การขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็ก[1] หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก[2] (อังกฤษ: Iron deficiency) เป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก[3][4][5]ธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด, การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome, การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน, และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆ การมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้[6]

การขาดธาตุเหล็ก
(Iron deficiency )
ธาตุเหล็กในรูปแบบ heme
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10E61.1
ICD-9269.3
DiseasesDB6947
MedlinePlus000584
eMedicinemed/1188

ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก. ในชาย และ 2.3 ก. ในหญิง ส่วนในน้ำเลือด เหล็กจะเวียนไปกับเลือดโดยยึดกับโปรตีน transferrin อย่างแน่น มีกลไกหลายอย่างที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเหล็กในมนุษย์ และป้องกันไม่ให้ขาด กลไกควบคุมหลักอยู่ในทางเดินอาหาร แต่ถ้าการสูญเสียเหล็กไม่สามารถชดเชยได้จากการทานอาหาร ภาวะขาดเหล็กก็จะเกิดขึ้นในที่สุด และถ้าไม่รักษา ก็จะลามไปเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) แต่ก่อนจะถึงภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดธาตุเหล็กโดยที่ยังไม่ถึงภาวะโลหิตจางเรียกว่า Latent Iron Deficiency (LID) หรือ Iron-deficient erythropoiesis (IDE)

การขาดธาตุเหล็กที่ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจากเหตุขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่สามัญ[7] โดยมีเม็ดเลือดแดง (erythrocytes) หรือเฮโมโกลบิน ไม่พอ คือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเหล็กไม่พอ มีผลลดการผลิตโปรตีนเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวจับออกซิเจนและทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

เด็ก หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และบุคคลที่มีอาหารไม่สมบูรณ์เสี่ยงต่อโรคมากที่สุด กรณีโดยมากของภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเล็กไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาก็อาจสามารถสร้างปัญหาเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ปกติ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ การโตช้าสำหรับทารกหรือเด็ก[8]

การเสียชีวิตเนื่องจากภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อคนล้านคนในปี 2555
  0–0
  1–1
  2–3
  4–5
  6–8
  9–12
  13–19
  20–30
  31–74
  75–381
ภาระโรค (DALY) แสดงเป็นจำนวนปีที่เสียไปเพราะเหตุสุขภาพไม่ดี ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัย สำหรับภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กต่อคน 100,000 คนในปี 2547[9]
  ไม่มีข้อมูล
  น้อยกว่า 50
  50–100
  100–150
  150–200
  200–250
  250–300
  300–350
  350–400
  400–450
  450–500
  500–1000
  มากกว่า 1000

อาการ แก้

อาการขาดธาตุเหล็กสามารถเกิดขึ้นก่อนลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะเจาะจงต่อการขาดธาตุเหล็กเท่านั้น เหล็กจำเป็นต่อการทำงานที่เป็นปกติของเอนไซม์ ดังนั้น อาจจะเกิดอาการต่าง ๆ มากมายในที่สุด โดยเป็นอาการทุติยภูมิจากภาวะโลหิตจาง หรือเป็นอาการปฐมภูมิจากการขาดธาตุเหล็ก

อาการขาดธาตุเหล็กรวมทั้ง

  • ความล้า
  • อาการเวียนศีรษะ
  • ซีด
  • ผมหลุด
  • กล้ามเนื้อกระตุกรัว (myoclonus)
  • หงุดหงิด
  • ความอ่อนเปลี้ยของกล้ามเนื้อ
  • การทานสิ่งที่ไม่ใช่อาหารในเด็ก (pica)
  • เล็บเปราะหรือเล็บแบนหรือเล็บเว้า
  • Plummer-Vinson syndrome คือ เยื่อเมือกของลิ้น คอหอย และของหลอดอาหาร ฝ่อลงจนเจ็บ
  • ภูมิต้านทานแย่ลง[10]
  • อาการชอบกินน้ำแข็ง (pagophagia)
  • restless legs syndrome คือความรู้สึกผิดปกติที่ทำให้ต้องขยับขา[11]

การขาดธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่องอาจลามเป็นภาวะโลหิตจางและความอ่อนเปลี้ยที่เพิ่มขึ้น ภาวะเกล็ดเลือดมากสามารถเกิดขึ้นได้ด้วย การขาดธาตุเหล็กในเลือดเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้บุคคลไม่สามารถให้เลือด

