การขนส่งสาธารณะในหุบเขากลัง

การขนส่งสาธารณะรูปแบบต่างๆในกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ระบบขนส่งมวลชนในหุบเขากลัง ประกอบด้วยระบบขนส่งมวลชนอันหนาแน่น (รถไฟ, รถโดยสารประจำทาง, รถแท็กซี่) ในกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล (ภูมิภาคหุบเขากลัง)

ประวัติ แก้

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 ชาวกัวลาลัมเปอร์ส่วนมากยังคงใช้รถลาก หรือช้าง เป็นยานพาหนะในการเดินทาง ต่อมาช่วง ค.ศ. 1960-1990 ได้เริ่มมีการใช้รถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส) เป็นครั้งแรก

ประเภทระบบขนส่งมวลชน แก้

 
รถโดยสารประจำทางรุ่น สกาเนีย K270UB4x2 ให้บริการโดยแรพิดเคแอล

รถโดยสารประจำทาง แก้

ผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทางหลักในกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล คือ แรพิดบัส ซึ่งประกอบด้วยผู้ให้บริการย่อยอีกสองราย คือ อินตราโกตา และ ซิตีลายเนอร์ ผู้ให้บริการอื่น ๆ อาทิเช่น เมโทรบัส, เซอลาโงร์อุมนิบัส, เลินเซิง, เคนเดอราน, ตริตัน, เปอมาร์ตาเกียรา

รถไฟฟ้า แก้

ระบบรถไฟฟ้าในหุบเขากลังประกอบด้วย รถไฟฟ้ารางเบา 2 สาย (ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์), รถไฟฟ้าชานเมือง 2 สาย (ดำเนินการโดยรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม), เคแอลโมโนเรล และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งประกอบด้วยเคแอลไอเอ แทรนสิต และเคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส

รถไฟฟ้าชานเมือง

1 สายเซอเริมบัน
ระหว่าง สถานีรวัง - สถานีสุไหงกาดุ๊ต
27 สถานี 153 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม
6 สถานี 22 กิโลเมตร ของ สายย่อยรวัง-ตันหยงมาลิม ระหว่าง สถานีรวัง - สถานีตันหยงมาลิม
2 สายพอร์ตกลัง
ระหว่าง สถานีบาตูเคฟส์ - สถานีพอร์ตกลัง
23 สถานี 45 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

3 สายอัมปัง
ระหว่าง สถานีเซ็นทัลติเมอร์ - สถานีอัมปัง
18 สถานี 15 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
4 สายศรีเปอตาลิง
ระหว่าง สถานีเซ็นทัลติเมอร์ - สถานีศรีเปอตาลิง
18 สถานี 15 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
11 สถานี 18 กิโลเมตร ในส่วนต่อขยาย สถานีศรีเปอตาลิง - สถานีปูตราเฮจต์
5 สายเกอลานาจายา
ระหว่าง สถานีกมบัก - สถานีเกอลานาจายา
23 สถานี 29 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์
13 สถานี 17 กิโลเมตร ในส่วนต่อขยาย สถานีเกอลานาจายา - สถานีปูตราเฮจต์
9 สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง
ระหว่าง สถานีซูไงบูโละฮ์ - สถานีกาจัง
31 สถานี 50 กิโลเมตร (โครงการ) ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์

รถไฟฟ้ารางเดี่ยว

8 เคแอลโมโนเรล
ระหว่าง เคแอลเซ็นทรัล - สถานีติติวังซา
11 สถานี 8.6 กิโลเมตร ดำเนินการโดยรถไฟเร็วกัวลาลัมเปอร์

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน

6 เคแอลไอเอ เอ็กซ์เพรส
ระหว่าง เคแอลเซ็นทรัล - เคแอลไอเอ
ไม่หยุดสถานีรายทางใด ๆ ในช่วงระยะทาง 75 กิโลเมตร ดำเนินการโดย เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์
7 เคแอลไอเอ แทรนสิต
ระหว่าง เคแอลเซ็นทรัล - เคแอลไอเอ
5 สถานี 75 กิโลเมตร ดำเนินการโดย เอ็กซ์เพรสเรลลิงก์

มีโครงการจะขยายเส้นทางเคแอลโมโนเรลไปยังสถานีซูไงบูโละฮ์ แต่โครงการยังไม่ได้รับอนุมัติ ส่วนส่วนต่อขยายของสายเกอลานาจายาและสายอัมปังได้รับอนุมัติแล้ว คาดว่าจะเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2016 นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ คือ สายซูไงบูโละฮ์-กาจัง คาดว่าจะเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2017 และรถไฟฟ้าสายใหม่อีกสาย คือ สายซูไงบูโละฮ์-เซอร์ดัง-ปูตราจายา จะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015.[1] ส่วนรถไฟฟ้ารางเบา สายชาห์อลัม กำลังอยู่ในขั้นอภิปรายหลังอนุมัติเสร็จ[2]

