก่อนที่จะไปรับประทานอาหารมื่อเที่ยงในรัฐสภาและหัวหน้าฝ่ายบริการ และเชิญแขกมาร่วมรับประทานอาหารนั้น[7] ได้มีการจัดงานอนุสรณ์วันคล้ายวันเกิดของประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น โอบามาได้ใช้มือวางบนคัมภีร์ไบเบิลเล่มเดี่ยวกับลินคอล์น ในการทำพิธีสาบานตนในครั้งนี้[8]

ในการประกอบพิธีเข้ารับตำแหน่งครั้งนี้ หัวหน้าผู้พิพากษา จอห์น จี. โรเบิร์ต อ่านคำสาบานผิด จากคำว่า President of the United States" เป็น "President to the United States" ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงมีการประกอบพิธีใหม่ภายในอาคารทำเนียบขาว[9] ในวันที่ 21 มกราคม โรเบิรฺ์ตทำพิธีซ้ำอีกรอบในห้อง Map Room ภายในทำเนียบขาว โอบามานับว่าเป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 ที่ได้ทำพิธีซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ที่ปรึกษาทำเนียบขาว เกรก เคร็ก กล่าวถึงการทำพิธีซ้ำอีกครั้งว่า "พิธีเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ"[10] การสาบานตนครั้งที่ 2 นี้โอบามาไม้ได้วางมือไว้บนคัมภีร์ไบเบิลเหมือนครั้งแรก[11] ซึ่งเหมือนกับประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ ที่ไม้ได้ใช้มือวางบนคัมภีร์ไบเบิล[12]

100 วันแรก แก้

ความคาดหวัง แก้

ตั้งแต่แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรก 100 วันแรกของการบริหารงานได้กำหนดวัตถุประสงค์ และประสิทธิภาพของคนที่จะมาเป็นประธานาธิบดี โอบามาจะบริหารงานครบ 100 วันในวันที่ 29 เมษายน ภายหลังจากการเลือกตั้งโอบามาให้สัมภาษณ์ทางนิตยสาร 60 Minutes เขาบอกว่าเขาได้ศึกษานโยบาย 100 วันแรกของโรสเวลต์ แต่เขายังกล่าวอีกด้วยว่า "100 วันแรกจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่อาจเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็น 1,000 วันแรกที่จะสร้างความแตกต่าง"

อย่างไรก็ตาม 100 วันแรกของโอบามาได้คาดคะเนอย่างสูงตั้งแต่เขากลายเป็นตัวแทนข้อสันนิษฐาน ทางออกหลายๆข่าวได้สร้างงานเขียนที่ให้ครอบคลุมประเด็น นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักในเรื่องของสิ่งที่ท้าทายและการจัดลำดับความสำคัญต่อนโยบายภายในประเทศ ต่างประเทศ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซีเอ็นเอ็นขึ้นบัญชีจำนวนของนโยบายเศรษฐกิจว่า "โอบามาและทีมงานของเขาจะต้องดำเนินการภายใน 100 วันแรกที่พวกเขาเข้ามาทำงาน" แรกสุดท่ามกลางสิ่งที่ผ่านและทำให้เป็นผลสำเร็จในเพ็กเกจฟื้นฟู ที่จะจัดการกับวิกฤ๖เศรษฐกิจ คลิฟ สแตฟฟอร์ด สมิธ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนชาวอังกฤษได้แสดงความหวังว่า ประธานาธิบดีคนใหม่จะปิดเรือนจำกวนตานาโมใน 100 วันแรก หลังจกาผู้ช่วยของประธานาธิบดีประกาสว่าความตั้งใจของเขานั้นจะให้คำกล่าวสุนทรพจน์นโยบายต่างประเทศอย่างยิ่งใหญ่ ในเมืองหลวงของประเทศอิสลาม มีการคาดเดาในจากาตาร์ว่านโยบายของโอบามาอาจย้อนกลับไปยังเมืองที่เคยอยู่อาศัยภายใน 100 วันแรก

เดอะนิวยอร์กไทม์ทุ่มเทในการเขียนเรื่องราว 5 ส่วนซึ่งถูกอ่านอย่างกว้างขวางเกินกว่า 2 สัปดาห์ โดยวิเคราะห์นโยบาย 100 วันแรกของโอบามา แต่ละวันนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญด้านการเมืองถูกติดตามโดยเว็ปบล็อกที่มีการแก้ไขอย่างเสรีทีโพสต์โดยคนทั่วไป ผู้เขียนเปรียบเทียบความเป็นไปได้ของโอบามากับสถานการณ์ของแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ลินดอน บี. จอห์นสัน โรนัลด์ เรแกน และริชาร์ด นิกสัน