เหตุ แก้

แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่เป็นเหตุการขาดธาตุเหล็กในหนู แต่ยังไม่ปรากฏกว่ามีโรคเมแทบอลิซึมของเหล็กสืบทางกรรมพันธุ์ในมนุษย์ ที่เป็นเหตุโดยตรงของการขาดเหล็ก

นักกีฬา แก้

เหตุผลที่เป็นไปได้ว่าการเล่นกีฬาอาจมีบทบาททำให้ขาดธาตุเหล็ก รวมทั้งการสลายของเม็ดเลือดแดงเนื่องจากการกระทบกระแทกทางกาย การเสียเหล็กผ่านเหงื่อและปัสสาวะ การเสียเลือดทางเดินอาหาร และการเสียเลือดในปัสสาวะ (haematuria)[13][14] แม้ว่าจะมีเหล็กจำนวนหนึ่งที่ขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ แต่ก็มองว่าไม่สำคัญแม้ว่านักกีฬาจะมีเหงื่อและปัสสาวะมากขึ้น เมื่อพิจารณาด้วยว่าร่างกายของนักกีฬาดูเหมือนจะปรับเก็บเหล็กไว้ได้ดีกว่า[13]

ส่วนภาวะโลหิตจางเหตุการสลายเม็ดเลือดแดงโดยกล (Mechanical hemolytic anemia) มีโอกาสมากที่สุดในกีฬาที่ต้องกระทบกระแทกมาก โดยเฉพาะในการวิ่งทางไกล ที่เม็ดเลือดแดงสลายเนื่องจากแรงกระแทกที่เท้ากับพื้น เลือดออกทางเดินอาหารที่เกิดจากการออกกำลังกายมีโอกาสมากที่สุดในนักกีฬาแบบอึด นอกจากนักวิ่งแล้ว ผู้ที่กระทบกระแทกเท้า เช่น นักกีฬาเค็นโด หรือกระทบกระแทกมือ เช่น คนตีกลอง นักกีฬาที่เน้นการคุมน้ำหนัก (เช่น บัลเลต์ ยิมนาสติก การวิ่งมาราธอน และมวยปล้ำ) และกีฬาที่เน้นการทานอาหารมีคาร์โบไฮเดรตสูง มีไขมันต่ำ อาจมีโอกาสเสี่ยงขาดธาตุเหล็กสูงขึ้น[13][14]

การวินิจฉัย แก้

  • การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์สามารถตรวจพบภาวะโลหิตจางแบบมีเม็ดเลือดเล็ก (microcytic anemia)[15] แม้ว่านี้จะไม่แน่นอน – แม้กระทั่งเมื่อภาวะแย่ลงจนถึงเป็นโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กแล้ว
  • ระดับ ferritin ในเลือดต่ำ ระดับ ferritin เป็นการตรวจที่ไวต่อภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมากที่สุด แต่ว่า ระดับ ferritin ในเลือดก็ยังสามารถสูงขึ้นเนื่องจากการอักเสบ ดังนั้น ระดับ ferritin ปกติจะไม่สามารถกันการขาดเหล็กออกได้ และผลที่ได้จะชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าตรวจระดับ C-reactive protein (CRP) พร้อมกันไปด้วย ระดับ ferritin ที่พิจารณาว่า สูง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น ในโรค inflammatory bowel disease เกณฑ์อยู่ที่ 100 แต่ในภาวะหัวใจวายเรื้อรัง (CHF) เกณฑ์อยู่ที่ 200
  • ระดับเหล็กในเลือดต่ำ
  • ระดับ TIBC (total iron binding capacity) สูง แม้ว่านี้ก็จะสูงขึ้นด้วยในกรณีที่เป็นโลหิตจางเนื่องจากการอักเสบเรื้อรัง
  • อาจจะตรวจเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood) เจอด้วย ถ้าการขาดเหล็กมีเหตุเป็นเลือดออกในทางเดินอาหาร แม้ว่าการทดสอบจะไม่ค่อยไวเพราะว่าในบางกรณีที่มีเลือดออก ก็จะไม่พบอยู่ดี

เหมือนกับอย่างอื่น ค่าที่ได้ต้องเทียบกับค่าอ้างอิงของแล็บเมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางคลินิกของบุคคลทุกอย่าง

