กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute respiratory distress syndrome) หรือ ARDS เดิมเรียกว่า กลุ่มอาการหายใจลำบาก (อังกฤษ: respiratory distress syndrome, RDS) , กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่ (อังกฤษ: adult respiratory distress syndrome) หรือ shock lung เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีการอักเสบทั่วไปในเนื้อปอดอย่างรวดเร็ว[1] ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว และตัวเขียวได้[1] ผู้รอดชีวิตบางรายจะมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอยลง[3]

กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
(Acute respiratory distress syndrome)
ชื่ออื่นRespiratory distress syndrome (RDS), adult respiratory distress syndrome, shock lung
ภาพเอกซเรย์ปอดของผู้ป่วย ARDS แสดงให้เห็นรอยทึบแบบกระจกฝ้ากระจายทั่วปอดทั้งสองข้าง
สาขาวิชาเวชบำบัดวิกฤติ
อาการหายใจลำบาก, หายใจเร็ว, ตัวเขียวคล้ำ[1]
การตั้งต้นภายใน 1 สัปดาห์[1]
วิธีวินิจฉัยสำหรับผู้ใหญ่: PaO2/FiO2 ratio of less than 300 mm Hg[1]
สำหรับเด็ก: oxygenation index > 4[2]
โรคอื่นที่คล้ายกันหัวใจวายเลือดคั่ง[1]
การรักษาการใช้เครื่องช่วยหายใจ, การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด[1]
พยากรณ์โรคโอกาสเสียชวิต 35 - 50 %[1]
ความชุกปีละ 3 ล้านคน[1]

สาเหตุของภาวะนี้มีหลายอย่าง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอ่อนอักเสบ การบาดเจ็บ ปอดอักเสบ และการสูดสำลัก[1] กลไกเบื้องหลังการเจ็บป่วยคือการเกิดการบาดเจ็บต่อเซลล์ปอดส่วนที่กั้นแบ่งถุงลม การทำงานผิดปกติของสารลดแรงตึงผิวในถุงลม การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกินปกติ และภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ[4] ผลจากกลไกเหล่านี้ทำให้เนื้อปอดมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ (ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์) ลดลง[1] การวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ใหญ่อาศัยอัตราส่วน PaO2/FiO2 (อัตราส่วนระหว่างความดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงเทียบกับอัตราส่วนออกซิเจนในอากาศที่หายใจ) ที่น้อยกว่า 300 mmHg เมื่อตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจให้ PEEP สูงกว่า 5 cmH2O แล้ว[1] นอกจากนี้ต้องตรวจว่าไม่ใช่ภาวะอื่นที่คล้ายกันคืออาการปอดบวมน้ำที่มีสาเหตุจากหัวใจ[3]

การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการใช้เครื่องช่วยหายใจและรักษาภาวะอื่นที่เป็นสาเหตุของ ARDS[1] แนวทางช่วยหายใจที่เป็นที่แนะนำคือการใช้ปริมาตรหายใจต่ำ และความดันอากาศต่ำ[1] หากยังไม่เพียงพอสามารถใช้การระดมถุงลม (lung recruitment maneuver) และการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิดยับยั้งสารสื่อประสาทกับกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)[1] หากยังไม่เพียงพออีกอาจใช้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนนอกร่างกาย (ECMO) เป็นทางเลือกได้[1] ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอัตราตายสูง อยู่ที่ 35-50%[1]

ทั่วโลกมีผู้ป่วย ARDS ประมาณ 3 ล้านรายต่อปี[1] ภาวะนี้ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1967[1] เดิมถูกเรียกชื่อว่า "adult respiratory distress syndrome" (กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่) เพื่อแยกจากกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด ("infant respiratory distress syndrome") ปัจจุบันที่ประชุมนานาชาติได้มีมติให้เรียกโรคนี้ว่า "acute respiratory distress syndrome" เนื่องจากภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่[5] เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้จะแตกต่างออกไปจากเกณฑ์ข้างต้น หากต้องการวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ป่วยในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด[3]

การวินิจฉัย แก้

 
A chest x-ray of transfusion-related acute lung injury (left) which led to ARDS. Right is a normal X-ray before the injury.