การออกกฎหมายและคำสั่งของรัฐบาล แก้

ภายในนาทีที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม หัวหน้าคณะทำเนียบขาวของโอบามาราห์ม เอมมานูเอล สั่งให้เลื่อนการออกกฎหมายรัฐบาลกลางนาทีสุดท้ายที่ผลักดันโดยประธานาธฺบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช การวางแผนเพื่อทบทวนทุกสิ่งที่ยังคงค้างอยู่ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดี เคยประกาศใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการตรึงราคาเงินเดือนสำหรับคณะทำเนียบขาวอาวุโสกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เช่นเดียวกับการประกาศแนวนโบายพิจารณาพวกที่มีอิธิพลต่อสมาชิกของรัฐสภา เพื่อประโยชน์ของตัวเองในสิ่งที่พยายามเพิ่มมาตรฐานทางจริยธรรมภายในทำเนียขาว เขาขอให้ยกเลิกความเป็นเจ้าของในข้อตกลงใหม่ของเขา การแต่งตั้ง วิลเลียม ลิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม การนำในการวิจารณ์ของเรื่องของผู้หลอกลวง และความรุนแรงของการวางมัดจำของเขาให้กับรัฐบาลอย่างเปิดเผย

ในสัปดาห์แรกที่เขาเข้ามาทำงาน โอบามาลงนามในคำสั่งให้ยับยั้งระเบียบปฏิบัติที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งหมดของคณะกรรมการกองทัพกวนตานาโม และออกคำสั่งให้ปิดภายในปี 2009 เขาออกคำสั่งให้ซื้อสินค้าที่ Army Field Manuak ต้องการเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องจับเท็จผู้ก่อการร้าย การห้ามไม่ให้มีการทรมานและเทคนิคการข่มขู่ที่ละเมิดกฎหมาย เช่น waterboarding โอบามาลงนามในคำสั่งโดยให้อำนาจมอบหมายงานที่มีจริยธรรมโดยสาชาการบริหารส่วนบุคคล การตั้งขีดจำกัดอย่างเคร่งครัดในเรื่องของสาขาการบริหารของนายจ้าง และการตั้งข้อกำหนดอย่างปลอดภัยในเรื่องของการล็อบบี้ในทำเนียบขาว โอบามาลงนามเกี่ยวกับความเป็นอิสระของพลังงานในบันทึกสรุปของประธานาธิบดี ซึ่งสั่งการให้กรมขนส่งตั้งมาตรฐานประสิทธิภาพเชื้อเพลิงให้สูงขึ้นก่อนที่จะมีแบบจำลองในปี 2011 และประกาศใช้ต่อมาและอนุมัติให้แต่ละรัฐเพิ่มมาตรฐานให้สูงขึ้นกว่ามาตรฐานของประเทศ โอบามายุตินโยบายเม็กซิโกซิตี้ ที่ห้ามไม่ให้กองทุนระหว่างประเทศเตรียมที่จะยุติบริการหรือให้คำแนะนำ

อ้างอิง แก้

  1. Jeff Zeleny and Peter Baker (November 6, 2008). "Rahm Emanuel Accepts Post as White House Chief of Staff". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
  2. change.gov (November 24, 2008). "Geithner, Summers among key economic team members announced today" (Press release). Newsroom. Office of the President-elect. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
  3. Baker, Peter (November 25, 2008). "Defense Secretary Said to Be Staying On". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
  4. Baker, Peter (November 30, 2008). "Obama's Choice for U.N. Is Advocate of Strong Action Against Mass Killings" (Article). U.S. Politics. The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 6, 2008.
  5. change.gov. "Official Obama-Biden Transition Website". Office of the President-elect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
  6. United States Constitution. "20th Amendment to the United States Constitution". สืบค้นเมื่อ January 21, 2009.
  7. CNN Political Ticker (January 20, 2009). "Obama Signs First Presidential Proclamation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-02. สืบค้นเมื่อ January 20, 2009.
  8. Kelley, Matt (2009-01-19). "Obama to be sworn in on 'Lincoln Bible'" (Article). USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-01-26.
  9. "Chief justice fumbles oath". Washington Times. 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2009-01-25.
  10. Obama takes presidential oath again after stumble (Yahoo)
  11. "Barack Obama sworn in again: Taking the Presidential oath - a second time!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
  12. "The Oath of Office". USInfo.State.gov. 2008-12-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-18. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้