การรักษา แก้

ก่อนเริ่มรักษา ควรจะวินิจฉัยให้ชัดเจนถึงเหตุขาดธาตุเหล็ก นี่สำคัญเป็นพิเศษในคนสูงอายุ ผู้เสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นเหตุให้เลือดออกในทางเดินอาหาร ในผู้ใหญ่ 60% ของคนไข้ที่มีภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กอาจมีโรคในทางเดินอาหารที่เป็นเหตุให้เลือดออกอยู่เรื่อย ๆ[16] เพราะว่า เป็นไปได้ว่าเหตุของการขาดธาตุเหล็กจำเป็นต้องรักษาด้วย

เมื่อได้วินิจฉัยที่สมควรแล้ว อาการสามารถรักษาได้ด้วยการให้ธาตุเหล็กเสริม วิธีการเสริมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ความจำเป็นให้หายเร็ว (เช่น ถ้ากำลังรอการผ่าตัด) และโอกาสที่วิธีการรักษาจะมีประสิทธิผล (เช่น ถ้าเหตุของอาการมาจาก Inflammatory bowel disease, กำลังล้างไตอยู่, หรือว่ากำลังรักษาโดย erythropoiesis-stimulating agent อยู่) ตัวอย่างของยาทานที่เสริมเหล็กรวมทั้ง ferrous sulfate, ferrous gluconate, และเหล็กที่ยึดกับกรดอะมิโน (amino acid chelate tablets) งานวิจัยปี 2548 แสดงว่า การทดแทนธาตุเหล็ก อย่างน้อยในผู้สูงอายุที่ขาด อาจน้อยแพียงแค่ 15 มก. ต่อวันของธาตุเหล็ก[17]

 
แบบจำลองแบบแสดงปริภูมิของ heme B เหล็กมีสีเทา (ตรงกลาง) ไนโตรเจนสีน้ำเงิน คาร์บอนมีสีดำ ไฮโดรเจนมีสีขาว ออกซิเจนมีสีแดง

แหล่งอาหาร แก้

การขาดธาตุเหล็กเล็กน้อยสามารถป้องกันและแก้ไขโดยทานอาหารที่สมบูณ์ด้วยเหล็กและการทำอาหารในกระทะเหล็ก เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นสิ่งจำเป็นต่อสัตว์และพืชโดยมาก จึงมีอาหารมากมายที่มีเหล็ก แต่แหล่งที่ดีของธาตุเหล็กจะเป็นแบบ heme-iron (cofactor ที่มีไอออนเหล็ก [Fe2+] อยู่ตรงกลางวงแหวนอินทรีย์แบบ heterocyclic ที่เรียกว่า porphyrin ดูรูป) เพราะว่านี่ดูดซึมได้ง่ายที่สุด และยาและสารอาหารอื่น ๆ จะไม่สามารถขัดขวางการดูดซึมได้ ตัวอย่างอาหารที่มีเหล็กแบบนี้คือ เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบ (เช่น เนื้อวัว เนื้อแกะ) เป็ดไก่ และแมลง[18][19]

แหล่งอาหารแบบไม่ใช่ heme มีเหล็กเหมือนกัน แต่ร่างกายเอาไปใช้ได้ไม่เท่ากัน (คือมี reduced bioavailability) ตัวอย่างแหล่งเหล็กที่ไม่ใช่ heme รวมทั้งถั่ว ผักใบเขียว พิสตาชีโอ เต้าหู้ ขนมปังเสริมสารอาหาร และธัญพืชเสริมสารอาหาร แต่ร่างกายจะดูดซึมและปฏิบัติต่อเหล็กจากอาหารต่าง ๆ ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เหล็กในเนื้อแดง (คือ เหล็กแบบ heme) สามารถดูดซึมได้ง่ายกว่าเหล็กในธัญพืชและผักใบเขียว (เหล็กที่ไม่ใช่ heme)[20]

แร่ธาตุและสารเคมีจากอาหารชนิดหนึ่งยังอาจยับยั้งการดูดซึมเหล็กจากอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ทานในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย[21] ยกตัวอย่างเช่น กรดออกซาลิกและกรดไฟเตต จะรวมเป็นสารประกอบที่ยึดกับเหล็กในท้องก่อนเกิดการดูดซึม และเพราะว่าเหล็กจากพืชดูดซึมได้ยากกว่าเหล็กแบบ heme จากสัตว์ คนทานเจหรือทานเจแบบวีแกน ควรจะได้อาหารที่มีเหล็กสูงกว่าบุคคลที่ทานเนื้อแดง ปลา และเป็ดไก่[22]

