กาน้ำชาของรัสเซล

อุปมานที่ประกาศโดยเบอร์ทรันด์ รัสเซลล์

กาน้ำชาของรัสเซลเป็นอุปมาอย่างหนึ่งที่เสนอขึ้นโดยนักปรัชญาชื่อ Bertrand Russell (1872-1970) เพื่อประกอบการแสดงให้เห็นว่าภาระในการพิสูจน์ทางปรัชญาของคำอ้างที่ไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ ต้องตกเป็นของผู้อ้าง ไม่ควรเป็นภาระของผู้อื่นที่ต้องมาพิสูจน์หักล้างคำอ้างเช่นนี้

การมองหากาน้ำชาอันหนึ่งในอวกาศเป็นเรื่องยากมาก ภาระในการพยายามค้นหากาน้ำชานี้เป็นของคนที่เชื่อว่ามีกาน้ำชาหรือเป็นของคนที่ไม่เชื่อว่ามีกาน้ำชา?
Bertrand Russell

Russell ตั้งใจใช้อุปมานี้เพื่อประกอบการพิสูจน์หลักการทางศาสนา[1] โดยกล่าวว่า หากเขาจะอ้างโดยปราศจากหลักฐานว่า มีกาน้ำชาอยู่อันนึง ซึ่งมีขนาดเล็กเกินกว่าจะมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีวงโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของโลกและดาวอังคาร เขาไม่ควรจะคาดหวังว่าคนอื่นจะเชื่อเขา แค่เพียงเพราะคำอ้างของเขาไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้

อ้างอิง แก้

  1. Fritz Allhoff, Scott C. Lowe. The Philosophical Case Against Literal Truth: Russell's Teapot // Christmas - Philosophy for Everyone: Better Than a Lump of Coal. — John Wiley and Sons, 2010. — Т. 5. — P. 65-66. — 256 p. — (Philosophy for Everyone). — ISBN 9781444330908.