กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์

กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ มีชื่อเต็มว่า กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตั้งอยู่ที่ค่ายพรหมโยธี อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นกองพลทหารราบยานเกราะเต็มรูปแบบเพียงกองพลเดียวของกองทัพบกไทย เนื่องจากอยู่ในภาคตะวันออกที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงสูง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และระยะทางจากชายแดนสู่กรุงเทพมหานครไม่ไกลมาก[1]

กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ตราประจํากองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประจำการพ.ศ. 2453–ปัจจุบัน
ประเทศไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบทหารราบยานเกราะ[1]
กำลังรบกองพลทหารราบยานเกราะ[1]
ขึ้นกับกองทัพภาคที่ 1
กองบัญชาการค่ายพรหมโยธี ตําบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
สมญานักรบบูรพา
(นักรบตะวันออก)
บูรพาพยัคฆ์
(เสือตะวันออก)
ปฏิบัติการสำคัญ
สงครามโลกครั้งที่สอง

 • สงครามฝรั่งเศส-ไทย
 • สงครามแปซิฟิก
 • การทัพพม่า

สงครามเย็น

 • สงครามเกาหลี
 • สงครามเวียดนาม
 • การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย
 • เหตุปะทะชายแดนไทย–เวียดนาม

ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา
เว็บไซต์2id.rta.mi.th/2id/
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลตรี เทพพิทักษ์ นิมิตร

กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ มีสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิ กิจกรรมทางทหารต่าง ๆ ชมรมขี่ม้า ชมรมยิงปืน ศูนย์กีฬาพิพิธภัณฑ์และอนุสาวรีย์ทหารหาญ พุทธสถานและอุทยานธรรม[2]

ประวัติ แก้

 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีที่ตั้งหน่วยครั้งแรก ณ มณฑลนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน ณ ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี และเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ลงนามในคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ 113/17 เรื่องการจัดตั้งกองพลที่ 2 ขึ้นการบังคับบัญชากับ "กองทัพภาคที่ 1" จึงกำหนดวันที่ 15 ตุลาคมเป็นวันสถาปนาหน่วยของทุกปี ตลอดระยะเวลากองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ได้รับความไว้วางใจจากกองทัพบก และกองทัพภาคที่ 1 ให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการถวายพระเกียรติ, การถวายความปลอดภัย รวมถึงการถวายงานแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ รวมถึงภารกิจการป้องกันประเทศ ในนาม "กองกำลังบูรพา" ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชน และสนับสนุนส่วนราชการ เมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่รับผิดชอบ นอกเหนือจากภารกิจดังกล่าวแล้ว กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสวัสดิการของกำลังพล และครอบครัวทุกระดับมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และเพื่อประเทศชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน[3]

กองกำลังบูรพา แก้

กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เป็นกำลังหลักในกองกำลังบูรพา[4] ซึ่มีจุดเริ่มต้นมาจาก ที่บังคับการร่วมบูรพา ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการสถานการณ์ความไม่สงบเกี่ยวกับภัยคอมมิวนิสต์ในช่วงปี พ.ศ. 2518 และปรับเป็น กองกำลังบูรพา ในปี พ.ศ. 2521 และมีกองกำลังประจำพื้นที่มาขึ้นสายบังคับบัญชาทางยุทธการคือ[4]

  • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 12
  • หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 13
  • หน่วยเฉพาะกิจตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12

หน่วยขึ้นตรง แก้

รายพระนามและรายนามผู้บัญชาการ แก้

รายพระนามและรายนามผู้บัญชาการ​
ลำดับ พระนามและนาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พันเอก พระภูวนารถนฤบาล (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2453 - 2456
2 พันเอก หม่อมเจ้าพันธุประวัติ เกษมสันต์ พ.ศ. 2456 - 2460
3 พันเอก พระยารามจตุรงค์ (เพ็ชร บุณยรัตพันธุ์) พ.ศ. 2460 - 2462
4 พันโท พระพิศาลสงคราม (ชอบ บุญมาก) พ.ศ. 2462 - 2463
5 พลตรี พระยารามรณรงค์ (หม่อมหลวงช่วย ฉัตรกุล) พ.ศ. 2463 - 2464
6 พลตรี พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ทองดี จารุทัต) พ.ศ. 2464 - 2466
7 พันเอก พระยาเสนาสงคราม (หม่อมราชวงศ์อี๋ นพวงศ์) พ.ศ. 2466 - 2467
8 พันเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา พ.ศ. 2467 - 2469
9 พลตรี พระยาวรเดชศักดาวุธ (เจ็ก จารุจินดา) พ.ศ. 2469 - 2470
10 พลตรี พระยาวิเศษสงคราม (ช้อย จันทรสนธิ) พ.ศ. 2470 - 2473
11 พันโท พระพิชัยสงคราม (แก็บ สรโยธิน) พ.ศ. 2473 - 2474
12 พันเอก หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พ.ศ. 2474 - 2475
13 พลตรี หลวงไพรีระย่อเดช (กี๋ ชมะบูรณ์) พ.ศ. 2484 - 2486
14 พันเอก หม่อมหลวงจวง เสนีย์วงศ์ พ.ศ. 2486 - 2487
15 พันเอก เดช เดชประดิยุทธ พ.ศ. 2487 - 2489
16 พลตรี หลวงสุทธิสารรณกร (สุทธิ สุขะวาที) พ.ศ. 2489 - 2491
17 พลตรี หลวงจุลยุทธยรรยง (ทองจุล ศุภชลัสภ์) พ.ศ. 2491 - 2492
18 พลตรี ครวญ สุทธานินทร์ พ.ศ. 2492 - 2493
19 พลตรี ผ่อง บุญสม พ.ศ. 2493 - 2494
20 พลตรี ชลอ จารุกลัส พ.ศ. 2494 - 2498
21 พลตรี อัมพร แก้วกำพล พ.ศ. 2517 - 2519
22 พลตรี พัฒน์ อุไรเลิศ พ.ศ. 2519 - 2520
23 พลตรี ยงยุทธ ดิษบรรจง พ.ศ. 2520 - 2523
24 พลตรี อร่าม ศรีอักขรินทร์ พ.ศ. 2523 - 2524
25 พลตรี ประชุม พิบูลภาณุวัธน์ พ.ศ. 2524 - 2527
26 พลตรี ศัลย์ ศรีเพ็ญ พ.ศ. 2527 - 2529
27 พลตรี มนัส อร่ามศรี พ.ศ. 2529 - 2532
28 พลตรี ชัยณรงค์ หนุนภักดี พ.ศ. 2532 - 2533
29 พลตรี ฐิติพงศ์ เจนนุวัตร พ.ศ. 2533 - 2534
30 พลตรี พนม จีนะวิจารณะ พ.ศ. 2534 - 2535
31 พลตรี นิพนธ์ ภารัญนิตย์ พ.ศ. 2535 - 2538
32 พลตรี อาชวินทร์ เศวตเศรณี พ.ศ. 2538 - 2539
33 พลตรี ประวิตร วงษ์สุวรรณ พ.ศ. 2539 - 2540
34 พลตรี วันชัย ทองสุขุม พ.ศ. 2540 - 2542
35 พลตรี อุดม พรหมโยธิน พ.ศ. 2542 - 2545
36 พลตรี อนุพงษ์ เผ่าจินดา พ.ศ. 2545 - 2546
37 พลตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2546 - 2548
38 พลตรี คณิต สาพิทักษ์ พ.ศ. 2548 - 2551
39 พลตรี วลิต โรจนภักดี พ.ศ. 2551 - 2554
40 พลตรี พิสิทธิ์ สิทธิสาร พ.ศ. 2554 - 2544
41 พลตรี เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ พ.ศ. 2554 - 2556
42 พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา พ.ศ. 2556 - 2558
43 พลตรี ศรีศักดิ์ พูนประสิทธิ์ พ.ศ. 2558 - 2559
44 พลตรี สันติพงศ์ ธรรมปิยะ พ.ศ. 2559 - 2559
45 พลตรี เจริญชัย หินเธาว์ พ.ศ. 2559 - 2560
46 พลตรี สุขสรรค์ หนองบัวล่าง พ.ศ. 2560 - 2561
47 พลตรี ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ พ.ศ. 2561 - 2562
48 พลตรี ธราพงษ์ มะละคำ พ.ศ. 2562 - 2563
49 พลตรี อมฤต บุญสุยา พ.ศ. 2563 - 2565
50 พลตรี สราวุธ ไชยสิทธิ์ พ.ศ. 2565 - 2566
51 พลตรี เทพพิทักษ์ นิมิตร พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี

การเมือง แก้

ในทางการเมืองเครือข่ายนายทหารที่มีเส้นทางเติบโตมาจากกองพลนี้ มีชื่อเรียกขานว่า "นักรบบูรพา" หรือ "บูรพาพยัคฆ์"[5]

ปัจจุบันนายทหารที่มีเส้นทางเติบโตจาก "บูรพาพยัคฆ์" ได้แก่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก คณิต สาพิทักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 1, พลเอก ธีรชัย นาควานิช อดีตองคมนตรี และอดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, พลเอก กู้เกียรติ ศรีนาคา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม

นายทหารกลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 และเป็นขุมกำลังหลักในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งยังถือเป็นขั้วอำนาจสำคัญทางฝ่ายทหารที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลสมัคร, รัฐบาลสมชาย, รัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 กองพลทหารราบยานเกราะ - ไทยรัฐออนไลน์
  2. "ค่ายพรหมโยธี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-13.
  3. "มทภ.1 ปธ.สถาปนาครบรอบ 112 ปี พล.ร.2 รอ. "ผบ.กอล์ฟ" นำ ผบ.หน่วยต้อนรับ". thairath. 2022-11-09. สืบค้นเมื่อ 2024-03-22.
  4. 4.0 4.1 21 (2018-06-21). ""กองกำลังบูรพา" ตอบสนองแผนป้องกันประเทศ จัดระเบียบชายแดน ดูแลปชช". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  5. “วงศ์เทวัญ – บูรพาพยัคฆ์” แม่น้ำสองสาย ยามที่ไหลรวมเพื่อเอกภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้