พืชวงศ์ถั่วและผักใบเขียวเช่น บรอกโคลี ผักวงศ์กะหล่ำปลี และอื่น ๆ เป็นแหล่งเหล็กที่ดีสำหรับคนที่ทานอาหารเจ แต่ว่า ผักโขมฝรั่ง (spinach) และบีตรูต มีกรดออกซาลิกซึ่งเข้ายึดกับเหล็ก ทำให้ร่างกายดูดซึมเหล็กไม่ได้ แต่เหล็กแบบไม่ใช่ heme จะดูดซึมได้ดีกว่าถ้าทานพร้อมกับอาหารที่มีเหล็ก heme หรือวิตามินซี[23]

ตารางสองตารางต่อไปนี้แสดงอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กแบบ heme และแบบไม่ใช่ heme มากที่สุด[24] ในตารางทั้งสอง ปริมาณอาหารทานต่อครั้งอาจแตกต่างจาก 100 ก. เกณฑ์ปริมาณที่ต้องการตั้งที่ 18 มก. ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงเกษตรสหรัฐแนะนำให้หญิงอายุระหว่าง 19-50 ปีทานทุกวัน[25]

อาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กแบบ heme มากที่สุด
อาหาร ขนาด เหล็ก % USDA
หอยกาบคู่ 100 ก. 28 มก. 155%
ตับหมู 100 ก. 18 มก. 100%
ไตแกะ 100 ก. 12 มก. 69%
หอยนางรมสุก 100 ก. 12 มก. 67%
หมึกกระดอง 100 ก. 11 มก. 60%
ตับแกะ 100 ก. 10 มก. 57%
หมึกสาย 100 ก. 9.5 มก. 53%
หอยแมลงภู่ 100 ก. 6.7 มก. 37%
ตับวัว 100 ก. 6.5 มก. 36%
หัวใจวัว 100 ก. 6.4 มก. 35%


อาหารที่สมบูรณ์เหล็กแบบไม่ใช่ heme มากที่สุด
อาหาร ขนาด เหล็ก % USDA
ถั่วเหลืองดิบ 100 ก. 7 มก. 35%
Spirulina 15 ก. 4.3 มก. 24%
ฟาลาเฟล 140 ก. 4.8 มก. 24%
ถั่วเหลือง 125มล. = 1/2ถ้วย 4.6 มก. 23%
ผักโขมฝรั่ง 125 ก. 4.4 มก. 22%
ถั่วเมล็ดแบน 125มล. = 1/2ถ้วย 3.5 มก. 17.5%
กากน้ำตาล (Bluelabel Australia) 20มล. = 1ช้อนชา 1.8 มก. 9%
ขิง 15 ก.~3ชิ้น 1.7 มก. 8.5%
งาย่าง/อบ 10 ก. 1.4 มก. 7%
โกโก้ 5 ก.~1ช้อนชา .8 มก. 4%

การขาดเหล็กอาจมีผลรุนแรงพอที่การทานอาหารจะช่วยแก้ไม่ทัน ดังนั้น การทานธาตุเหล็กบ่อยครั้งจะจำเป็นถ้าการขาดเหล็กออกอาการแล้ว

การถ่ายเลือด แก้

การถ่ายเลือดบางครั้งใช้รักษาการขาดเหล็กที่คนไข้มีปัญหาทางเลือดบางอย่าง[26] บางครั้งการถ่ายเลือดก็พิจารณาในบุคคลที่ขาดเหล็กเรื้อรังหรือว่าจะเข้าผ่าตัดเร็ว ๆ นี้ แต่แม้บุคคลเช่นนี้จะมีเฮโมโกลบินที่ต่ำ ก็ควรจะได้เหล็กทางปากหรือทางเส้นเลือดด้วย[26]

สภาพพร้อมใช้งานและการติดเชื้อ แก้

แบคทีเรียจะเติบโตได้ต้องอาศัยเหล็ก และดังนั้น การไม่มีเหล็กในสภาพพร้อมใช้งานทางชีวภาพ (bioavailability) เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการติดเชื้อ[27] ดังนั้น น้ำเลือดจึงส่งเหล็กยึดกับโปรตีน transferrin ที่เข้าไปในเซลล์โดยกระบวนการ endocytosis ระบบจึงสามารถกันไม่ให้เหล็กต่อแบคทีเรียได้[28]

ประมาณ 15-20% ของโปรตีนนมมนุษย์ประกอบด้วย lactoferrin ซึ่งเป็นโปรตีนในตระกูล transferrin[29] ซึ่งยึดกับเหล็ก และโดยเปรียบเทียบ มี lactoferrin ในนมวัวเพียงแค่ 2% ดังนั้น การที่มารดาให้นมลูกจึงมีการติดเชื้อน้อยกว่า[28] ยังมี lactoferrin ในน้ำตา น้ำลาย และที่แผลเพื่อช่วยเข้ายึดกับเหล็กเพื่อจำกัดการเติบโตของแบคทีเรียด้วย[28]: 29 

เพื่อลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระดับความเข้มข้นของเหล็กจะลดลงในภาวะการอักเสบเป็นระบบ เนื่องจากการผลิต hepcidin มากขึ้นโดยหลักปล่อยมาจากตับ เป็นการตอบสนองต่อ cytokine ที่สนับสนุนสภาวะอักเสบ เช่น Interleukin-6 แต่การขาดเหล็กโดยหน้าที่ของร่างกายเช่นนี้จะหายไปเองถ้ากำจัดแหล่งก่อความอักเสบ แต่ว่า ถ้าไม่แก้ไข นี่อาจจะลามเป็นภาวะโลหิตจางเหตุการอักเสบเรื้อรัง (Anaemia of Chronic Inflammation) การอักเสบอาจจะมาจากการมีไข้[30] Inflammatory Bowel Disease, การติดเชื้อ, หัวใจวายเรื้อรัง (CHF), มะเร็งเยื่อบุ, หรือจากการผ่าตัด

เมื่อพิจารณาการจำกัดไม่ให้เหล็กกับแบคทีเรียเช่นนี้ การทานธาตุเหล็กเสริมก็จะเป็นเหตุให้มีระดับเหล็กสูงขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งอาจเปลี่ยนชนิดแบคทีเรียที่มีอยู่ในท้อง เคยกังวลกันว่าการให้เหล็กผ่านเส้นเลือด (parenteral iron) ในระหว่างภาวะเลือดมีแบคทีเรีย แต่ว่า ในการรักษาจริง ๆ นี่กลับไม่เป็นปัญหา การขาดเหล็กระดับพอสมควร สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบฉับพลัน โดยเฉพาะต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในเซลล์ตับ (hepatocyte) และที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวแบบ macrophage เช่น มาลาเรียและวัณโรค ซึ่งเป็นประโยชน์ในเขตโลกที่มีโรคเหล่านี้แพร่หลายและการรักษาไม่ดี

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "deficiency", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, การขาด, ความพร่อง
  2. "vitamin deficiency", Lexitron พจนานุกรมไทย<=>อังกฤษ รุ่น 2.6, หน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ภาวะขาดวิตามิน. 2546.
  3. Centers for Disease Control and Prevention (2002). "Iron deficiency - United States, 1999-2000". MMWR. 51: 897–9.
  4. Hider, Robert C.; Kong, Xiaole (2013). "Chapter 8. Iron: Effect of Overload and Deficiency". ใน Sigel, Astrid; Sigel, Helmut; Sigel, Roland KO (บ.ก.). Interrelations between Essential Metal Ions and Human Diseases. Metal Ions in Life Sciences. Vol. 13. Springer. pp. 229–294. doi:10.1007/978-94-007-7500-8_8.
  5. Dlouhy, Adrienne C.; Outten, Caryn E. (2013). "Chapter 8.4 Iron Uptake, Trafficking and Storage". ใน Banci, Lucia (บ.ก.). Metallomics and the Cell. Metal Ions in Life Sciences. Vol. 12. Springer. doi:10.1007/978-94-007-5561-1_8. ISBN 978-94-007-5560-4. electronic-book ISBN 978-94-007-5561-1 ISSN 1559-0836 electronic-ISSN 1868-0402
  6. Centers for Disease Control and Prevention (3 เมษายน 1998). "Recommendations to Prevent and Control Iron Deficiency in the United States". Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR). 47 (RR-3): 1.
  7. CDC Centers for Disease Control and Prevention (3 เมษายน 1998). "Recommendations to Prevent and Control Iron Deficiency in the United States". Morbidity and Mortality Weekly Report (MMWR). 47 (RR3): 1. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2014.
  8. Centers for Disease Control and Prevention. "Iron and Iron Deficiency". สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2014.
  9. "Mortality and Burden of Disease Estimates for WHO Member States in 2002" (xls). World Health Organization. 2002.
  10. Wintergerst, E. S.; Maggini, S.; Hornig, D. H. (2007). "Contribution of Selected Vitamins and Trace Elements to Immune Function". Annals of Nutrition and Metabolism. 51 (4): 301–323. doi:10.1159/000107673. PMID 17726308.
  11. Rangarajan, Sunad; D'Souza, George Albert (เมษายน 2007). "Restless legs syndrome in Indian patients having iron deficiency anemia in a tertiary care hospital". Sleep Medicine. 8 (3): 247–51. doi:10.1016/j.sleep.2006.10.004. PMID 17368978.
  12. "Nonantibiotic Effects of Fluoroquinolones in Mammalian Cells". J Biol Chem. 290: 22287–97. กันยายน 2015. doi:10.1074/jbc.M115.671222. PMID 26205818.
  13. 13.0 13.1 13.2 Nielson, Peter; Nachtigall, Detlef (ตุลาคม 1998). "Iron supplementation in athletes: current recommendations". Sports Med. 26 (4): 207–216. doi:10.2165/00007256-199826040-00001. PMID 9820921. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013.
  14. 14.0 14.1 Chatard, Jean-Claude; Mujika, Iñigo; Guy, Claire; Lacour, Jean-René (เมษายน 1999). "Anaemia and Iron Deficiency in Athletes Practical Recommendations for Treatment" (PDF). Sports Med. 4. 27 (4): 229–240. doi:10.2165/00007256-199927040-00003. PMID 10367333. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2013.
  15. Longmore, Murray; Wilkinson, Ian B; Rajagoplan, Supaj (2004). Oxford Handbook of Clinical Medicine (6th ed.). Oxford University Press. pp. 626–628. ISBN 0-19-852558-3.
  16. Rockey, D; Cello, J (1993). "Evaluation of the gastrointestinal tract in patients with iron-deficiency anemia". N Engl J Med. 329 (23): 1691–5. doi:10.1056/NEJM199312023292303. PMID 8179652.
  17. Rimon E, Kagansky N, Kagansky M, Mechnick L, Mashiah T, Namir M, Levy S (2005). "Are we giving too much iron? Low-dose iron therapy is effective in octogenarians". Am J Med. 118 (10): 1142–7. doi:10.1016/j.amjmed.2005.01.065. PMID 16194646.
  18. Defoliart, G (1992). "Insects as Human Food". Crop Protection. 11: 395–99.
  19. Bukkens, SGF (1997). "The Nutritional Value of Edible Insects". Ecol. Food. Nutr. 36 (2–4): 287–319.
  20. "Iron deficiency". Food Standards Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016.
  21. "Iron in diet". MedlinePlus.
  22. Mangels, Reed. "Iron in the vegan diet". The Vegetarian Resource Group.
  23. "Iron". The Merck Manuals Online Medical Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016.
  24. "iron rich foods". Rich Foods. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016.
  25. "Dietary Reference Intakes: Recommended Intakes for Individuals" (PDF). National Academy of Sciences. Institute of Medicine. Food and Nutrition Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016.
  26. 26.0 26.1 American Association of Blood Banks (24 เมษายน 2014), "Five Things Physicians and Patients Should Question", Choosing Wisely: an initiative of the ABIM Foundation, American Association of Blood Banks, สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2014, which cites
  27. Kluger, M. J.; Rothenburg, B. A. (1979). "Fever and reduced iron: Their interaction as a host defense response to bacterial infection". Science. 203 (4378): 374–376. doi:10.1126/science.760197. PMID 760197.
  28. 28.0 28.1 28.2 Nesse RM, Williams GC. Why We Get Sick: The New Science of Darwinian Medicine. New York. p. 30. ISBN 0-679-74674-9.
  29. Hutchens, T William; Lönnerdal, Bo (1997). Lactoferrin: Interactions and Biological Functions. p. 379.
  30. Weinberg, E. D. (1984). "Iron withholding: A defense against infection and neoplasia". Physiological reviews. 64 (1): 65–102. PMID 6420813.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้