การคมนาคมในลอนดอน

การคมนาคมในลอนดอน อยู่ในรูปแบบของถนน ระบบรถไฟ และการคมนาคมทางอากาศในกรุงลอนดอน เมืองหลวงของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นระบบที่มีความสลับซับซ้อนและกว้างใหญ่ และเป็นระบบที่มีทั้งการบริหารโดยรัฐบาลท้องถิ่นและการบริหารโดยเอกชน ซึ่งเป็นรากฐานของระบบถนนและรถไฟของประเทศ นอกจากนี้ลอนดอนยังมีสนามบินอีกหลายสนามบิน เช่น ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เป็นต้น และท่าเรือลอนดอน บนฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่ใช้ในการคมนาคมกับทะเลเหนือ

สัญลักษณ์ของ องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน

การคมนาคมภายในลอนดอนเป็นหนึ่งในสี่ของนโยบายที่นายกเทศมนตรีลอนดอนจักต้องรับผิดชอบ และหน่วยงานที่บริหารระบบการคมนาคมมีชื่อว่า องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอน (อังกฤษ: Transport for London หรือย่อว่า TfL) TfL ควบคุมขนส่งมวลชนในพื้นที่ รวมทั้ง รถไฟใต้ดิน รถเมล์ท้องถิ่น แทรมลิงก์ และรถไฟเบาสายดอคแลนดส์ (อังกฤษ: Docklands Light Railway หรือย่อว่า DLR) แต่ขณะนี้ TfL ไม่มีอำนาจในการบริหารระบบรถไฟแห่งชาติที่ให้บริการภายในเขตนครลอนดอนและปริมณฑล ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ TfL ยังมีหน้าที่ควบคุมถนนสายหลักแต่มิได้มีหน้าที่ในการคุมถนนสายย่อยซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารส่วนท้องถิ่น (ดูรายละเอียดด้านล่าง)

รถไฟใต้ดินและรางเบา แก้

องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอนบริหารรถไฟสองระบบที่มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของระบบรถไฟแห่งชาติ ระบบแรกคือ รถไฟใต้ดินลอนดอน และระบบที่สองซึ่งเล็กกว่าคือ รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ โดยบริการเหล่านี้อยู่ในเขตใจกลางลอนดอน ลอนดอนตะวันออก และลอนดอนตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้องค์การก็ยังบริหารระบบ แทรมลิงก์ (รถราง) ซึ่งอยู่ในบริเวณใจกลางแถบครอยดอน ด้วยสายต่าง ๆ ไปที่วิมเบิลดัน นิวแอดดิงตัน และเบ็คเคนแฮม ระบบรถไฟเหนือดินใต้ดินมีลักษณะเหมือนระบบถนน กล่าวคือเสมือนกับระบบแผ่รัศมีออกไปยังชานเมืองจากจุดศูนย์กลาง

รถไฟใต้ดินลอนดอน แก้

 
สายจูบิลีที่สถานีกรีนพาร์ก

รถไฟใต้ดินลอนดอนรู้จักทั่วไปในนาม "The Tube" (เดอะทิวบ์ - ท่อ) ซึ่งเป็นระบบการคมนาคมขนส่ง (อังกฤษ: Rapid transit) ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2406 วันหนึ่ง ๆ มีผู้โดยสารมากกว่า 3 ล้านคนใช้บริการรถไฟใต้ดิน รถไฟใต้ดินลอนดอนมีจำนวนผู้โดยสารถึง 1 ล้านล้านคนต่อปี เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549 [1] รถไฟใต้ดินลอนดอนมีด้วยกันทั้งหมด 11 สาย (สายอีสต์ลอนดอนถูกปิดลงเพื่อปรับปรุงและจะเปิดให้บริการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553 ในฐานะรถไฟเหนือดินลอนดอน) โดยส่วนใหญ่เชื่อมต่อเขตชานเมืองเข้ากับใจกลางลอนดอนและทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งผู้โดยสารภายในตัวลอนดอนไปตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะจากสถานีรถไฟหลัก ๆ

รถไฟใต้ดินให้บริการลอนดอนทางเหนือแม่น้ำเทมส์มากกว่าทางใต้ สาเหตุเนื่องมาจากปัญหาทางธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์ ความเป็นคู่แข่งทางประวัติศาสตร์ระหว่างสองบริเวณนี้ ฯลฯ ซึ่งเป็นการทำให้รถไฟถูกสร้างในบริเวณเหนือแม่น้ำเทมส์เป็นส่วนใหญ่ การคมนาคมของลอนดอนทางใต้ส่วนใหญ่จึงเป็นรถไฟบนบก (แต่โดยทั่วไปแล้วระบบรถไฟใต้ดินลอนดอนก็วิ่งให้บริการบนบกมากกว่าในอุโมงค์ใต้ดิน)

รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ แก้

 
รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ที่สถานีทาวเวอร์เกตเวย์ หนึ่งในสถานีปลายทางของเขตนครหลวงลอนดอน

รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ (อังกฤษ: Docklands Light Railway หรือ DLR) เป็นระบบรถไฟลอยฟ้ารางเบา ให้บริการบริเวณดอคแลนดส์ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของลอนดอน เป็นบริการเสริมระบบรถไฟใต้ดินลอนดอนโดยใช้ระบบการเก็บค่าโดยสารร่วมกัน และมีจุดการแลกเปลี่ยนเส้นทางซึ่งกันและกัน ปัจจุบันศูนย์กลางของการบริการของสายดอคแลนดส์อยู่ในเขตธุรกิจ คะแนรีวอร์ฟ (อังกฤษ: Canary Wharf) ถึงแม้ว่าจะมิใช่บริเวณที่เป็นจุดประสงค์ดั้งเดิมของการเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2530 ก็ตาม

ความสำเร็จของ คะแนรีวอร์ฟ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ขยายการบริการได้อย่างรวดเร็วหลายเท่าตัว โดยในขณะนี้มีเส้นทางทั้งหมด 5 เส้นเชื่อมต่อ ไอลส์ออฟดอกส์ กับ รอยัลดอคส์ และไปยัง นครหลวงลอนดอน สแตรทฟอร์ด และ หลุยสชัม ทางใต้ของแม่น้ำ นอกจากนั้นยังให้บริการสนามบินลอนดอนซิตี การขยายบริการอีกหลายส่วนยังคงอยู่ในระหว่างการวางแผนและการก่อสร้างรวมทั้งอีกสายหนึ่งที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเทมส์ที่วูลลิชด้วย และอีกสายหนึ่งทางเหนือเชื่อมต่อไปยังสถานีสแตรทฟอร์ด อินเตอร์แนเชอนัล ทางตะวันออกของลอนดอน ซึ่งเป็นจุดที่ผู้โดยสารเปลี่ยนไปใช้ระบบรถไฟความเร็วสูง “High Speed 1” ที่วิ่งระหว่างลอนดอนไปยังช่องแคบอังกฤษ

รถราง แก้

 
แทรมลิงก์ที่สถานีชุมทางเบ็คเค็นแนม

ระบบรถรางในลอนดอนเป็นระบบรถรางเก่าแก่ที่สุดในโลกย้อนเวลากลับไปถึงยุควิกตอเรียตอนต้น และยังคงเป็นเครือข่ายรถรางที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ อย่างไรก็ตามระบบรถรางถูกยกเลิกไปตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 25 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20) แต่ระบบรถรางมาเปิดบริการอีกครั้งในปี พ.ศ. 2543 เพื่อที่จะให้บริการย่านครอยดอนซึ่งเป็นพื้นที่ทางใต้ของลอนดอน ระบบรถรางใหม่นี้ถูกตั้งชื่อว่า "แทรมลิงก์" (อังกฤษ: Tramlink) แทรมลิงก์เชื่อมต่อครอยดอนและระบบรถไฟบนบกเพื่อที่จะบริการได้รอบเขตชานเมือง และต่อไปยังที่วิมเบิลดันทางตะวันตกเฉียงเหนือ การขยายไปที่คริสตัลพาเลชกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผน

รางหนัก แก้

 
รถไฟเซาท์อีสเติร์นเทรนส์ ที่ สถานีกรีนนิช
 
รถไฟยูโรสตาร์ที่ วอเตอร์ลู อินเตอร์เนเชอนัล ถูกเปลี่ยนเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ไปที่ พานคราส์

ลอนดอนเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายระบบรถไฟในบริเตนใหญ่ที่ประกอบด้วยสถานีปลายทาง 14 สถานีที่แก่ผู้ทำงานในลอนดอน, บริการสลับเปลี่ยน ภายในเมือง, สนามบิน และ บริการที่เชื่อมต่อกับยุโรป บริเวณใดในลอนดอนที่ไม่มีบริการรถไฟใต้ดิน หรือ DLR ก็จะได้รับบริการรางหนักไปยังสถานีปลายทางดังกล่าว บริการในปริมลฑลที่ว่านี้มิได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอนแต่เป็นเจ้าของและบริหารโดยบริษัทเอกชนต่างๆ

สถานีปลายทางเหล่านี้ ได้แก่ แบล็คไฟรเออร์ส, แคนนอนสตรีท, ชาริงครอส, ยูสตัน, เฟ็นเชิร์ชสตรีท, คิงสครอส, ลิเวอร์พูลสตรีท, ลอนดอนบริดจ์, มอร์เกท, มาเรอเบิน, แพดดิงตัน, เซนต์แพนครัส, วิกตอเรีย และ วอเตอร์ลู

ระบบรถไฟสำหรับผู้ทำงานในลอนดอน แก้

ลอนดอนเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายรถไฟไปกลับสำหรับผู้เดินทางเข้ามาทำงานในลอนดอนทุกวันที่มีขอบเขตกว้างและแผ่ออกจากศูนย์กลางเพื่อให้บริการแก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในนครลอนดอนและปริมณฑล สถานีปลายทางแต่ละสถานีก็จะเชื่อมโยงกับบริเวณเฉพาะของบริเวณนั้น ผู้โดยสารที่เดินทางไปทำงานในใจกลางลอนดอนส่วนใหญ่ (ประมาณ 80% ของผู้โดยสารทั้งหมด 1.1 ล้าน) เดินทางโดยรถไฟใต้ดินลอนดอน (วันละสี่แสนคน) หรือ โดยรถไฟบนดิน (วันละแปดแสนหกหมื่นคน)[2]


ระบบรถไฟระหว่างเมือง แก้

บริการระหว่างเมืองไม่ได้ออกขบวนจากสถานีปลายทางทั้งหมด แต่แต่ละสถานีปลายทางจะให้บริการรถไฟไปถึงจุดหมายเฉพาะตามจุดต่างๆ ในประเทศ สถานีปลายทางสำหรับรถไฟระหว่างเมืองส่วนใหญ่คือ แพดดิงตัน (สำหรับการบริการทางด้านตะวันตกของ อังกฤษ และ เวลส์ตอนใต้), วอเตอร์ลู (สำหรับการบริการด้านตะวันออกเฉียงใต้/ตะวันตกเฉียงใต้ของ อังกฤษ และ; เซาท์แธมทัน, พอร์ทสมัธ, บอร์นมัธ และ เวย์มัธ), วิกตอเรีย (สำหรับการบริการด้านชายฝั่งด้านใต้และไบร์ทัน), ยูสตัน (สำหรับการบริการทางบริเวณเวสต์มิดแลนด์, เวลส์ตอนเหนือ, ตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษ และกลาสโกว์), เซนต์แพนครัส (สำหรับการบริการทางอีสต์มิดแลนด์), คิงสครอส (สำหรับการบริการภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษและเอดินบะระ) และ ลิเวอร์พูลสตรีท (สำหรับ อีสต์แองเกลีย ภาคออกเฉียงเหนือของอังกฤษ)

บริการสนามบิน แก้

สนามบินฮีทโธรว์, แกตวิค และ สแตนสเตด มีบริการรถไฟเฉพาะเข้าสู่ใจกลางเมือง นอกไปจากบริการปกติสำหรับแกตวิคและสแตนสเตด บริการฮีทโธรว์เอ็กซ์เพรสจากแพดดิงตัน ให้บริการโดยบริษัทผู้ควบคุมสนามบิน - บริษัทบีเอเอ ขณะที่แกตวิคเอ็กซ์เพรส จาก วิกตอเรีย และ สแตนสเตดเอ็กซ์เพรส จากลิเวอร์พูลสตรีท ให้บริการโดยบริษัทอื่นที่ให้บริการรถไฟ

รถไฟระหว่างประเทศ แก้

บริการรถไฟระหว่างประเทศให้บริการโดยยูโรสตาร์จาก เซนต์แพนครัส ไปยัง ปารีส และ บรัสเซลส์ ผ่าน อุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ โดยหยุดที่ สแตรทฟอร์ด ใน ลอนดอนตะวันออก ระบบใหม่นี้เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งตัดเวลาเดินทางไปราว 20 - 25 นาทีเมื่อเปรียบเทียบกับบริการก่อนหน้านั้นที่ผู้โดยสารต้องเดินทางไปที่ วอเตอร์ลูอินเตอร์แนเชอนัลก่อน ดังนั้นการเดินทางไปปารีสจึงเหลือเพียง 2 ชั่วโมง 15 นาที และบรัสเซลเพียง 1 ชั่วโมง 51 นาที[3]

รถโดยสารประจำทาง แก้

 
รถโดยสารประจำทางสองชั้น ให้บริการในเส้นทาง 13

เครือข่ายรถโดยสารประจำทางในลอนดอนเป็นระบบที่กว้างใหญ่มากโดยมีตารางเวลาบริการมากกว่า 6,800 ตารางทุกวันสัปดาห์และบรรทุกผู้โดยสารประมาณราวหกล้านคนในกว่า 700 เส้นทางที่แตกต่างกัน [4] รถโดยสารประจำทางเน้นการให้บริการระดับท้องถิ่น และให้บริการผู้โดยสารจำนวนมากกว่ารถไฟใต้ดิน นอกจากจะให้บริการในเวลากลางวันแล้ว รถโดยสารประจำทาง 100 สายในลอนดอนยังให้บริการในตอนกลางคืนตลอด 24 ชั่วโมงด้วย

องค์การการคมนาคมสำหรับลอนดอนบริหารระบบรถโดยสารประจำทางโดยมีสัญญาจ้างให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ ดูแลเส้นทางบางเส้น โดยองค์การเป็นผู้กำหนดเส้นทาง, ความถี่, ค่าโดยสาร และแม้แต่ชนิดของยานพาหนะที่จะใช้ บริษัทต่าง ๆ ประมูลราคาเพื่อที่จะบริการเหล่านี้ในราคาที่คงที่ต่อไปอีกหลาย ๆ ปี โดยมีสิ่งจูงใจและบทลงโทษเพื่อทำให้บริษัทเหล่านี้มีกำลังใจที่จะสร้างบริการที่ดี

บริการหลายบริการใช้รถสองชั้นสีแดงซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นพาหนะ ซึ่งเป็นจุดเด่นของรถโดยสารประจำทางลอนดอนมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่แล้ว ปัจจุบันมีการปรับสีใหม่ต่าง ๆ ทำให้รถโดยสารประจำทางหลาย ๆ คันมิได้เป็นรถสองชั้นสีแดงเพียงเท่านั้น หากแต่เป็นรถสีอื่น ๆ และบางคันก็มีเพียงชั้นเดียวด้วย

ถนน แก้

ลอนดอนมีการจัดถนนเป็นระบบตามลำดับขั้นเรียงลำดับตามความสำคัญแผ่ออกจากศูนย์กลางและไล่วนเส้นทางลงไปยังถนนสายรองหรือ "เส้นทางขนาดเล็ก" และในตำแหน่งที่ดีที่สุดของถนนจะมีทางด่วน, ทางยกระดับ และ ทางคู่ขนาน ซึ่งแบ่งออกได้อีก คือ ถนนที่ไม่ใช่ทางยกระดับ ถนนคู่ขนานในเขตเมืองไล่ลงมาถึง ถนนเล็ก ๆ ในท้องถิ่น.

เส้นทางหลัก แก้

เส้นทางขนาดเล็ก แก้

ค่าเข้าเมือง แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอนออกกฎข้อบังคับใหม่โดยการเก็บค่าเข้าเมือง (Congestion charge) วันละ £5 สำหรับผู้ขับยานพาหนะจากภายนอกบริเวณเข้าไปในบริเวณที่กำหนดไว้ในลอนดอนระหว่างชั่วโมงทำงาน (peak hours) [5] นักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังการเก็บค่าเข้าเมืองอ้างว่าหลังจากการเริ่มเก็บค่าเข้าเมืองการจราจรในลอนดอนก็เบาบางลงอย่างเห็นได้ชัดอันเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพในการบริการรถประจำทางและรถแท็กซี่เพิ่มมากขึ้น[6] แต่ข้ออ้างนี้ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ค่าเข้าเมืองเพื่มเป็น £8 ต่อวันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548[7] ในปี พ.ศ. 2550 เขตการเก็บค่าเข้าเมืองก็ขยายออกไปรวมบริเวณลอนดอนตะวันตก[8]

รถรับจ้างส่วนบุคคล แก้

สนามบิน แก้

 
สนามบินฮีทโธรว์ มีผู้คนเข้าออกมากที่สุดในโลก
 
ภาพถ่ายทางอากาศของ สนามบินลอนดอนซิตี

ลอนดอนเป็นเมืองที่มีการบริการสนามบินที่ดีที่สุดในโลก โดยมีผู้โดยสารเกือบ 150 ล้านคนใช้สนามบินทั้ง 6 แห่งในปี พ.ศ. 2548 ตามลำดับขนาด สนามบินแหล่านี้คือฮีทโธรว์, แกตวิค, สแตนสเตด, ลูตอน และ ลอนดอนซิตี; สนามบินที่เล็กที่สุด บิกกินฮิลล์ ซึ่งเป็นสนามบินเดียวที่ไม่มีแผนการบิน

สนามบินฮีทโธรว์และแกตวิคบริการการบินระหว่างประเทศ ระหว่างประเทศในทวีปยุโรป และภายในประเทศ; ส่วนสนามบินสแตนสเตดและลูตอนเน้นการบริการราคาต่ำสำหรับการบินระหว่างประเทศในทวีปยุโรปและภายในประเทศ ในขณะที่สนามบินลอนดอนซิตีให้บริการสำหรับผู้โดยสารที่ทำธุรกิจในจุดหมายระยะสั้นและภายในประเทศ

โดยส่วนมากแล้วเที่ยวบินส่วนใหญ่ที่เดินทางจากประเทศไทยไปสหราชอาณาจักรโดยลงที่ลอนดอน จะลงที่สนามบินฮีทโธรว์และแกตวิค ซึ่งเป็นสนามบินหลักของลอนดอน ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ลงที่สนามบินอื่น

สนามบินที่ใกล้ที่สุดในการไปถึงใจกลางกรุงลอนดอน คือ สนามบินลอนดอนซิตี ซึ่งห่างออกไปทางทิศตะวันออกจากเขตดอคแลนดส์ ประมาณ 10 กิโลเมตร สายต่าง ๆ ของ รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ เชื่อมต่อสนามบินกับเมืองภายใน 25 นาที[9]

สนามบินอีกสองแห่งที่อยู่ชานเมืองภายในเขตนครลอนดอนและปริมณฑลคือ สนามบินบิกกินฮิลล์ ซึ่งห่างออกไปจากใจกลางลอนดอนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 23 กิโลเมตร และสนามบินหลักของลอนดอน ฮีทโธรว์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 20-25 กิโลเมตรจากใจกลางลอนดอน

สนามบินฮีทโธรว์บริการผู้โดยสารกว่า 70 ล้านคนต่อปี ซึ่งทำให้เป็นสนามบินที่ยุ่งที่สุดของทวีปยุโรป ฮีทโธรว์มีรันเวย์สองทางและอาคารผู้โดยสาร (terminal) 5 อาคาร อาคารผู้โดยสารที่ 5 เปิดในปี พ.ศ. 2551 บริการรถไฟ ฮีทโธรว์เอ็กซ์เพรส, บริการรถไฟท้องถิ่นฮีทโธรว์คอนเน็กต์ และ สายพิคคาดิลลี่ ของ รถไฟใต้ดินลอนดอน เชื่อมต่อสนามบินไปที่ใจกลางลอนดอน ส่วนทางหลวงพิเศษที่เชื่อมต่อก็มี ทางหลวงพิเศษ M4 และ M25

สนามบินแกตวิคในซัสเซกซ์อยู่ทางใต้ของใจกลางลอนดอนไปเกือบ 40 กิโลเมตรซึ่งระยะทางที่ใกลจากลอนดอนไปพอประมาณ สนามบินแกตวิคมีรันเวย์เพียงทางเดียวและมีอาคารผู้โดยสารสองอาคาร แกตวิคบริการผู้โดยสารกว่า 30 ล้านคนต่อปีทั้งจากเที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินระยะสั้น และ เที่ยวบินระยะยาว สนามบินแกตวิคเชื่อมกับลอนดอนโดยบริการแกตวิคเอกซ์เพรส, เทมส์ลิงก์, บริการรถไฟเซาท์เทิร์น และ ทางหลวงพิเศษ M23

สนามบินสแตนสเตดเป็นสนามบินที่อยู่ห่างจากลอนดอนมากที่สุด ซึ่งระยะทางอยู่ทางเหนือจากใจกลางลอนดอนประมาณ 50 กิโลเมตร ใน เอสเซกซ์ โดยสนามบินมีรันเวย์ทางเดียวและอาคารผู้โดยสารหนึ่งแห่ง ซึ่งมีผู้โดยสารกว่า 20 ล้านคนมาที่นี่ต่อปี โดยส่วนมากแล้วมาจากเที่ยวบินต้นทุนต่ำ เที่ยวบินระยะสั้น และ เที่ยวบินในประเทศ บริการ สแตนสเตดเอกซ์เพรส และ ทางหลวงพิเศษ M11 เชื่อมต่อสนามบินเข้าสู่ลอนดอน

สนามบินลูตอนอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของลอนดอน ห่างออกไปประมาณ 45 กิโลเมตร โดยมีบริการรถไฟ เฟิร์สแคปปิตอลคอนเน็กต์ และ ทางหลวงพิเศษ M1 เชื่อมต่อสนามบินไปยังลอนดอน สนามบินลูตอนมีอาคารผู้โดยสารเพียงแห่งเดียวและรันเวย์สั้น ส่วนการรองรับผู้โดยสาร สนามบินมีจุดประสงค์เดียวกับสนามบินสแตนสเตด ที่จะรองรับผู้โดยสารที่เดินทางโดย เที่ยวบินระยะสั้นต้นทุนต่า

