กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล (อังกฤษ: Herschel Space Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศขององค์การอวกาศยุโรป ริเริ่มโครงการตั้งแต่ ค.ศ. 1982 ด้วยความร่วมมือของบรรดานักวิทยาศาสตร์ในยุโรป ชื่อโครงการตั้งขึ้นในเวลาต่อมาตามชื่อของ เซอร์ วิลเลียม เฮอร์เชล นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบสเปกตรัมอินฟราเรด และเป็นผู้ค้นพบดาวยูเรนัส[5]

กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล
Artist's impression of the Herschel spacecraft
รายชื่อเก่าFar Infrared and Submillimetre Telescope
ประเภทภารกิจกล้องโทรทรรศน์อวกาศ
ผู้ดำเนินการองค์การอวกาศยุโรป / นาซา
COSPAR ID2009-026K
SATCAT no.34937
เว็บไซต์www.esa.int/herschel
ระยะภารกิจวางแผน: 3 ปี
สิ้นสุด: 4 ปี 1 เดือน 2 วัน[1]
ข้อมูลยานอวกาศ
ผู้ผลิตธาเลซ อัลลิเนีย สเปซ
มวลขณะส่งยาน3,400 กิโลกรัม (7,500 ปอนด์)[2]
มวลบรรทุกกล้องโทรทรรศน์: 315 กิโลกรัม (694 ปอนด์)[2]
ขนาด7.5 โดย 4.0 เมตร (25 โดย 13 ฟุต)[2]
กำลังไฟฟ้า1 kW
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น14 พฤษภาคม 2009, 13:12:02 UTC
จรวดนำส่งเอเรียน 5 อีซีเอ
ฐานส่งศูนย์อวกาศเกียนา,
เฟรนช์เกียนา
ผู้ดำเนินงานเอเรียนสเปซ
สิ้นสุดภารกิจ
การกำจัดปลดประจำการ
ปิดการทำงาน17 มิถุนายน 2013, 12:25 UTC[3]
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงL2
(1,500,000 กิโลเมตร / 930,000 ไมล์)
ระบบวงโคจรวงโคจรลิสซาจูส์
กล้องโทรทรรศน์หลัก
ชนิดริชชี-คาเทียร์
เส้นผ่านศูนย์กลาง3.5 เมตร (11 ฟุต)
f/0.5 (กระจกเงาปฐมภูมิ)[4]
ระยะโฟกัส28.5 เมตร (94 ฟุต)
f/8.7[4]
พื่นที่รับแสง9.6 ตารางเมตร (103 ตารางฟุต)
ความยาวคลื่น55 ถึง 672 µm (อินฟราเรดไกล)
 

กล้องเฮอร์เชลสามารถตรวจจับวัตถุในอวกาศที่เย็นจัดและมัวจัดที่สุดจากการบดบังของฝุ่นได้ เช่นในเขตหมอกฝุ่นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ หรือดาราจักรขุ่นมัวที่เริ่มก่อตัวขึ้นจากการรวมกลุ่มของดาวฤกษ์ใหม่ การสังเกตการณ์สามารถมองทะลุเมฆที่กำเนิดดาวฤกษ์ได้ และสามารถตรวจจับโมเลกุลที่เป็นต้นกำเนิดของชีวิต เช่น น้ำ ได้ว่ากำลังก่อตัวขึ้นหรือไม่

องค์การนาซา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือวัดสำคัญของโครงการนี้จำนวน 2 ใน 3 ชิ้น รวมถึงจะมีบทบาทในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญด้วย ห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นขององค์การนาซาในเมืองคาลิฟได้พัฒนาและสร้าง โบโลมิเตอร์ "โครงข่ายใยแมงมุม" สำหรับเครื่องรับภาพแบบแสงและสเปกตรัม (spectral and photometric imaging receiver; SPIRE) ให้แก่กล้องเฮอร์เชล ซึ่งมีความละเอียดสูงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 40 เท่า นอกจากนี้ยังสร้างโครงข่ายอุปกรณ์กำเนิดและรวมสัญญาณ และอุปกรณ์ขยายสัญญาณสำหรับคลื่นอินฟราเรดไกล (heterodyne instrument for the far infrared; HIFI) ด้วย[6]

อ้างอิง แก้

  1. Amos, Jonathan (29 April 2013). "Herschel space telescope finishes mission". BBC News. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Herschel: Vital stats". European Space Agency. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  3. Amos, Jonathan (17 June 2013). "Herschel telescope switched off". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  4. 4.0 4.1 "The Herschel Space Observatory". Swiss Physical Society. March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  5. "Herschel Factsheet". European Space Agency. 17 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  6. "Herschel: Exploring the Birth of Stars and Galaxies". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-28. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้