การค้าเสรี (อังกฤษ: Free Trade) คือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่หมายถึงการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศโดยไม่มีการเก็บภาษีศุลกากร และการกีดกันทางการค้าอื่นๆ รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานและทุนข้ามเขตแดนระหว่างประเทศโดยอิสระ การค้าเสรีคือสภาวะที่ไม่มีการกีดกันใดๆ โดยรัฐบาลกับการค้าระหว่างปัจเจกบุคคลหรือบริษัท ที่อยู่คนละประเทศ โดยทั่วไปแล้ว การค้าระหว่างประเทศมักถูกจำกัดด้วยภาษี, ค่าธรรมเนียมในการนำเข้าและส่งออกสินค้า, และกฎเกณฑ์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรในการนำเข้า ในทางทฤษฎีแล้วการค้าเสรีนั้นต้องการยกเลิกข้อจำกัดเหล่านี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ในข้อตกลงทางการค้าที่เรียกว่า "การค้าเสรี" นั้น อาจสร้างข้อกีดกันบางอย่างขึ้นมาก็ได้ นักวิจารณ์มองว่าการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัท

การค้าระหว่างประเทศ
ประวัติการค้าระหว่างประเทศ
มุมมองการเมือง
การค้าโดยชอบธรรม
การค้าเสรี
การค้าคุ้มกัน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การให้สิทธิพิเศษทางการค้า
เขตการค้าเสรี
สหภาพศุลกากร
ตลาดร่วม
สหภาพทางเศรษฐกิจ

บางกลุ่มประเทศ เช่น สหภาพยุโรป ได้เปิดให้มีการค้าเสรีรูปแบบหนึ่ง ระหว่างประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม ยังมีการโต้เถียงกันอยู่ว่า การค้าเสรีนั้น จะช่วยประเทศโลกที่สามได้หรือไม่ และการค้าเสรีนั้น เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาจริงหรือไม่

ข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้งของการค้าเสรี แก้

เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการค้าเสรี แก้

ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าเสรี แก้

บทความที่เกี่ยวข้อง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้