รถแท็กซี่ แก้

 
รถแท็กซี่ในกัวลาลัมเปอร์ มักจะมีสีแดง-ขาว, เหลือง-น้ำเงิน, เขียว หรือเหลือง

รถแท็กซี่มิเตอร์สามารถพบเห็บได้ทั่วไปในกัวลาลัมเปอร์ อย่างไรก็ตาม มีโอกาสยากมากที่จะสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน รถแท็กซี่ในกัวลาลัมเปอร์มีหลายสี ได้แก่ ขาว-แดง, แดง, เหลือง-น้ำเงิน, เขียว, เหลือง วิธีสังเกตรถแท็กซี่ที่ง่ายที่สุด คือ ด้านหน้ารถจะมีตัว H ติดอยู่ แต่ถ้าเป็นรถแท็กซี่ท่าอากาศยาน จะมีตัว LIMO ติดอยู่

ศูนย์รวมการขนส่ง แก้

การขนส่งระหว่างเมือง แก้

 
สถานีขนส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง ที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์
  • ปุตุเซ็นทรัล — สถานีขนส่งผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุด สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ารางเบาได้
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารปูตรา — สถานีรถโดยสารที่มีจุดหมายปลายทางในภาคตะวันออก
  • ปาซาร์รักยัต — สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งใหม่ เพื่อลดความแออัดของปุตุเซ็นทรัล
  • เคแอลเซ็นทรัล — สถานีรถไฟหลักของกัวลาลัมเปอร์
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารดูตา — สถานีรถโดยสารของทรานส์เนซันนัลแอนด์แอร์พอร์ต

สถานีรถไฟฟ้า แก้

สถานีขนส่งผู้โดยสาร แก้

สถานีขนส่งผู้โดยสารของแรพิดเคแอลที่สำคัญ ได้แก่ เคแอลเซ็นทรัล, ติติวังซา, เคแอลซีซี,มาลูรี และเมดานปาซาร์ ส่วนรถโดยสารของบริษัทเอกชนอื่น ๆ จะให้บริการที่ย่านจาลันตันเชิงลอก

สถานีปลายทาง แก้

รถโดยสารประจำทางส่วนใหญ่ จะตั้งต้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจาลันเชิงล็อก ส่วนรถโดยสารที่มุ่งหน้าไปยังสิงคโปร์ จะตั้งต้นทางที่สถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์, สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์, บังซาร์ และเปอตาลิงจายา ส่วนรถไฟระหว่างเมืองทั้งหมด ได้ทำการย้ายต้นทางจากสถานีรถไฟกัวลาลัมเปอร์ มาที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ในปี ค.ศ. 2001

การควบคุม แก้

ระบบขนส่งมวลชนแต่ละประเภท จะดำเนินการโดยองค์กรที่แตกต่างกัน รถโดยสารประจำทางควบคุมโดย แรพิดบัส รถไฟฟ้ารางเบาและรถไฟฟ้าโมโนเรล ควบคุมโดย แรพิดเรล รถไฟฟ้าชานเมืองควบคุมโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ผู้โดยสารสามารถใช้ระบบตั๋วทอชอินโก เพื่อใช้งานระบบขนส่งทางรางได้[3]

ส่วนต่อขยายในอนาคต แก้

รถไฟฟ้ารางเบา แก้

 
สถานีเกอลานาจายา เป็นสถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายเกอลานาจายา

วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2006 รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศว่า จะใช้งบประมาณ 10 ล้านริงกิตในการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า แผนนี้ประกอบไปด้วย สายรถไฟฟ้ารางเบาสายใหม่อีก 1 สาย และส่วนต่อขยายของสายเก่า (ซึ่งก็คือสายเกอลานาจายาและสายอัมปัง)[4]

รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหุบเขากลัง แก้

มีโครงการรถไฟฟ้ารางหนัก ระยะทาง 156 กิโลเมตร จำนวน 3 เส้นทาง ใช้งบประมาณ 35 พันล้านริงกิต นับว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์มาเลเซีย[5]

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ แก้

โครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (BRT) โดยคณะกรรมการขนส่งมวลชนทางบก (SPAD) มีสายที่กำลังก่อสร้างในปัจจุบัน คือ สายซันเวย์ (เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 2016) และสายที่ยังเป็นโครงการอยู่ คือ สายเคแอล-กลัง[6]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. by brenda ch’ng (2014-12-03). "Building of new MRT second line to begin next November - Community | The Star Online". Thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Ali, Sharidan M (2014-12-13). "Prasarana to roll out LRT 3 projects by second half of 2015 - Business News | The Star Online". Thestar.com.my. สืบค้นเมื่อ 2015-04-15.
  3. "Rapid KL Launches Integrated Smart Card Ticketing System". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11.
  4. Mergawati Zulfakar (30 August 2006). "Rail travel expansion". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-26. สืบค้นเมื่อ 2007-06-22.
  5. "KL to get landmark MRT in world-class city bid". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-19. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
  6. "SPAD MasterPlan" (PDF). 2013-11-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้