การคมนาคมทางน้ำ แก้

 
ท่าเรือเฟสติวัล ใน แม่น้ำเทมส์

ในอดีต แม่น้ำเทมส์เป็นหัวใจสำคัญของการเดินทางหลักในลอนดอน

นอกจากนี้ สินค้าของกอง (สินค้าที่กองรวมกัน - ภาษาศุลกากร) จะถูกขนส่งทางเรือ และ นายกเทศมนตรีลอนดอนมีความประสงค์จะให้เพิ่มการใช้การคมนาคมทางน้ำนี้

ลอนดอนยังมีคลองหลายสาย รวมทั้ง คลองรีเจนทส์ ที่เชื่อมต่อแม่น้ำเทมส์กับ คลองแกรนด์ยูเนียน และดังนั้น to the waterway network across much of England. คลองเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ในการขนส่งสินค้าอีกแล้ว แต่โด่งดังด้วยเรือสำราญ


จักรยาน แก้

การปั่นจักรยานในลอนดอนได้เข้าสู่ยุคทองโดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงยุคมิลเลนเนียม (ค.ศ. 2000) นักปั่นจักรยานพบว่าพวกเขาชอบการปั่นจักรยานมากขึ้น เพราะราคาถูกกว่าและบางครั้งรวดเร็วกว่าการคมนาคมโดยขนส่งมวลชนหรือรถยนต์

ผู้คนที่อาศัยอยู่ในลอนดอนมากกว่าหนึ่งล้านคน แต่ในปี พ.ศ. 2551 การเดินทางทั้งหมดในลอนดอน มีเพียงแค่ 2% เท่านั้นที่เดินทางโดยจักรยาน : เปรียบเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในยุโรปเบอร์ลิน (5%), มิวนิก (12%), โคเปนเฮเกน (20%) และ อัมสเตอร์ดัม (28%).[10] อย่างไรก็ดี นี่เป็นการเพิ่มขึ้นมาถึง 83% ในปี พ.ศ. 2543 [11] ขณะนี้ มีการประมาณการว่า มีการเดินทางด้วยจักรยานทั้งหมด 480,000 ครั้งในแต่ละวันในลอนดอน

อ้างอิง แก้

  1. รถไฟใต้ดินขนส่งผู้โดยสารจำนวนหนึ่งล้านล้านคนครั้งแรก | องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน (อังกฤษ)
  2. "กลยุทธ์ทางการเดินทางของนายกเทศมนตรี". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-06-28. สืบค้นเมื่อ 2003-06-28.
  3. BBC NEWS | ประเทศอังกฤษ | ลอนดอน | ยูโรสตาร์ไปถึงปารีสทันเวลา
  4. London Buses (รถบัสในลอนดอน เก็บถาวร 2008-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Transport for London. เข้าไปในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (อังกฤษ)
  5. "ปราศจากปัญหาเริ่มเก็บค่าเข้าเมือง". BBC News. 2003-02-18. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  6. "Impacts monitoring - Fourth Annual Report Overview" (PDF). Transport for London. June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  7. "ค่าเข้าเมืองเพื่มเป็น £8". BBC News. 2005-04-01. สืบค้นเมื่อ 2006-04-08.
  8. Woodman, Peter (2007-02-19). "ขยายบริเวณเก็บค่าเข้าเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-03. สืบค้นเมื่อ 2007-05-26.
  9. ตารางเวลารถไฟของสนามบินลอนดอนซิตี, www.tfl.gov.uk. เรียกข้อมูลวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2548
  10. "นายกเทศมนตรีลอนดอน - ยุทธวิธีทางการคมนาคม - การปั่นจักรยาน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-04. สืบค้นเมื่อ 2004-06-04.
  11. "สำนักงานเขตนครลอนดอนและปริมณฑล - Press Release". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้