เกณฑ์การวินิจฉัย แก้

เกณฑ์การวินิจฉัย ARDS มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่องตามองค์ความรู้ในพยาธิสรีรวิทยาของโรคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ มติที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นฉบับล่าสุด ได้ออก "นิยามเบอร์ลิน" เพื่อประกอบการวินิจฉัย ARDS[6][7] มีการเปลี่ยนแปลงคือ ขยายผู้ป่วยเข้านิยามให้กว้างขึ้น ไม่สนับสนุนให้ใช้คำว่า "ปอดเสียหายเฉียบพลัน" (acute lung injury) และนิยามระดับความรุนแรงของ ARDS ตามความรุนแรงของการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือด[5]

นิยามของ ARDS ในผู้ใหญ่ ตามนิยามเบอร์ลิน ค.ศ. 2012 มีดังนี้

  • การบาดเจ็บของปอดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภายใน 1 สัปดาห์ หลังเหตุกระตุ้น และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแย่ลงของอาการระบบหายใจ
  • รอยทึบแบบเป็นทั้งสองข้าง (bilateral opacities) ที่เห็นจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (เอกซเรย์ หรือ ซีที) ที่ไม่มีคำอธิบายอื่น (คำอธิบายอื่น เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแฟบ, หรือจุดเนื้อ เป็นต้น)
  • การหายใจล้มเหลวที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยภาวะหัวใจวายหรือสารน้ำเกิน
  • อัตราส่วนความดันออกซิเจนในเลือดแดง ต่อความเข้มข้นออกซิเจนที่ใช้หายใจ (PaO
    2
    /FiO
    2
    ) ลดลง (ถ้าสัดส่วนนี้ลดลง อาจแปลว่า แม้ในอากาศที่หายใจจะมีออกซิเจนมาก แต่ออกซิเจนในเลือดกลับมีน้อย)
    • ARDS ระดับเล็กน้อย: 201-200 mmHg
    • ARDS ระดับปานกลาง: 101-200 mmHg
    • ARDS ระดับรุนแรง ≤ 100 mmHg
    • โปรดสังเกตว่าการใช้ PaO
      2
      /FiO
      2
      มาเป็นนิยามของ ARDS ตามนิยามเบอร์ลิน มีข้อกำหนดว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการให้การช่วยหายใจที่มี PEEP อย่างน้อย 5 cmH
      2
      O
      โดยอาจเป็นการให้แบบไม่รุกล้ำ เช่น ให้ผ่าน CPAP ก็สามารถวินิจฉัย ARDS ได้

ทั้งนี้ นิยามเบอร์ลินฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นการดัดแปลงเพิ่มเติมจากนิยามตามมติที่ประชุมฯ เมื่อ ค.ศ. 1994[8]

พยากรณ์โรค แก้

โดยภาพรวมแล้วผู้ป่วย ARDS มีพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนัก โดยมีอัตราตายสูงถึง 40%[9] แม้ในผู้ที่รอดชีวิตก็อาจมีผลตามมาได้หลายอย่าง เช่น ออกกำลังกายได้ลดลง ผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตลดลง เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 Fan, E; Brodie, D; Slutsky, AS (20 February 2018). "Acute Respiratory Distress Syndrome: Advances in Diagnosis and Treatment". JAMA. 319 (7): 698–710. doi:10.1001/jama.2017.21907. PMID 29466596.
  2. Cheifetz, Ira M (25 May 2017). "Pediatric ARDS". Respiratory Care. 62 (6): 718–731. doi:10.4187/respcare.05591. PMID 28546374.
  3. 3.0 3.1 3.2 Matthay, MA; Zemans, RL; Zimmerman, GA; Arabi, YM; Beitler, JR; Mercat, A; Herridge, M; Randolph, AG; Calfee, CS (14 March 2019). "Acute respiratory distress syndrome". Nature Reviews. Disease Primers. 5 (1): 18. doi:10.1038/s41572-019-0069-0. PMC 6709677. PMID 30872586.
  4. Fanelli, Vito; Ranieri, V. Marco (2015-03-01). "Mechanisms and clinical consequences of acute lung injury". Annals of the American Thoracic Society. 12 Suppl 1: S3–8. doi:10.1513/AnnalsATS.201407-340MG. ISSN 2325-6621. PMID 25830831.
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ definition-ARDS
  6. Ranieri VM, Rubenfeld GD, Thompson BT, Ferguson ND, Caldwell E, Fan E, Camporota L, Slutsky AS (Jun 2012). "Acute respiratory distress syndrome: the Berlin Definition. ARDS Definition Task Force". JAMA. 307 (23): 2526–33. doi:10.1001/jama.2012.5669. PMID 22797452. S2CID 36276275.
  7. Ferguson ND, Fan E, Camporota L, Antonelli M, Anzueto A, Beale R, Brochard L, Brower R, Esteban A, และคณะ (Oct 2012). "The Berlin definition of ARDS: an expanded rationale, justification, and supplementary material". Intensive Care Med. 38 (10): 1573–82. doi:10.1007/s00134-012-2682-1. PMID 22926653. S2CID 13556499. Erratum in: Intensive Care Med. 2012 Oct;38(10):1731-2. PMID 22926653
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Rippe-ARDS
  9. Lewis, Sharon R.; Pritchard, Michael W.; Thomas, Carmel M.; Smith, Andrew F. (July 23, 2019). "Pharmacological agents for adults with acute respiratory distress syndrome". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 7: CD004477. doi:10.1002/14651858.CD004477.pub3. ISSN 1469-493X. PMC 6646953. PMID 31334568.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก