กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป

กลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป (อังกฤษ: European Exchange Rate Mechanism, ย่อ: ERM) เป็นระบบซึ่งริเริ่มโดยประชาคมยุโรปในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเงินยุโรป เพื่อลดความแปรปรวนของอัตราแลกเปลี่ยนและบรรลุเสถียรภาพการเงินในยุโรป เพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน และการริเริ่มเงินยูโรสกุลเดียว ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 หลังเริ่มใช้เงินยูโร นโยบายได้เปลี่ยนเป็นการเชื่อมโยงสกุลเงินของประเทศนอกยูโรโซนเข้ากับเงินสกุลยูโร โดยมีสกุลเงินกลางเป็นจุดกลาง เป้าหมายคือ เพื่อปรับปรุงเสถียรภาพของค่าเงินเหล่านี้ เช่นเดียวกับการเพิ่มกลไกการประเมินสำหรับสมาชิกยูโรโซนที่มีศักยภาพ กลไกนี้รู้จักกันในชื่อ ERM2

เจตนาและการดำเนินการ ERM แก้

ERM ตั้งอยู่บนแนวคิดของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ แต่โดยอัตราแลกเปลี่ยนผันแปรได้ภายในขอบเขต ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังได้ชื่อว่า ระบบกึ่งอิงเงินสกุลอื่น (semi-pegged system) ก่อนเริ่มใช้เงินสกุลยูโร อัตราแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับหน่วยเงินตรายุโรป ซึ่งมูลค่าพิจารณาจากค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเศรษฐกิจประเทศผู้เข้าร่วม

กริด (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Parity Grid) ของอัตราทวิภาคี คำนวณได้จากพื้นฐานของอัตรากลางเหล่านี้ที่แสดงใน ECU และความผันผวนสกุลเงินต้องถูกจำกัดภายในขอบ 2.25% ทั้งสองฝ่ายของอัตราทวิภาคี (ยกเว้นสกุลลีร่าอิตาลี ซึ่งอนุญาตให้ขอบเป็น 6%) การแทรกแซงที่กำหนดและข้อตกลงกู้ยืมคุ้มครองสกุลเงินที่เข้าร่วมมิให้มีอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น

ใน พ.ศ. 2536 ขอบเขตดังกล่าวขยายเป็น 15% เพื่อจัดให้เหมาะสมกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสและสกุลอื่น

การถูกบีบออกจาก ERM ของปอนด์สเตอร์ลิง แก้

สหราชอาณาจักรเข้า ERM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ถูกบีบให้ออกจากโครงการภายในสองปีหลังปอนด์สเตอร์ลิงได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากผู้สังเกตการณ์เงินตรา รวมทั้งจอร์จ โซรอส เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์ตกเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 ที่เกิดขึ้นตามมา ถูกขนานนามภายหลังว่า "วันพุธทมิฬ" มีการทบทวนทัศนะต่อเหตุการณ์นี้โดยแสดงสมรรถนะทางเศรษฐกิจอันแข็งแกร่งของสหราชอาณาจักรหลัง พ.ศ. 2535 โดยมีผู้วิจารณ์เรียกว่า "วันพุธขาว"[1] นักวิจารณ์บางคน หลังนอร์แมน เท็บบิต เรียก ERM ว่าเป็น "กลไกถดถอยตลอดกาล" (Eternal Recession Mechanism)[2] หลังสหราชอาณาจักรเข้าสู่ห้วงเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1990 สหราชอาณาจักรใช้เงินกว่า 6,000 ล้านปอนด์พยายามรักษาค่าเงินให้อยู่ในขีดจำกัดแคบ ๆ โดยมีรายงานกว้างขวางว่า รายได้ส่วนตัวของโซรอสมีถึง 1 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 12 ปอนด์ของประชากรอังกฤษแต่ละคน[3][4][5] และขนานนามโซรอสว่าเป็น "ชายผู้ทุบธนาคารอังกฤษ"

