การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์

การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์ ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การก่อการกำเริบเดือนมกราคม เป็นการนัดหยุดงานทั่วไป (และการสู้รบด้วยอาวุธปืนประกอบไปด้วย) ในประเทศเยอรมนี ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 12 มกราคม ค.ศ. 1919 เยอรมนีได้อยู่ในช่วงกลางของการปฏิวัติหลังสงคราม และสองเส้นทางที่ได้รับรู้ในความก้าวหน้าคือ ประชาธิปไตยสังคมหรือรัฐสภาสาธารณรัฐเช่นเดียวกับหนึ่งเส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นโดยบอลเชวิคในรัสเซีย การก่อการกำเริบครั้งนี้เป็นการต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี(SPD) ภายใต้การนำโดยฟรีดริช เอเบิร์ท และกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงของพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีภายใต้การนำโดยคาร์ล ลีพคเน็ชท์และโรซา ลุคเซิมบวร์ค ที่ได้ก่อตั้งเมื่อก่อนหน้านี้และนำสันนิบาติสปาตาคิสท์(Spartakusbund) การต่อสู้แย่งชิงอำนาจครั้งนี้เป็นผลมาจากการสละราชบังลังก์ของจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี และการลาออกของนายกรัฐมนตรี มัคซีมีลีอานแห่งบาเดิน ซึ่งได้มอบอำนาจไปยังเอเบิร์ท ในฐานะที่เป็นผู้นำของพรรคที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภาเยอรมัน[1] การก่อการกำเริบที่คล้ายกันได้เกิดขึ้นและถูกปราบปรามในเบรเมิน, รูร์, ไรน์ลันท์, ซัคเซิน, ฮัมบวร์ค, ทือริงเงิน และบาวาเรีย และอีกครั้งของการสู้รบบนถนนที่รุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในกรุงเบอร์ลินในเดือนมีนาคม ซึ่งนำไปสู่ความท้อแท้อย่างกว้างขวางด้วยรัฐบาลไวมาร์

การก่อการกำเริบสปาตาคิสท์
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918-1919

ทหารอาสาสมัครสปาตาคิสท์ในกรุงเบอร์ลิน
วันที่4–15 มกราคม ค.ศ. 1919
สถานที่
ผล การก่อการกำเริบถูกปราบปรามอย่างราบคาบ
คู่สงคราม

พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี

พรรคสังคมประชาธิปไตยอิสระเยอรมนี

เยอรมนี รัฐบาลชั่วคราว

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
คาร์ล ลีพคเน็ชท์ โทษประหารชีวิต
โรซา ลุคเซิมบวร์ค โทษประหารชีวิต
เยอรมนี เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค
เยอรมนี ฟรีดริช เอเบิร์ท
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 3,000 คน

อ้างอิง แก้

  1. Jennifer Llewellyn, Jim Southey and Steve Thompson (2014). "The German Revolution". Alpha History.