การแทนที่ด้วยสกุลยูโรและ ERM 2 แก้

วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 อัตราแลกเปลี่ยนหน่วยเงินตรายุโรปของประเทศยูโรโซนถูกหยุดและมูลค่าของเงินยูโร ซึ่งขณะนั้นเข้าแทนที่หน่วยเงินตรายุโรปตามมูลค่า ถูกจัดตั้งขึ้น[6]

ใน พ.ศ. 2542 ERM 2 ได้ใช้แทน ERM ดั้งเดิม สกุลเงินกรีกและเดนมาร์กเป็นส่วนหนึ่งของกลไกใหม่นี้ แต่เมื่อกรีซเข้าร่วมยูโรใน พ.ศ. 2544 เงินโครนเดนมาร์กขณะนั้นถูกทิ้งให้เป็นสมาชิกผู้เข้าร่วมเพียงหนึ่งเดียว สกุลเงินใน ERM 2 อนุญาตให้ลอยตัวในพิสัย ±15% เทียบกับอัตรากลางของยูโร ในกรณีของโครน ธนาคารแห่งชาติเดนมาร์กรักษาอัตราแลกเปลี่ยนในพิสัยแคบ ๆ ± 2.25% เทียบกับอัตรากลาง ที่ 1 ยูโร = 7.460 โครนเดนมาร์ก

ประเทศสหภาพยุโรปที่ยังมิได้ใช้เงินยูโรถูดคาดหวังให้เข้าร่วมเป็นเวลาอย่างน้อยสองปีใน ERM 2 ก่อนเข้าร่วมยูโรโซน

สถานะปัจจุบัน แก้

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ธนาคารกลางแห่งชาติสิบประเทศของประเทศสมาชิกใหม่กลายเป็นภาคีต่อความตกลงธนาคาร ERM 2 สดุลเงินแห่งชาตินั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ ERM 2 ตั้งแต่วันที่ตกลง

เงินครูนเอสโตเนีย ลิตัสลิทัวเนีย และโตลาร์สโลวีเนียถูกรวมเข้ากับ ERM 2 ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ปอนด์ไซปรัส ลัตส์ลัตเวีย และลีรามอลตาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 โครูนาสโลวาเกียเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[7] สกุลเงินของประเทศใหญ่ที่สุดซึ่งเข้าร่วมสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ได้แก่ ซวอตีโปแลนด์ โครูนาเช็ก และโฟรินต์ฮังการี) ได้รับการคาดหวังให้ปฏิบัติตามในที่สุด

ประเทศอื่นซึ่งเข้าร่วมยูโรโซน และออกจาก ERM 2 มีสโลวีเนีย ไซปรัส มอลตา สโลวาเกียและเอสโตเนีย

อ้างอิง แก้

  1. Kaletsky, Anatole (9 June 2005). "The reason that Europe is having a breakdown...it's the Euro, stupid". The Times. UK. สืบค้นเมื่อ 30 December 2008.
  2. Tebbit, Norman (10 February 2005). "An electoral curse yet to be lifted". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 30 December 2008.
  3. http://books.google.com/books?cd=1&id=js_OAAAAIAAJ&dq=soros+pound+man+woman+and+child+in+britain&q=+man+woman+and+child#search_anchor
  4. http://books.google.com/books?cd=2&id=3OZTqgObT5EC&dq=soros+pound+man+woman+and+child+in+britain&q=+man+woman+and+child+#search_anchor
  5. http://books.google.com/books?id=J7I26pZK8TUC&pg=PP1&dq=soros+pound+man+woman+and+child+in+britain&cd=3#v=onepage&q=%20man%20woman%20and%20child%20in%20britain&f=false
  6. "Council Regulation (EC) No 1103/97 of 17 June 1997 on certain provisions relating to the introduction of the euro". สืบค้นเมื่อ 25 April 2010.
  7. "European Central Bank". European Central Bank. สืบค้นเมื่อ 26 April 2011.